เมนู

อติกกันตกาลวาระ


ในอติกกันตกาลวาระ คำว่า อุปฺปชฺชมานํ ขณํ ได้แก่ อุปาท-
ขณะ. ในวาระนั้น อุปาทขณะ ไม่ชื่อว่ากำลังมีอยู่แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนั้นเพราะเป็นขณะของจิตกำลังเกิด. คำว่า
ขณํ วีติกฺกนฺตํ อติกฺกนฺตกาลํ อธิบายว่า ก็อุปาทขณะนั้นนั่นแหละ.
ก้าวล่วงแล้วไม่นาน เป็นจิตก้าวล่วงแล้ว จึงนับว่ามีกาลอันก้าวล่วงแล้ว
( อติกฺกนฺตกาลํ ). คำว่า นิรุชฺฌมานํ ขณํ ได้แก่ นิโรธขณะ. ใน
คำนั้น นิโรธขณะไม่ชื่อว่ากำลังมีอยู่แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ตรัสอย่าง
นั้น เพราะเป็นขณะของจิตที่กำลังดับ. คำว่า ขณํ วีติกฺกนฺตํ อติกฺ-
กนฺตกาลํ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสถามว่า จิตของบุคคล
นั้น เป็นจิตก้าวล่วงแม้นิโรธขณะอย่างนี้ย่อมชื่อว่า มีกาลก้าวล่วงแล้ว
ใช่ไหม. ในข้อนั้น เพราะจิตในภังคขณะ ก้าวล่วงอุปาทขณะแล้ว
นับว่ามีกาลก้าวล่วงแล้ว เมื่อจิตก้าวล่วงนิโรธขณะแล้ว ก็ย่อมชื่อว่า มี
กาลก้าวล่วงแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงวิสัชนาว่า ในภังค
ขณะ จิตก้าวล่วงอุปาทขณะ. แต่ไม่ก้าวล่วงภังคขณะ จิตที่เป็นอดีต
ก้าวล่วงอุปาทขณะด้วย ก้าวล่วงภังคขณะด้วย ดังนี้.
ในการวิสัชนาปัญหาที่ 2 เพราะจิตในอดีตก้าวล่วงขณะ
แม้ทั้งสอง จึงชื่อว่ามีกาลก้าวล่วงแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า อตีตํ จิตฺตํ ดังนี้.