เมนู

ปหีนวารกถา


พระองค์ทรงเริ่มเทศนาใน ปหีนวาระ ไว้ ด้วยอำนาจแห่งพระ-
อริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล. เพราะว่า อนุสัยเหล่านี้แม้ทั้งสองอันพระ-
อนาคามีละได้แล้ว ฉะนั้น จึงรับรองว่า อามนฺตา ดังนี้.
ใน โอกาสวาระ ท่านกล่าว เพราะคำถามว่า " กามราคานุสัย
ที่ละได้แล้ว ในภูมิใด ปฏิฆานุสัย ก็ละได้แล้วในภูมินั้น ใช่
ไหม "
ดังนี้ ไม่สมควรจะกล่าว คำว่า ละได้แล้ว หรือว่า ละไม่ได้
แล้ว ดังนี้
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความที่ภูมินั้นเป็นที่เกิดขึ้นอันไม่ทั่วไป.
จริงอยู่ ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งกามราคานุสัยก็เป็นอย่างหนึ่ง ของ
ปฏิฆานุสัยก็เป็นอย่างหนึ่ง, คือว่า อนุสัยของมรรคบุคคลผู้ไม่เจริญ
แล้ว ย่อมเกิดขึ้นในภูมิใด ครั้นท่านเจริญมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ชื่อว่า
ละได้แล้วในที่นั้นนั่นแหละ. ก็ในบรรดาอนุสัยทั้งสองนั้น ปฏิฆานุสัย
ย่อมไม่เกิดขึ้นในที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งกามราคานุสัย แม้กามราคานุสัย
ก็ไม่เกิดขึ้นในที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งปฏิฆานุสัย ฉะนั้น จึงไม่ควร
กล่าวว่า อนุสัยนั้น ท่านละได้แล้ว หรือว่าละยังไม่ได้ในที่ ( ภูมิ )

นั้น เพราะว่า กามราคานุสัยนั้น ท่านละได้แล้วในที่เป็นที่เกิดของตน
จึงไม่ควรกล่าวว่า อนุสัยนั้น ท่านละได้แล้วในที่นั้น เพราะความที่
ท่านละยังไม่ได้. ที่ใด เป็นที่เกิดขึ้นแห่งกามราคานุสัย ไม่ควรกล่าว
ท่านละไม่ได้แล้วในที่นั้น เพราะความที่กามราคานุสัยนั้นไม่ได้อยู่ใน
ที่นั้น.
ก็ในคำนี้ว่า ยตฺถ กามราคานุสโย ปหีโน ตตฺถ มานา -
นุสโย ปหีโน
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าหมายเอาที่เป็นที่สาธารณะ
จึงตรัสว่า อามนฺตา. เพราะว่า กามราคานุสัยย่อมนอนเนื่องในเวทนา
ทั้ง 2 ในกามธาตุ มานานุสัยย่อมนอนเนื่องในเวทนาทั้ง 2 เหล่านั้น
ด้วย ในรูปธาตุและอรูปธาตุทั้งหลายด้วย แต่มานานุสัยนั้น เว้นที่เป็นที่
อสาธารณะ ในที่เป็นที่สาธารณะ ย่อมชื่อว่า ท่านละได้แล้วกับทั้งกาม-
ราคานุสัย ฉะนั้น จึงรับรองว่า อามนฺตา ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบความ
เป็นผู้ละได้แล้ว และคำอันไม่พึงกล่าวในโอกาสวาระแม้ทั้งปวงโดยนัย
นี้.
ก็คำว่า นตฺถิ ในอาคตสถานทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
เช่นกับคำที่กล่าวแล้วในหนหลัง. ปุคคโลกาสวาระมีคติอย่างโอกาสวาระ
นั่นแหละ ในปฏิโลมนัย คำว่า ยสฺส กามราคานุสโย อปฺปหีโน
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามด้วยอำนาจแห่งความเป็นปุถุชน พระ-
โสดาบัน และพระสกทาคามี. จริงอยู่ อนุสัยทั้ง 2 เหล่านี้ บุคคล

6 จำพวก ตั้งแต่ปุถุชนจนถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค
ละยังไม่ได้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในที่นี้ ประสงค์เอาพระอริยบุคคล
ผู้ตั้งอยู่ในมรรค เพราะพระบาลีว่า ปรโต ติณฺณํ ปุคฺคลานํ ทฺวินฺนํ
ปุคฺคลานํ
เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อามนฺตา โดยหมาย
เอาปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามีเท่านั้น.
คำว่า ทฺวินฺนํ ปุคฺคลานํ ได้แก่ พระโสดาบัน และพระ-
สกทาคามี. พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลวาระโดยนัยนี้. ก็โอกาสวาระ
และปุคคโลกาสวาระ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ปหีนววรกถา จบ
ในอุปัชชนวาระ เช่นกับอนุสัยวาระนั่นแหละ.

ธาตุวารกถา


บัณฑิตพึงทราบ ธาตุวาระ ก่อน ว่า กติ อนุสยา อนุเสนฺติ
ได้แก่ อนุสัยเท่าไร ที่เป็นสภาพไปตามสันดานแล้วอาศัยอยู่.
คำว่า กติ อนุสยา นานุเสนฺติ อนุสัยเท่าไรไม่ไปตามสันดาน
แล้วอาศัยอยู่.
คำว่า กติ อนุสยา ภงฺคา ความว่า บัณฑิตพึงจำแนกอย่างนี้
ว่า อนุสัยเท่าไรย่อมนอนเนื่อง อนุสัยเท่าไรย่อมไม่นอนเนื่อง
ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้คำใดที่ควรกล่าว คำนั้นท่านก็กล่าวแล้วในที่
เป็นที่กำหนดพระบาลีในหนหลังนั่นแหละ. แต่ในนิเทสวาระ ท่าน
กล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งปุถุชนว่า อนุสัย 7 ย่อมนอนเนื่องแก่ใคร
ดังนี้.
คำว่า กสฺสจิ ปญฺจ นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งพระโสดาบัน
และพระสกทาคามี. จริงอยู่ ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย อันท่าน
เหล่านั้นละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น อนุสัยทั้ง 5 เท่านั้น จึงนอน
เนื่อง ดังนี้.
บัณฑิตพึงทราบวินิจสัยในข้อนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ถือเอาเนื้อความในบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ แห่งบทว่า อนุเสนฺติ ใน
อนุสยวาระ ฉันใด ในธาตุวาระนี้ พึงทราบว่า ไม่พึงถือเอา ฉันนั้น,