เมนู

สานุสยวารกถา


ก็ใน สานุสยวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โย กามราคา-
นุสเยน สานุสโย
นี้ อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีอาพาธด้วย
โรคอย่างใดอย่างหนึ่งมีโรคชราอันแน่นอนเป็นต้น ตราบใดโรคทั้งหลาย
ยังไม่พ้นไปจากบุคคลนั้น ผู้นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีโรค แม้ในขณะ
แห่งโรคนั้นยังไม่เกิด ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น อนุสัยทั้งหลายแห่งสัตว์
ผู้มีปกติไปตามวัฏฏะ ผู้มีกิเลสยังไม่ถึงการถอนขึ้นด้วยอริยมรรคเพียง
ใด แม้ในขณะที่อนุสัยทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้น เขาก็ชื่อว่า เป็นผู้เป็นไป
กับด้วยอนุสัย คือ มีอนุสัยนั่นแหละ เพราะอาศัยความที่สัตว์เป็นผู้มี
อนุสัยเห็นปานนี้ จึงรับรองด้วยคำว่า อามนฺตา ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้
เช่นกับอนุสยวาระนั่นแหละ.
ก็ใน โอกาสวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูปธาตุยา
อรูปธาตุยา เอตฺถ มานานุสเยน สานุสโย
อธิบายว่า ในธาตุ
ทั้งหลายเหล่านั้น ความที่บุคคลเป็นไปกับด้วยอนุสัย คือ มีอนุสัย พึง
ปรากฏ แต่ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอนุสัยไม่พึงปรากฏ ก็เพื่อแสดงที่เป็นที่
เกิดขึ้นแห่งอนุสัยนั้น พระองค์จึงเริ่มวาระนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
มานานุสเยน สานุสโย เป็นต้นจากวาระนั้น ฯ ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น จึง
ตรัสว่า บุคคลผู้เป็นไปกับด้วยมานานุสัย คือ มีมานานุสัย เกิดขึ้น
แต่ธาตุทั้งสองนั้น
ดังนี้. ก็เมื่อพระองค์ไม่ตรัสอรรถแห่งปัญหาแรก

ย่อมจะไม่ปรากฏ ฉะนั้น จึงไม่ตรัสอรรถปัญหาแรก พึงทราบเนื้อความ
แห่งปัญหานี้ อย่างนี้.
คำว่า ยโต กามราคานุสเยน ได้แก่ กามราคานุสัยเกิดขึ้น
แล้วแต่ที่ใด.
คำว่า สานุสโย ได้แก่ บุคคลชื่อว่า ผู้เป็นไปกับด้วยอนุสัย
คือ มีอนุสัย แม้ด้วยปฏิฆานุสัยก็เกิดขึ้นแต่ที่นั้น ดังนี้. แต่เพราะ
อนุสัยทั้งสอง คือ กามราคะ ปฏิฆะ นั้นไม่เกิดแต่ที่เดียวกัน ฉะนั้น
จึงปฏิเสธว่า โน ดังนี้.
คำว่า อรหา สพฺพตฺถ นี้ ท่านทำสัตตมีวิภัตติ ในที่แสดงอรรถ
โดยสิ้นเชิง ด้วยสามารถแห่งอรรถนี้ว่า พระอรหันต์ เป็นผู้ไม่มีอนุสัย
อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งปวง ดังนี้. พึงทราบวินิจฉัย
อรรถในคำทั้งปวงโดยอุบายนี้.
สานุสยวารกถา จบ

ปชหนวารกถา


ใน ปชหนวาระ บทว่า ปชหติ ได้แก่ ย่อมละอนุสัยด้วยมรรค
นั้น คือว่า ย่อมทำให้ถึงความเป็นธรรมชาติไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยอำนาจ
แห่งปหานปริญญา.
คำว่า อามนฺตา เป็นคำรับรอง โดยหมายเอาพระอริยบุคคล
ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค.
คำว่า ตเทกฏฺฐํ ปชหติ นี้ ตรัสหมายเอาความที่บุคคลนั้นเป็น
ผู้ตั้งอยู่ในปริญญาอันเลิศ คือ ปหานะ.
คำว่า โน นี้ ปฏิเสธหมายเอาพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัต-
มรรค.
คำว่า ยโต กามราคานุสยํ ปชหติ ได้แก่ ย่อมละกามราคานุสัย
ซึ่งเกิดขึ้นแต่ที่ใด.
คำว่า อฏฺฐมโก ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ-
มรรค โดยนับตั้งแต่พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล เป็นที่หนึ่ง
พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคนั้น จึงชื่อว่า เป็นพระอริย-
บุคคลที่ 8. จริงอยู่ พระอรหันต์ เป็นพระอริยบุคคลที่หนึ่ง เพราะ
ความที่ท่านเป็นพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ โดยการนับตามลำดับพระ-
ทักขิไณยบุคคล. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคเป็นที่ 2 พระ-