เมนู

ธาตุวารกถา


บัณฑิตพึงทราบ ธาตุวาระ ก่อน ว่า กติ อนุสยา อนุเสนฺติ
ได้แก่ อนุสัยเท่าไร ที่เป็นสภาพไปตามสันดานแล้วอาศัยอยู่.
คำว่า กติ อนุสยา นานุเสนฺติ อนุสัยเท่าไรไม่ไปตามสันดาน
แล้วอาศัยอยู่.
คำว่า กติ อนุสยา ภงฺคา ความว่า บัณฑิตพึงจำแนกอย่างนี้
ว่า อนุสัยเท่าไรย่อมนอนเนื่อง อนุสัยเท่าไรย่อมไม่นอนเนื่อง
ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้คำใดที่ควรกล่าว คำนั้นท่านก็กล่าวแล้วในที่
เป็นที่กำหนดพระบาลีในหนหลังนั่นแหละ. แต่ในนิเทสวาระ ท่าน
กล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งปุถุชนว่า อนุสัย 7 ย่อมนอนเนื่องแก่ใคร
ดังนี้.
คำว่า กสฺสจิ ปญฺจ นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งพระโสดาบัน
และพระสกทาคามี. จริงอยู่ ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย อันท่าน
เหล่านั้นละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น อนุสัยทั้ง 5 เท่านั้น จึงนอน
เนื่อง ดังนี้.
บัณฑิตพึงทราบวินิจสัยในข้อนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ถือเอาเนื้อความในบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ แห่งบทว่า อนุเสนฺติ ใน
อนุสยวาระ ฉันใด ในธาตุวาระนี้ พึงทราบว่า ไม่พึงถือเอา ฉันนั้น,

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความที่อนุสัยนั้นไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลกำลังเข้าถึงกามธาตุ วิบากจิต และรูปที่มี
กรรมเป็นสมุฏฐานย่อมเกิด แต่อกุศลจิตย่อมไม่เกิดในขณะนั้น. ก็อนุสัย
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในขณะแห่งอกุศลจิต ย่อมไม่เกิดขึ้นในขณะแห่ง
วิบากจิต เพราะเหตุนั้น เพราะความไม่เกิดในขณะดังกล่าวแล้วนั้น
จึงไม่ควรถือเอา.
ถามว่า พึงถือเอาอย่างไร ?
ตอบว่า ย่อมหยั่งเห็นได้โดยประการใด ก็พึงถือเอาโดยประ-
การนั้น.
ถามว่า ย่อมหยั่งเห็นได้อย่างไร ?
ตอบว่า ย่อมหยั่งเห็นได้ เพราะอรรถว่าเป็นกิเลสที่ยังละไม่ได้.
เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกุศลและอัพยากตจิต
เพราะความที่ราคะโทสะและโมหะอันตนละยังไม่ได้ ท่านก็เรียกว่า ผู้มี
ราคะ โทสะ และโมหะ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อนุสัยเหล่านั้น ย่อมนอนเนื่องแก่บุคคลนั้น ๆ แม้ในขณะแห่ง
ปฏิสนธิ เพราะความที่มรรคภาวนายังมิได้ละ ดังนี้. พระผู้มีพระภาค-
เจ้ามิได้ตรัสว่า อนุสัยเหล่านั้นย่อมนอนเนื่องอย่างเดียว แต่พึงทราบว่า

อนุสัยเหล่านั้น ชื่อว่า นอนเนื่องเพราะความเป็นสภาวะที่ยังละไม่ได้
นั่นแหละด้วย ดังนี้.
คำว่า อนุสยา ภงฺคา นตฺถิ อธิบายว่า ก็ชื่อว่า อนุสัย อัน
บัณฑิตพึงจำแนกอย่างนี้ ว่า อนุสัยใดกำลังนอนเนื่องแก่บุคคลใด
อนุสัยนั้นเท่านั้นย่อมนอนเนื่อง, อนุสัยใดมิได้กำลังนอนเนื่อง อนุสัย
นั้นเท่านั้น ก็ย่อมไม่นอนเนื่อง, อนุสัยนี้ย่อมนอนเนื่องและย่อมไม่
นอนเนื่อง, อนุสัยนี้พึงนอนเนื่องด้วยไม่พึงนอนเนื่องด้วย ดังนี้ ย่อม
ไม่มี.
คำว่า รูปธาตุํ อุปปชฺชนฺตสฺส กสฺสจิ ตโย นี้ ตรัสไว้
ด้วยสามารถแห่งพระอนาคามี. จริงอยู่ กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ และ
วิจิกิจฉานุสัยแม้ทั้ง 4 ท่านละได้แล้วโดยไม่เหลือ อนุสัย 3 นอกนี้ท่าน
ยังละไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กสฺสจิ ตโย
อนุสยา อนุเสนฺติ
แปลว่า อนุสัย 3 ย่อมนอนเนื่องแก่ใคร ดังนี้.
คำว่า น กามธาตุ อธิบายว่า เมื่อเข้าถึงธาตุทั้ง 2 ที่เหลือ
เพราะความที่ท่านปฏิเสธกามธาตุ.
คำว่า สตฺเตว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดแล้วตรัสว่า
ชื่อว่า การเกิดในกามธาตุของพระอริยสาวกผู้จุติจากรูปธาตุย่อมไม่มี มี
อยู่แต่ปุถุชนเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า สตฺเตว ดังนี้. แม้ใน

คำว่า สตฺเตว แห่งบุคคลผู้จุติจากอรูปธาตุแล้วเข้าถึงกามธาตุนี้ ก็นัย
นี้แหละ.
ถามว่า เพราะเหตุไร คำว่า ความเกิดขึ้นในรูปธาตุย่อมไม่มี
ดังนี้.
ตอบว่า เพราะความไม่มีรูปาวจรฌานอันเป็นธรรมให้สำเร็จใน
การเกิดนั้นไม่มี.
จริงอยู่ บุคคลนั้นเข้าถึงธาตุนั้น เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น รูปาวจรฌานของท่านจึงไม่มีอยู่ในที่นั้น
เพราะความไม่มีรูปาวจรฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า การเกิดขึ้นนั้น
รูปธาตุจึงไม่มี ดังนี้.
ในข้อว่า อรูปธาตุยา จตสฺส น กามธาตุํ นี้ ทรงประสงค์
เอาในอรูปธาตุเท่านั้น. พึงทราบเนื้อความในวิสัชนาทั้งปวง โดยนัยนี้
ดังนี้แล.
ธาตุวารกถา จบ
อรรถกถาอนุสยยมก จบ

จิตตยมกที่ 8


ปุคคลวารุทเทส


อุปปาทนิโรธกาลสัมเภทวาระ

:-
[1] จิตของบุคคลใดกำลังเกิด ไม่ใช่กำลังดับ, จิตของบุคคล
นั้นจักดับ ไม่ใช่จักเกิด ใช่ไหม ?
ก็หรือว่าจิตของบุคคลใดจักดับ ไม่ใช่จักเกิด, จิตของบุคคลนั้น
กำลังเกิด ไม่ใช่กำลังดับ ใช่ไหม ?
จิตของบุคคลใด ไม่ใช่กำลังเกิด กำลังดับ, จิตของบุคคลนั้น
จักไม่ดับ จักเกิด ใช่ไหม ?
ก็หรือว่าจิตของบุคคลใดไม่ใช่จักดับ จักเกิด, จิตของบุคคลนั้น
กำลังเกิด กำลังดับ ใช่ไหม ?

อุปปาทุปปันนวาระ

:-
[2] จิตของบุคคลใดกำลังเกิด, จิตของบุคคลนั้นเกิดขึ้นแล้ว
ใช่ไหม ?
ก็หรือว่าจิตของบุคคลใดเกิดขึ้นแล้ว, จิตของบุคคลนั้นกำลังเกิด
ใช่ไหม ?