เมนู

อติกกันตกาลวาระ


ในอติกกันตกาลวาระ คำว่า อุปฺปชฺชมานํ ขณํ ได้แก่ อุปาท-
ขณะ. ในวาระนั้น อุปาทขณะ ไม่ชื่อว่ากำลังมีอยู่แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนั้นเพราะเป็นขณะของจิตกำลังเกิด. คำว่า
ขณํ วีติกฺกนฺตํ อติกฺกนฺตกาลํ อธิบายว่า ก็อุปาทขณะนั้นนั่นแหละ.
ก้าวล่วงแล้วไม่นาน เป็นจิตก้าวล่วงแล้ว จึงนับว่ามีกาลอันก้าวล่วงแล้ว
( อติกฺกนฺตกาลํ ). คำว่า นิรุชฺฌมานํ ขณํ ได้แก่ นิโรธขณะ. ใน
คำนั้น นิโรธขณะไม่ชื่อว่ากำลังมีอยู่แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ตรัสอย่าง
นั้น เพราะเป็นขณะของจิตที่กำลังดับ. คำว่า ขณํ วีติกฺกนฺตํ อติกฺ-
กนฺตกาลํ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสถามว่า จิตของบุคคล
นั้น เป็นจิตก้าวล่วงแม้นิโรธขณะอย่างนี้ย่อมชื่อว่า มีกาลก้าวล่วงแล้ว
ใช่ไหม. ในข้อนั้น เพราะจิตในภังคขณะ ก้าวล่วงอุปาทขณะแล้ว
นับว่ามีกาลก้าวล่วงแล้ว เมื่อจิตก้าวล่วงนิโรธขณะแล้ว ก็ย่อมชื่อว่า มี
กาลก้าวล่วงแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงวิสัชนาว่า ในภังค
ขณะ จิตก้าวล่วงอุปาทขณะ. แต่ไม่ก้าวล่วงภังคขณะ จิตที่เป็นอดีต
ก้าวล่วงอุปาทขณะด้วย ก้าวล่วงภังคขณะด้วย ดังนี้.
ในการวิสัชนาปัญหาที่ 2 เพราะจิตในอดีตก้าวล่วงขณะ
แม้ทั้งสอง จึงชื่อว่ามีกาลก้าวล่วงแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า อตีตํ จิตฺตํ ดังนี้.

ในการวิสัชนาปฏิโลมปัญหา ก็เพราะจิตในอุปาทขณะและจิต
ในอนาคต เป็นจิตก้าวล่วงขณะแม้ทั้งสอง* คืออุปาทขณะและภังคขณะ
แต่ไม่ชื่อว่า มีกาลก้าวล่วงแล้ว เพราะความที่ขณะเหล่านั้นยังไม่ก้าว
ล่วงไป ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อุปฺปาทกฺขเณ จิตฺตํ
อนาคตํ จิตฺตํ
ดังนี้. ในการวิสัชนาปัญหาที่สองปรากฏชัดแล้ว พึ่ง
ทราบเนื้อความในการวิสัชนาปัญหาทั้งปวงแม้ในธัมมวาระ โดยอุบายนี้
แหละ.
ปุคคลธัมมวาระ ก็มีคติอย่างธัมมวาระนั้นแหละ มิสสกวาระ
แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงย่อไว้เพียงหัวข้อ โดยนัยว่า
ยสฺส สราคํ จิตฺตํ เป็นต้น. ส่วนความพิสดาร บัณฑิตพึงทราบโดย
นัยที่กล่าวในหนหลังนั้นแหละ. ก็ในวาระเหล่านั้น ย่อมมีปุจฉาเช่น
เดียวกัน โดยที่เป็นปัญหาพึงให้พิสดาร อย่างนี้ว่า ยสฺส สราคํ จิตฺตํ
อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌติ ตสฺส จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ นุปฺปชฺชิสฺสติ

เป็นต้น แปลว่า จิตมีราคะของบุคคลใด กำลังเกิด มิใช่กำลังดับ จิตของ

*ข้อความที่ว่า " เป็นจิตก้าวล่วงขึ้นแม้ทั้งสอง แต่ไม่ชื่อว่ามีกาลก้าวล่วง
แล้ว " ใจความขัดกัน เพราะจิตในอุปาทขณะและจิตในอนาคต ยังไม่ก้าวล่วง
ขณะทั้งสอง คืออุปาทขณะและภังคขณะแต่ก็ต้องแปลตามบาลีอรรถกถาหน้า
442 บรรทัดนี้ 12 ที่ว่า อุปฺปาทกฺขเณ จ จิตฺตํ อนาคตญฺจ จิตฺตํ อุโภปิ ขเณ
(พม่าเพิ่ม ขณํ ข้างหลัง ขเณ ด้วย ) วีติกฺกนฺตี หุตฺวา อติกฺกนฺตถาลํ นาม
น โหติ

บุคคลนั้นจักดับ จักไม่เกิด ใช่ไหม. แต่เพราะจิตมีราคะ. มิใช่ปัจฉิม
จิต ฉะนั้น การวิสัชนาจึงชื่อว่า ไม่เหมือนกัน เพราะปัญหาว่า จิตมี
ระคะของบุคคลใด กำลังเกิด มิใช่กำลังดับ จิตของบุคคลนั้น จักดับ จัก
ไม่เกิด ใช่ไหม ดังนี้ ท่านให้คำวิสัชนาว่า โน ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้
วิสัชนาปัญหานั้น ๆ พึงทราบตามความเหมาะสมกับปุจฉานั้น ฯ ดังนี้แล.
อติกกันตกาลวาระ จบ
อรรถกถาจิตยมก จบ

ธรรมยมก


ปัณณัตติวารุทเทส


อุเทสวาระ


ปทโสธนวาระ อนุโลม

:-
[78] กุศลชื่อว่ากุศลธรรม ใช่ไหม ? กุศลธรรมชื่อว่ากุศล
ใช่ไหม ? อกุศลชื่อว่าอกุศลธรรม ใช่ไหม ? อกุศลธรรมชื่อว่าอกุศล
ใช่ไหม ? อัพยากตะชื่อว่าอัพยากตธรรม ใช่ไหม ? อัพยากตธรรม
ชื่อว่าอัพยากตะ ใช่ไหม ?

ปทโสธนวาระ ปฏิโลม

:-
[79] ไม่ใช่กุศล ไม่ชื่อว่ากุศลธรรม ใช่ไหม ? ไม่ใช่กุศล
ธรรม ไม่ชื่อว่ากุศล ใช่ไหม ?
ไม่ใช่อกุศล ไม่ชื่อว่าอกุศลธรรม ใช่ไหม ? ไม่ใช่อกุศลธรรม
ไม่ชื่อว่าอกุศล ใช่ไหม ?
ไม่ใช่อัพยากตะ ไม่ชื่อว่าอัพยากตธรรม ใช่ไหม ? ไม่ใช่
อัพยากตธรรม ไม่ชื่อว่าอัพยากตะ ใช่ไหม ?