เมนู

14. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคต-
ปัจจัย
15. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่
ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ
อวิคตปัจจัย
16. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏ-
ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ
กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย
17. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูป
นั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ
อวิคตปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งอวิคตปัจจัย


คำเป็นต้นว่า จกฺตาโร ขฺนธา ใน อวิคตปัจจัยนิทเทส ผู้ศึกษา
พึงทราบเนื้อความโดยอาการทั้งปวง ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอัตถิ-
ปัจจัยนิทเทส. จริงอยู่ ปัจจัยนี้กับอัตถิปัจจัยต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น
เนื้อความหาตางกันไม่.
วรรณนานิทเทสแห่งอวิคตปัจจัย จบ

วรรณนาปัจจยนิทเทสวาระ


(บาลีอรรถกถาหน้า 591-592)

เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งการดำเนินไปแห่งญาณ ในปัจจัย 24 เหล่านี้
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วทั้งโดยอุทเทส และนิทเทส ดังพรรณนา
มาแล้ว บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ ปกิณณกวินิจฉัย ด้วยอำนาจแห่งบท 10
เหล่านี้คือ
1. โดยภาวะที่ธรรมหลาย ๆ อย่าง เป็นปัจจัยอย่างเดียวกัน
2. โดยภาวะธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลาย ๆ อย่าง
3. โดยภาวะที่ปัจจัยอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลาย ๆ อย่าง
4. โดยปัจจัยที่เป็นสภาคะกัน
5. โดยปัจจัยที่เป็นวิสภาคะกัน
6. โดยปัจจัยที่เป็นคู่กัน
7. โดยเห็นชนกปัจจัย และอชนกปัจจัย
8. โดยปัจจัยที่เข้ากับธรรมได้ทั้งหมดและรูปนี้ทั้งหมด
9. โดยการกำหนดมีอาทิว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น
10. โดยการจำแนกโดยภพ.

ใน 10 อย่างนั้น
1. บทว่า โดยภาวะที่ธรรมหลาย ๆ อย่างเป็นปัจจัยอย่างเดียว
กัน
ความว่า ธรรมหลายอย่างเป็นปัจจัยโดยความเป็นอันเดียวกัน ใน
ปัจจัย 23 ที่เหลือเว้น กัมมปัจจัยเหล่านี้. ส่วนกัมมปัจจัย ได้แก่เจตนา