เมนู

ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่มีการนับน้อยกว่า บัณฑิตอธิบายปัจจัยที่มีมูล 3 ให้
พิสดารด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย ฉันใด จะอธิบายด้วยอำนาจอธิปติปัจจัย
ก็ดี อนันตรปัจจัยอื่นจากนั้นก็ดี เหมือนอย่างนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ในปัจจัยทั้งหมดควรให้สำเร็จด้วยอำนาจแห่งวิธีนับ อันท่านแสดงไว้แล้ว
ในปัจจัยที่มีมูล 2 เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า การทำปัจจัย
หนึ่ง ๆ ให้เป็นมูลแล้วนับตามพลความที่ลำดับไว้.
จบอรรถกถาปัจจยานุโลมนัย

ปัจจยปัจจนียนัย


[87] 1. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์
ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.
2. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุ-
ปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากต-
วิบาก อัพยากตกิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ 1 และจิตต-
สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 3 เกิดขึ้น, ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย
ขันธ์ 2 เกิดขึ้น.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3 และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ 1
ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ 1 และกฏัตตารูป อาศัยรูปขันธ์ 3 เกิด