เมนู

ปชหนวารกถา


ใน ปชหนวาระ บทว่า ปชหติ ได้แก่ ย่อมละอนุสัยด้วยมรรค
นั้น คือว่า ย่อมทำให้ถึงความเป็นธรรมชาติไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยอำนาจ
แห่งปหานปริญญา.
คำว่า อามนฺตา เป็นคำรับรอง โดยหมายเอาพระอริยบุคคล
ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค.
คำว่า ตเทกฏฺฐํ ปชหติ นี้ ตรัสหมายเอาความที่บุคคลนั้นเป็น
ผู้ตั้งอยู่ในปริญญาอันเลิศ คือ ปหานะ.
คำว่า โน นี้ ปฏิเสธหมายเอาพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัต-
มรรค.
คำว่า ยโต กามราคานุสยํ ปชหติ ได้แก่ ย่อมละกามราคานุสัย
ซึ่งเกิดขึ้นแต่ที่ใด.
คำว่า อฏฺฐมโก ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ-
มรรค โดยนับตั้งแต่พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล เป็นที่หนึ่ง
พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคนั้น จึงชื่อว่า เป็นพระอริย-
บุคคลที่ 8. จริงอยู่ พระอรหันต์ เป็นพระอริยบุคคลที่หนึ่ง เพราะ
ความที่ท่านเป็นพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ โดยการนับตามลำดับพระ-
ทักขิไณยบุคคล. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคเป็นที่ 2 พระ-

อริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผลเป็นที่ 3 พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ใน
อนาคามิมรรคเป็นที่ 4 ฯ ล ฯ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค
เป็นที่ 8. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตตมรรคนั้น ตรัสว่าเป็น
บุคคลที่ 8. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อฏฺฐมโก นี้ เป็นนามสัญญาของท่าน.
คำว่า อนาคามิมคฺคสมงฺคิญฺจ อฏฺฐมกญฺจ ฐเปตฺวา อวเสสา
ได้แก่ พระเสขะและอเสขะทั้งหลายกับด้วยปุถุชน. จริงอยู่ ในบุคคล
เหล่านั้น ปุถุชน ย่อมละกามราคานุสัยไม่ได้ เพราะความที่ปุถุชนนั้น
ไม่มีปหานปริญญา. อธิบายว่า เว้นบุคคลที่เหลือ คือผู้ถึงพร้อมด้วย
มรรคทั้ง 2 ได้แก่ โสดาปัตติมรรค อนาคามีมรรค เพราะความที่อนุสัย
เหล่านั้นท่านละได้แล้ว. พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวง โดยนัยนี้.
ปชหนวารกถา จบ

ปริญญาวารกถา


ใน ปริญญาวาระ คำว่า ปริชานาติ ได้แก่ ย่อมรู้แจ้งปริญญา
ทั้ง 3 คำที่เหลือในที่นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. จริงอยู่ แม้วาระ
นี้ พระองค์ก็ทรงวิสัชนาด้วยอำนาจแห่งพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค
เท่านั้น ราวกะปชหนวาระ.
ปริญญาวารกถา จบ