เมนู

นปุเรชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในน-
อาเสวนปัจจัย มี 5 วาระ ในนกัมมปัจจัย มี 1 วาระ ในนวิปากปัจจัย
มี 5 วาระ ในนอาหารปัจจัย มี 1 วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี 1 วาระ
ในนฌานปัจจัย มี 1 วาระ ในนมัคคปัจจัย มี 1 วาระ ในนสัมปยุตต-
ปัจจัย มี 5 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ ในโนนัตถิปัจจัย
มี 5 วาระ.
[132] เพราะโนวิคตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี 1
วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี 1 วาระ (ในทุกปัจจัย มี 1 วาระ)... ใน
นวิปปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี 1 วาระ.
ปัจจยปัจจนียนัย จบ

อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย


ก็เพราะวิสัชนาที่ใน ปัจจยปัจจนียะ (ตรงข้ามกับปัจจัย) ย่อม
มีได้ด้วยกุศลบทที่เว้นเหตุปัจจัยแล้ว กุศลธรรมเกิดขึ้นไม่ได้
ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า อกุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ เป็นอาทิ. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า นเหตุปจฺจยา เป็นการปฏิเสธเหตุปัจจัย อธิบายว่า
เว้นเหตุปัจจัยแล้วก็ยังเกิดเพราะปัจจัยอื่นได้. จริงอยู่ เหตุนั้น คือ โมหะ
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เป็นเหตุปัจจัยเองแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิต
เป็นสมุฏฐาน. แต่เพราะไม่มีเหตุอื่นสัมปยุตด้วย จึงชื่อว่า ไม่เกิด

เพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น เว้นเหตุปัจจัยเสีย โมหมูลจิตก็เกิดได้
เพราะปัจจัยอันเหมาะแก่ตนที่เหลือในธรรมที่ตรงกันข้ามทั้งหมด. บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความไปตามนัยนี้. คำนี้ว่า อเหตุกํ วิปากาพฺยากตํ พึง
ทราบด้วยอำนาจจิตที่ยังรูปให้เกิดขึ้น แม้ในบทอื่นที่เช่นนี้ก็นัยนี้เหมือน
กัน.
ใน นอธิปติปัจจัย แม้อธิบดี จะไม่ได้อธิปติปัจจัย เพราะไม่มี
อธิบดีที่สองเกิดร่วมกับตนก็จริง แต่อธิบดีจะไม่มีอธิบดีเหมือนโมหะที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นอเหตุกะหาได้ไม่. ก็ในเวลาที่กุศล-
ธรรมเป็นต้น ไม่ทำฉันทะเป็นต้น ให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น กุศลธรรม
เป็นต้นทั้งหมดไม่เป็นอธิบดี เพราะฉะนั้น เทศนามีอาทิว่า เอกํ ขนฺธํ
ปฏิจฺจ ตโย ขนฺธา
นี้ พึงทราบว่า พระองค์เทศนาไว้ด้วยอำนาจเทศนา
มีการรวบรวมไว้ซึ่งอธิบดีทั้งหมด ไม่ใช่ยกขึ้นเพียงอธิบดีแยกกันไป
เหมือนโมหะ. ใน นอนันตรปัจจัย และ นสมนัตรปัจจัย มี รูป
เท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน เหมือนใน นอารัมมณปัจจัย. เพราะเหตุ
นั้นท่านจึงกล่าวว่า นอารมฺมณปจฺจยสทิสํ. สหชาตปัจจัยขาดหายไป.
นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัยก็ขาดหายไปเหมือนสหชาต-
ปัจจัย. เพราะเหตุไร ? เพราะปัจจัยเหล่านี้ไม่มีอะไรเกิดแยกกัน. จริงอยู่
เพราะการบอกปัดเสียซึ่งสหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคต-
ปัจจัย รูปธรรมและอรูปธรรมแม้สักอย่างหนึ่งก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ปัจจัยเหล่านั้นจึงลดไป. ในวิภังค์แห่ง นอัญญมัญญปัจจัย พึงทราบการ
เว้นหทยวัตถุด้วยคำว่า กฏัตตารูป อาศัยวิปากาพยากตขันธ์เกิดขึ้นใน
ปฏิสนธิกาล. รูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบันในวิภังค์แห่ง นอุปนิสสยปัจจัย.

เพราะรูปนั้นไม่ได้อุปนิสสยปัจจัย. ส่วนอรูป (นาม) ไม่ได้อารัมมณู-
นิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัยก็จริง แต่ก็ไม่พ้นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
ไปได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นอารมฺมณปจฺจยสทิสํ.
ใน นปุเรชาตปัจจัย คำว่า จิตฺตสมุฏฐานํ รูปํ ท่านกล่าวไว้ด้วย
อำนาจปัญจโวการภพ. สหชาตปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย ย่อมถึงการรวม
ลงในคำนี้ว่า นปจฺฉาชาตปจฺจยา เพราะฉะนั้น บาลีในคำนี้จึงเช่นเดียว
กับสหชาตปัจจัย. ก็บาลีนั้นขยายไว้อย่างพิสดาร ใน นอธิปติปัจจัย ฉะนั้น
ในที่นี้จึงย่อไว้. นอาเสวนปัจจัย พึงทราบด้วยสามารถแห่งปฐมชวนะ
ฝ่ายกุศลและอกุศล. กิริยาพยากตะก็เหมือนกัน. แม้ในอธิการนี้ก็พึงทราบ
บาลีด้วยอำนาจแห่งคำที่ท่านให้พิสดารใน นอธิปติปัจจัย เหตุนั้นพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นปจฺฉชาตปจฺจยมฺปิ นอาเสวนปจฺจยมฺปิ
นาธิปติปจฺจยสทิสํ
ดังนี้ (บาลีข้อ 95). ใน กัมมปัจจัย ไม่ถือเอา
วิบากเจตนาว่าได้นานักขณิกกัมมปัจจัย. ใน นอาหารปัจจัย มีเฉพาะรูป
บางรูปเท่านั้น เป็นปัจจยุบบัน ใน นอินทริยปัจจัย ก็เหมือนกัน. ใน
นฌานปัจจัย มีปัญจวิญญาณธรรม (ทวิปัญจวิญญาณ) และรูปบางรูปเป็น
ปัจจยุบบัน. จริงอยู่ ในปัญจวิญญาณ เวทนาและจิตเตกัคคตา ย่อมไม่
ถึงลักษณะแห่งการเข้าไปเพ่ง เพราะมีกำลังทราม ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น
ท่านจึงไม่ถือเอาในฌานปัจจัย. ใน นมัคคปัจจัย มีอเหตุวิบาก และกิริยา
และรูปบางรูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน.
รูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบันในนสัมปยุตตปัจจัย ในโนนัตถิปัจจัย ใน
โนวิคตปัจจัย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นารมฺมณปจฺจยสทิสํ.

ดำเนินการนับปัจจัยที่มีมูลหนึ่งตามบาลี ด้วยคำว่า นเหตุยา เทฺว ดังนี้
แล.
พึงทราบวินิจฉัยใน ทุมูลกปัจจัย ต่อไป. ในคำนี้ว่า นเหตุปจฺจยา
นารมฺมเณ เอกํ
อธิบายว่า ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าในการ
เทียบปัจจัยที่นับได้น้อยกว่ากับปัจจัยที่นับได้มาก พึงมีปัจจัย 2 เหมือน
ในนเหตุปัจจัยก็จริง ถึงอย่างนั้น คำว่า เอกํ ท่านกล่าวหมายถึงรูปา-
พยากตะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยากตะ เพราะอรูปธรรมขาดไปด้วยอำนาจ
นอารัมมณปัจจัย แม้ในปัจจัยแต่ละปัจจัยในทุกะปัจจัยก็นัยนี้เหมือนกัน.
บัณฑิตพึงทราบวาระสองเกี่ยวกับที่ได้ในนเหตุปัจจัย ในที่ซึ่งท่านกล่าว
ไว้ว่า "เทฺว." ก็ในปัจจัยทั้งปวงที่มีมูล 3 เป็นต้น มีวิสัชนาวาระเดียว
เท่านั้น เพราะนอารัมมณปัจจัยขาดไป. นี้เป็นการคำนวณในปัจจัยที่มี
มูล 1 เป็นต้น เริ่มแต่เหตุปัจจัยไปในปัจจนียนัย. ส่วนอารัมมณปัจจัย
ไม่แสดงไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเช่นเดียวกับนัยก่อนในเอกมูลกะนั้นแหละ
เป็นต้น .
คำว่า นารมฺมณปจฺจยา นเหตุยา เอกํ ในทุมูลูกนัย พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในนเหตุทุกมูลกนัยนั่นเทียว ด้วยสามารถแห่ง
อารมัมณปัจจัย. คำว่า นาธิปติยา ปญฺจ พึงทราบด้วยอำนาจการได้ใน
นารมัมณปัจจัย.
ในการเปรียบเทียบปัจจัยทั้งหมด พึงทราบจำนวนด้วยอำนาจปัจจัย
ที่นับได้น้อยกว่าในปัจจัยที่นอารัมมณปัจจัยเข้าได้ รูปเท่านั้นเป็นปัจจ-
ยุบบัน. แม้ในฐานที่นอนันตรปัจจัย นสมนันตระ - นอัญญมัญญะ -
นอุปนิสสยะ - นอาหาระ - นอินทริยะ - นสัมปยุตตะ - โนนัตถิ - โนวิคต-

ปัจจัย เข้าได้ก็นัยนี้เหมือนกัน. นอาหาระ-นอินทริยะ-นฌานะ-นมัคค-
ปัจจัย มีวิสัชนาเหมือนกันทั้งหมด. แม้ในอธิการนี้ปัจจัย 4 หมวด แห่ง
ปัจจัย มี นสหชาตปัจจัย เป็นต้น ก็ขาดไปเหมือนกัน นี้เป็นวิธีกำหนด
ในข้อนี้. ก็ด้วยลักษณะนี้บัณฑิตกำหนดปัจจัยนั้นว่า ปัจจัยที่มีมูล 2 นี้มี
เป็นต้นทั้งหมด ปัจจัยนี้เป็นมูล 1 ในปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยนี้มีมูล 2 นี้มี
มูล 3 นี้มีมูลทั้งหมดดังนี้แล้ว พึงทราบการคำนวณด้วยอำนาจปัจจัยที่นับ
ได้น้อยกว่า ดังนี้แล.
อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย จบ

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย


การนับจำนวนปัจจัยในปัจจยานุโลมปัจจนียนัย


[133] เพราะนเหตุปัจจัย

ในนอารัมมณปัจจัย มี 5 วาระ ... ใน
นอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี 5 วาระ ในนสมนันตร-
ปัจจัย มี 5 วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ ในอนุปนิสสย-
ปัจจัย มี 5 วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี 7 วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย
มี 9 วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ ในนกัมมปัจจัย มี 3 วาระ
ในนวิปากปัจจัย มี 9 วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ ในน-
วิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี 5 วาระ ในโนวิคต-
ปัจจัย มี 5 วาระ.