เมนู

นั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อัตถิปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งสหชาตะ
ด้วยคำว่า จตฺตาโร ขนฺธา เป็นต้น. ทรงแสดงอัตถิปัจจัยด้วยอำนาจแห่ง
ปุเรชาตะด้วยคำว่า จกฺขฺวายตนํ เป็นต้น. ในคำว่า ยํ รูปํ นิสฺสาย นี้
ทรงแสดงอัตถิปัจจัยด้วยอำนาจธรรมทั้งที่เป็น สหชาตะและปุเรชาตะ.
บาลีนี้มาแล้วด้วยอำนาจอัตถิปัจจัย แห่งธรรมทั้งที่เป็นสหชาตะและปุเร-
ชาตะทีเดียวด้วยประการฉะนี้.
แต่ใน ปัญหาวาระ ได้อัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอาหารและ
อินทรีย์ที่เป็นปัจฉาชาตะด้วย เพราะพระบาลีมาแล้วด้วยอำนาจธรรม
เหล่านี้ คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาร อินทรีย์. แต่ใน
ที่มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนา ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่มีส่วนเหลือ.
พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.
ก็ชื่อว่า อัตถิปัจจัยนี้ มี 2 อย่าง คือโดยเป็นอัญญมัญญะ
และไม่ใช่อัญญมัญญะ.
ใน 2 อย่างนั้น อัตถิปัจจัยที่เป็นอัญญมัญญะ
มี 3 อย่าง คืออรูปกับอรูป รูปกับรูป รูปและอรูปกับรูปและอรูป.
จริงอยู่ ในคำนี้ว่า ขันธ์ 4 เป็นอัตถิปัจจัยแก่อรูป พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถึงอรูปเป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นแห่งจิตทั้งหมด. ในคำนี้

ว่า จตฺตาโร มหาภูตา ตรัสถึงรูปเป็นปัจจัยกับรูป ด้วยอำนาจการสืบต่อ
แห่งรูปทั้งหมด. ในคำนี้ว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ นามรูปํ ตรัสถึงรูปและอรูป
กับรูปและอรูปเป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิและ
วัตถุรูป. อัตถิปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญะมี 3 อย่าง คืออรูปเป็นอัตถิปัจจัย
แก่รูป รูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่รูปรูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่อรูป จริงอยู่ ในคำ
นี้ว่า จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอรูปเป็นปัจจัยแก่
รูป ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ. ในคำนี้ว่า มหาภูตา อุปาทารูปานํ ตรัส
ถึงรูปเป็นปัจจัยแก่รูป ด้วยอำนาจการสืบต่อแห่งรูปทั้งหมด. ในคำมีอาทิ
ว่า " จกฺขวายตนํ จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา " พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูป
เป็นปัจจัยแก่อรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อัตถิปัจจัยนี้โดยสังเขป จะกล่าวว่า ได้แก่ เบญจ-
ขันธ์ที่กำลังเป็นรูป คือนามและรูปที่ถึงซึ่งขณะทั้ง 3 ก็ถูก.

อัตถิปัจจัยนั้นโดยประเภทแห่งชาจิแจกออกเป็น 5 ชาติ คือกุศล
อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. ใน 5 ชาตินั้น อัตถิปัจจัยที่เป็นกุศลมี 2
คือเป็นสหชาตะกับปัจฉาชาตะ, อกุศล วิบาก และกิริยาก็เหมือนกัน. บรรดา
อัตถิปัจจัย ที่เป็นกุศลเป็นต้นนั้น กุศลจำแนกออกเป็น 4 ภูมิ ด้วยอำนาจ
เป็นกามาวจรเป็นต้น. อกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิบากเป็นไปทั้ง 4
ภูมิ. กิริยาเป็นไปใน 3 ภูมิ อัตถิปัจจัยคือรูปเป็นกามาวจรอย่างเดียว. ก็
อัตถิปัจจัยคือรูปนั้นมี 2 อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตะและปุเรชาตะ. ใน 2
อย่างนั้น วัตถุ 5 และอารมณ์ 5 เป็นปุเรชาตะอย่างเดียว. หทัยวัตถุ
เป็นสหชาตะก็ได้ เป็นปุเรชาตะก็ได้ ส่วนอาหารและอินทรีย์ที่มาแล้วใน
ปัญหาวาระ ย่อมไม่ได้การจำแนกโดยเป็นสหชาตะเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึง

ทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในอธิการนี้ ดังพรรณนา
มาแล้ว.
ก็ในอัตถิปัจจัยที่จำแนกไว้อย่างนี้ กุศลแม้ทั้ง 4 ภูมิที่เกิดพร้อมกัน
เป็นอัตถิปัจจัย. ในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน แก่ขันธ์
ทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ 1 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3. และเป็นปัจจัย
แก่จิตตชรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. แก่สหชาตกุศลที่เหลือ เว้นรูปาวจร-
กุศล เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตเท่านั้นในอรูปภพ ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย. แก่กุศลที่เป็นปัจฉาชาตะทั้ง 4 ภูมิ เป็นปัจจัยแก่
กายที่มีสมุฏฐาน 4 และ 3 ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
แม้ในอกุศลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ อกุศลที่เป็นสหชาตะแม้นั้น
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ และ
เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตเท่านั้นในจตุโวการภพ ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย. อกุศลที่เป็นปัจฉาชาตอกุศล เป็นปัจจัยแก่กายที่มี
สมุฏฐาน 4 และ 3 ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ก็โดยความเป็นวิบากอัตถิปัจจัยที่เป็นกามาวจรวิบาก และรูปาวจร-
วิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายและกัมมชรูป ในขณะปฏิสนธิโดย
แน่นอน ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. แต่เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
สัมปยุตและจิตตชรูปในปวัตติกาล ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย เป็น
ปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน 4 และ 3 ซึ่งถึงฐิติขณะแล้ว ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.
แต่อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก ที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัย
เฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตกับคนเท่านั้น ด้วยอำนาจสหชาตัตถิปัจจัย.

โลกุตตรวิบากในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนและ
จิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน
และ 3 ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.
โดยความเป็นกิริยา อัตถิปัจจัยที่เป็นรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่สัมปยุตและจิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. เป็นปัจจัย
แก่กายที่มีสมุฏฐาน 4 และ 3 ด้วยอำนาจของปัจฉชาตัตถิปัจจัย.
แต่กามาวจรและอรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ที่สัมปยุต
เท่านั้น ในอรูปภพ และเป็นปัจจัยแม้แก่จิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วย
อำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน 4 และ 3 ด้วย
อำนาจปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.
ก็ธรรมคือรูป เป็นอัตถิปัจจัย 4 ปัจจัย คือสหชาตะ ปุเรชาตะ
อาหาร และอินทรีย์. ใน 4 ปัจจัยนั้น อัตถิปัจจัยคือรูปที่เป็นสหชาตะ
มี 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสมุฏฐาน. ในสมุฏฐาน 4 นั้น รูปที่มีกรรม
เป็นสมุฏฐาน เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อย่างนี้คือ มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัย
แก่มหาภูตรูป 3, มหาภูตรูป 3 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 1, มหาภูตรูป 2
เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 2, มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป ด้วย
อำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. วัตถุรูปในขณะปฏิสนธิ เป็นปัจจัยแก่
กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบากขันธ์ ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย.
รูปที่มีสมุฏฐาน 3 ที่เหลือเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย
อย่างนี้คือ มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3, มหาภูตรูป 3 เป็น
ปัจจัยแก่มหาภูตรูป 1, มหาภูตรูป 2 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 2, มหา-
ภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป.

ส่วน ปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ 2 อย่าง คือ วัตถุปุเรชาตะ และ
อารัมมณปุเรชาตะ. ทั้ง 2 อย่างนั้น ผู้ศึกษาพึงเชื่อมความถือเอาตามนัย
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในปุเรชาตปัจจัยในหนหลัง. แม้อาหารัตถิปัจจัย พึง
ประกอบตามนัยที่ประกอบแล้วในกวฬีการาหารปัจจัยในหนหลัง. ก็
อาหารัตถิปัจจัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อัตถิปัจจัย ใน
อธิการนี้ ด้วยความเป็นปัจจัยในขณะที่ตนยังไม่ดับไป.
แม้ รูป-
ชีวิตินทรีย์
พึงถือเอาตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในการอธิบายรูปชีวิ-
ตินทรีย์ ในอินทริยปัจจัยข้างต้น. ก็ในที่นี้ รูปชีวิตินทรีย์นั้น พระผู้-
มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อัตถิปัจจัยด้วยความเป็นปัจจัยในขณะที่ตน
ยังไม่ดับไป.
ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้ด้วยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน
ในอธิการนี้ ดังนี้แล.
วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย จบ

[23]

นัตถิปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่มี
กล่าวคือ
จิตและเจตสิกธรรมที่ดับไปแล้วตามลำดับด้วยดี เป็นปัจจัยแก่
ธรรมทั้งหลายคือจิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วยอำนาจของ
นัตถิปัจจัย.