เมนู

ธาตุวารกถา


บัณฑิตพึงทราบ ธาตุวาระ ก่อน ว่า กติ อนุสยา อนุเสนฺติ
ได้แก่ อนุสัยเท่าไร ที่เป็นสภาพไปตามสันดานแล้วอาศัยอยู่.
คำว่า กติ อนุสยา นานุเสนฺติ อนุสัยเท่าไรไม่ไปตามสันดาน
แล้วอาศัยอยู่.
คำว่า กติ อนุสยา ภงฺคา ความว่า บัณฑิตพึงจำแนกอย่างนี้
ว่า อนุสัยเท่าไรย่อมนอนเนื่อง อนุสัยเท่าไรย่อมไม่นอนเนื่อง
ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้คำใดที่ควรกล่าว คำนั้นท่านก็กล่าวแล้วในที่
เป็นที่กำหนดพระบาลีในหนหลังนั่นแหละ. แต่ในนิเทสวาระ ท่าน
กล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งปุถุชนว่า อนุสัย 7 ย่อมนอนเนื่องแก่ใคร
ดังนี้.
คำว่า กสฺสจิ ปญฺจ นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งพระโสดาบัน
และพระสกทาคามี. จริงอยู่ ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย อันท่าน
เหล่านั้นละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น อนุสัยทั้ง 5 เท่านั้น จึงนอน
เนื่อง ดังนี้.
บัณฑิตพึงทราบวินิจสัยในข้อนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ถือเอาเนื้อความในบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ แห่งบทว่า อนุเสนฺติ ใน
อนุสยวาระ ฉันใด ในธาตุวาระนี้ พึงทราบว่า ไม่พึงถือเอา ฉันนั้น,