เมนู

อรรถกถาจิตตยมก


มาติกาฐปนวาระ


บัดนี้ เป็นวรรณา เนื้อความแห่ง จิตตยมก ที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทรงรวบรวมไว้เป็นเอกเทสหนึ่งต่างหากด้วยสามารถแห่งธรรมทั้ง-
หลายเหล่านั้นนั่นแหละมีกุศลธรรมเป็นต้นที่ได้แสดงไว้แล้วในมูลยมก
แล้วจึงแสดงต่อจากอนุสยมก.
ในจิตตยมกนั้น เบื้องแรกพึงทราบบาลีววัตถาน1ก่อน ในจิตต-
ยมกนี้ มี 2 วาระ คือ
มาติกาฐปนวาระ -- วาระอันว่าด้วยการตั้งมาติกา2
ฐปิตมาติกาวิสัชนาวาระ -- วาระอันว่าด้วยการวิสัชนมาติกา3
ที่ตั้งไว้แล้ว.
ในมาติกาฐปนวาระนั้น ในเบื้องต้นมีสุทธิกมหาวาระอยู่ 3
คือ : -

1. การกำหนดหัวข้อ.
2. หัวข้อ = อุเทส.
3. นิทเทส.
* มาติกาฐปนวาระ คือ อุทเทส
วิสัชนาวาระ คือ นิทเทส

ปุคคลวาระ -- วาระอันว่าด้วยบุคคล
ธัมมวาระ -- วาระอันว่าด้วยธรรมะ
ปุคคลธัมมวาระ -- วาระอันว่าด้วยปุคคลธรรมวาระ
ในวาระทั้ง 3 นั้น วาระใดแสดงประเภทแห่งธรรมมีการเกิด
และการดับเป็นต้นไป โดยยกบุคคลขึ้นแสดง อย่างนี้ว่า ยสฺส จิตฺตํ
อุปฺปชฺชติ น นิรุชฌฺติ
แปลว่า จิตของบุคคลใด กำลังเกิด มิใช่
กำลังดับ ดังนี้เป็นต้น วาระนั้น ชื่อว่า ปุคคลวาระ.
วาระใดแสดงประเภทแห่งธรรมมีการเกิดและการดับเป็นต้นไป
โดยยกธรรมเท่านั้นขึ้นแสดง อย่างนี้ว่า ยํ จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น
นิรุชฺฌติ
แปลว่า จิตใดกำลังเกิด มิใช่กำลังดับ ดังนี้เป็นต้น วาระนั้น
ชื่อว่า ธัมมวาระ.
วาระใดแสดงประเภทแห่งธรรมมีการเกิดและการดับเป็นต้นของ
จิตเป็นไป โดยยกบุคคลและธรรมขึ้นแสดง อย่างนี้ว่า ยสฺส ยํ จิตฺตํ
อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌติ
แปลว่า จิตใดของบุคคลใด กำลังเกิด มิใช่
กำลังดับ ดังนี้เป็นต้น วาระนั้น ชื่อว่า ปุคคลธัมมวาระ.
ต่อจากนั้น อาศัยบท 16 บท มีคำว่า ยสฺส สราคํ จิตฺตํ
แปลว่า จิตของบุคคลใดมีราคะ เป็นต้น จึงได้มิสสกวาระ 48 วาระ
คือ :-

ปุคคลวาระ 16 วาระ
ธัมมวาระ 16 วาระ
ปุคคลธัมมวาระ 16 วาระ
มิสสกวาระเหล่านี้แปลกออกไปด้วย สราค บทเป็นต้น. มิสสกวาระ 48
วาระ เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้เพียงบทต้น คือ สราคบท
แล้วทรงย่อไว้.
ต่อจากนั้น อาศัยบทแห่งอภิธรรมมาติกา 266 บท โดยนัยว่า
ยสฺส กุสลจิตฺตํ เป็นต้น จึงได้มิสสกวาระ 798 วาระอีก คือ.-
ปุคคลวาระ 266 วาระ
ธัมมวาระ 266 วาระ
ปุคคลธัมมวาระ 266 วาระ
วาระเหล่านี้แปลกออกไปด้วยกุศลบทเป็นต้น. แม้วาระเหล่านั้น พระองค์
ก็ทรงแสดงเพียงบทต้น คือ กุศลบทแล้วทรงย่อไว้เหมือนกัน, ในจิตต
ยมกนี้มีบทปุจฉาวิสัชนาทำนองเดียวกัน บทเหล่าใดไม่ประกอบด้วยจิต
บทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเป็นโมฆะปุจฉา.
ก็บรรดาวาระทั้ง 3 เหล่านั้น สุทธิกปุคคลมหาวาระ ซึ่ง
เป็นวาระแรก มีอันตวาระ 14 วาระ คือ.-

1. อุปปาทนิโรธกาลสัมเภทวาระ (วาระว่าด้วยการปะ-
ปนกันแห่งกาลของอุปาทะและนิโรธะ)
2. อุปปาทุปปันนวาระ (วาระว่าด้วย อุปปาทะ
และอุปปันะ)
3. นิโรธุปปันนวาระ (วาระว่าด้วย นิโรธะและ
อุปปันนะ)
4. อุปปาทวาระ (วาระว่าด้วย อุปปาทะ)
5. นิโรธวาระ (วาระว่าด้วย นิโรธะ )
6. อุปปาทนิโรธวาระ (วาระว่าด้วย อุปปาทะ
และนิโรธะ)
7. อุปปัชชมานนิโรธวาระ (วาระว่าด้วย อุปัชช-
มานะและนิโรธะ)
8. อุปปัชชมานุปปันนวาระ (วาระว่าด้วย อุปปัชช-
มานะและอุปปันนะ)
9. นิรุชฌมานุปปันนวาระ (วาระว่าด้วย นิรุชฌมา
นะและอุปปันนะ)
10. อุปปันนุปปาทวาระ (วาระว่าด้วย อุปปันนะ
และอุปปาทะ)
11. อตีตานาคตวาระ (วาระว่าด้วย อดีตและ
อนาคต)

12. อุปปันนุปปัชชมานวาระ (วาระว่าด้วย อุปปันนะ
อุปปัชชมานะ)
13. นิรุทธนิรุชฌมานวาระ (วาระว่าด้วย นิรุทธะและ
นิรุธฌมานะ)
14. อติกกันตกาลวาระ (วาระว่าด้วย กาลที่ก้าว
ล่วง)

บรรดา อันตรวาระ 14 วาระ เหล่านั้น ใน 3 วาระเหล่านี้ คือ
อุปปาทวาระ นิโรธวาระ อุปปาทนิโรธวาระ โดยอาศัยอนุโลมและ
ปฏิโลม จึงมีวาระ 6 คู่ รวมเป็น 18 คู่ ( 18 ยมก ). ใน
อุปปันนุปปาทวาระ ได้ยมก 4 ( 4 คู่ ) คือ โดยอนุโลม 2
ปฏิโลม 2 โดยอาศัยกาลอันเป็นอดีตและอนาคต. ในวาระ 10 คือ
3 วาระที่เหลือที่ทรงแสดงไว้ข้างต้น 3 วาระที่แสดงไว้ในระหว่าง และ
4 วาระที่แสดงแล้ว คือ วาระที่ 7, 8, 9 และวาระสุดท้าย โดย
อนุโลม 1 ปฏิโลม 1 กระทำเป็น 2 ส่วน จึงเป็นยมก 20 ( 20
คู่ ).
ในอันตรวาระทั้ง 14 วาระแม้ทั้งหมด กำหนดไว้ด้วยปุจฉา
84 จัดเป็นยมกได้ 42 มีอรรถ 168 ด้วยประการฉะนี้.
ยมก 126 ย่อมมีในมหาวาระทั้ง 3 คือ สุทธิกปุคคลวาระ สุทธิก-
ธัมมวาระ สุทธิกปุคคลธัมมวาระ อนึ่ง ในสุทธิกปุคคลวาระ มีได้
ฉันใด ในสุทธิกธัมมวาระ และสุทธิกปุคคลธัมมวาระ ก็มีได้ฉันนั้น.

บัณฑิตพึงทราบคำปุจฉาเป็นทวีคูณแต่ยมก และอรรถเป็นทวี
คูณแต่ปุจฉานั้น. ก็ในจิตตยมกนี้ มียมกหลายพัน โดยเอาวาระทั้ง 3
นี้ คูณด้วยบท 16 บท ด้วยอำนาจสราคบทเป็นต้น และคูณด้วย
266 บท ด้วยอำนาจกุศลบทเป็นต้น ฯ ก็พระบาลีท่านย่อไว้ว่า ตโต
ทิคุณา ปุจฺฉา ตโต ทิคุณา อตฺถา จ โหนฺติ
แปลว่า ปุจฉา
ทวีคูณแต่ยมกนั้น อรรถ ( วิสัชนา ) ก็ทวีคูณแต่ปุจฉานั้น ดังนี้
บัณฑิตพึงทราบการกำหนดบาลีในจิตตยมกนี้ก่อน ดังพรรณนามา
ฉะนี้.
มาติกาฐปนวาระ จบ

วิสัชนาวาระ ( นิทเทส )


บัดนี้ เพื่อทรงวิสัชนาบทมาติกาโดยลำดับตามที่ตั้งไว้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงทรงเริ่ม คำว่า ยสฺส จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌติ
ตสฺส จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่า กำลังเกิด
เพราะถึงพร้อมด้วยอุปปาทขณะ. บทว่า น นิรุชฺฌติ แปลว่า มิใช่
กำลังดับ เพราะยังไม่ถึงนิโรธขณะ. สองบทว่า ตสฺส จิตฺตสฺส ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า จำเดิมแต่นั้น จิตของบุคคลนั้น จักดับ
จักไม่เกิดใช่ไหม ดังนี้. สองบทว่า เตสํ จิตฺตํ ความว่า อุปปาทขณะ