เมนู

อธิบายอนุสยวาระ


บรรดามหาวาระเหล่านั้น วาระที่ 1 ชื่อว่า อนุสยวาระ นั้น
มี 2 นัย คือ ด้วยสามารถแห่งอนุโลมนัย และปฏิโลมนัย. ในนัย
ทั้ง 2 นั้น อนุโลมนัยมีอันตรวาระ 3 วาระ ด้วยอำนาจแห่งบุคคล
และภูมิ คือ. -
ยสฺส อนุเสติ แปลว่า . . . กำลังนอนเนื่องแก่บุคคลใด (ปุคคล-
วาระ)
ยตฺถ อนุเสติ แปลว่า . . . กำลังนอนเนื่องในภูมิใด ( โอกาส-
วาระ)
ยสฺส ยตฺถานุเสติ แปลว่า . . . กำลังนอนเนื่องแก่บุคคลใดใน
ภูมิใด ( ปุคคโลกาสวาระ )
ในอันตรวาระ 3 เหล่านั้น ในปุคคลวาระมี 21 ยมก คือ มี
กามราคานุสัยเป็นมูล 6 ยมก โดยพระบาลีว่า :-

" ยสฺส กามราคานุสโย อนุเสติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสติ
ยสฺส วาปน ปฏิฆานุสโย อนุเสติ ตสฺส กามราคานุสโย
อนุเสติ ฯ
ยสฺส กามราคานุสโย อนุเสติ ตสฺส มานานุสโย. . . .
ทิฏฐานุสโย ... วิจิกิจฉานุสโย ... ภวราคานุสโย . . . อวิชาชานุสโย
อนุเสติ

ยสฺส วาปน อวิชฺชานุสโย อนุเสติ ตสฺส กามราคานุสโย
อนุเสติ "

ที่มีปฏิฆานุสัยเป็นมูล 5 ยมก มีมานานุสัยเป็นมูล 4 ยมก
มีทิฏฐานุสัยเป็นมูล 3 ยมก มีวิจิกิจฉานุสัยเป็นมูล 2 ยมก มีภวราคา-
นุสัยเป็นมูล 1 ยมก ด้วยสามารถแห่งการนับแล้วไม่นับอีก วาระแม้
ทั้งหมดที่มีมูล 1 จึงรวมเป็น 21 ยมก ด้วยประการฉะนี้.
ปุคคลวาระอื่นอีก 15 ยมก คือ ที่มีมูล 2 ( ทุกมูล ) อันมา
แล้วในพระบาลีอย่างนี้ว่า ยสฺส กามราคานุสโย จ ปฏิฆานุสโย
จ อนุเสนฺติ
ดังนี้ มี 5 ยมก ที่มีมูล 3 ( ติกมูล ) มี 4 ยมก,
ที่มีมูล 4 ( จตุกกมูล ) มี 3 ยมก ที่มีมูล 5 ( ปัญจกมูล ) มี 2 ยมก.
ที่มีมูล 6 ( ฉักกมูล ) มี 1 ยมก. รวมในปุคคลวาระเป็น 36 ยมก
คือ ยมกที่มีมูล 1 มี 21 ยมก ที่มีมูล 2 เป็นต้นอีก 15 ยมก
( 21 15 = 36 ) ดังนี้.
ในโอกาสวาระก็เหมือนกัน คือ มี 36 ในปุคคโลกาสวาระก็
เหมือนกัน คือมี 36 เพราะฉะนั้น อันตรวาระแม้ทั้งหมดในอนุโลมนัย
จึงเป็น 108 ยมก ในปฏิโลมนัยก็เหมือนกัน ( มี 108 ) ดังนั้นใน
มหาวาระแรก คืออนุสยวาระ จึงรวมเป็น 216 ยมก. บัณฑิตพึงทราบ
คำปุจฉาต้องคูณด้วย 2 แต่ยมกนั้น เนื้อความคือคำวิสัชนาคูณด้วย 2
จากคำปุจฉานั้น. ก็ในอนุสยวาระนี้ ฉันใด พึงทราบการนับยมกหนึ่ง ๆ

แห่งมหาวาระทั้ง 5 แม้เหล่านั้น สานุสยวาระ ปชหนวาระ ปริญญา-
วาระ ปหีนวาระ
และ อุปปัชชนวาระ ว่า คำปุจฉาต้องคูณด้วย 2
แต่ละยมก เนื้อความคือคำวิสัชนาต้องคูณด้วย 2 จากคำปุจฉานั้น
ฉันนั้น. แต่ว่าในมหาวาระ 5 นี้ มีเนื้อความที่แปลกไปจาก 3 วาระ
แรก คือ ในโอกาสวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสคำว่า " ยตฺถ
ยตฺถ "
แต่ทรงทำเทศนาด้วยพระดำรัสว่า ยโต ยโต ดังนี้. คำที่
เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ.
ก็ในมหาวาระทั้งหมด วาระสุดท้าย ชื่อว่า ธาตุวาระ นั้น
ดำรงอยู่ 2 อย่าง คือ ปุจฉาวาระ และ วิสัชนาวาระ ถามว่า เพราะ
เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสในคำปุจฉาวาระแห่งธาตุวาระนั้นว่า
เมื่อสัตว์เข้าถึงกามธาตุ แล้วเข้าถึงกามธาตุ ดังนี้ แต่ไม่ตรัสว่า
เมื่อสัตว์เข้าถึงกามธาตุ จุติแล้วจากกามธาตุ ดังนี้ ตอบว่า เมื่อ
ว่าโดยอรรถแล้วไม่แปลกกัน เพราะคำถามแม้ทั้ง 2 นี้ มีอรรถอย่าง
เดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคำปุจฉายมกหนึ่ง ๆ นั่นแหละ
แต่ยมกหนึ่ง ๆ โดยลำดับในที่สุดแห่งคำถามทั้งหมดแล้วจึงทำคำวิสัชนาไว้
โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อสัตว์จุติจากกามธาตุแล้วเข้าถึงกามธาตุ อนุ-
สัย 7 ย่อมนอนเนื่องแก่ใครบ้าง
ดังนี้ ในบรรดาคำถามเหล่านั้น
อนุโลมปุจฉามีกามธาตุเป็นมูละ 9 คือ สุทธิกปุจฉา 6 ยมก โดย
พระบาลีว่า เมื่อสัตว์จุติจากกามธาตุ เข้าถึงกามธาตุ . . . เข้าถึงรูป

ธาตุ . . . เข้าถึงอรูปธาตุ . . . เข้าถึง น กามธาตุ . . . เข้าถึง น รูป
ธาตุ เข้าถึง น อรูปธาตุ
ดังนี้ และมิสสกปุจฉาอีก 3 คือ เมื่อสัตว์
จุติจากกามธาตุแล้ว เข้าถึง น กามธาตุ น อรูปธาตุ . . . เข้าถึง
น รูปธาตุ น อรูปธาตุ . . . เข้าถึง นกามธาตุ น รูปธาตุ
ดังนี้.
อนุโลมปุจฉาที่มีรูปธาตุเป็นมูละก็มี 9 ที่มีอรูปธาตุเป็นมูละก็มี
9 เหมือนกัน รวมเป็นอนุโลมปุจฉา 27 ปฏิโลมปุจฉาที่มีนกามธาตุ
นรูปธาตุ และนอรูปธาตุ เป็นมูละก็มี 27 นั่นแหละ 27 รวมคำถาม
ทั้งหมด คือ อนุโลมปุจฉา 27 ปฏิโลมปุจฉา 27 และคำถามที่เป็น
ทุกมูลอีก 27 ดังพระบาลีว่า น กามธาตุยา น อรูปธาตุยา น
รูปธาตุยา น อรูปธาตุยา น กามธาตุยา น รูปธาตุยา
ดังนี้
จึงเป็นคำปุจฉา 18. บัณฑิตพึงทำการวิสัชนาปัญหาในที่นี้ด้วยสามารถ
แห่งคำถามเหล่านั้น. ข้อนี้เป็นการกำหนดบาลีในธาตุวาระ และพึง
ทราบการกำหนดบาลี ในอนุสยยมกแม้ทั้งสิ้นด้วยประการฉะนี้ก่อน.
ก็คำใด ๆ ในอนุสยยมกที่มีเนื้อความอันยาก พึงทราบการวินิจฉัย
กถาในที่นั้น ๆ ตั้งแต่ต้น.
ถามว่า คำว่า อนุสยา ชื่อว่า อนุสัยทั้งหลาย เพราะอรรถว่า
อย่างไร ?
ตอบว่า ชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่า นอนเนื่อง.

ถามว่า อนุสัยนั้น ชื่อว่า มีอรรถว่านอนเนื่อง อย่างไร ?
ตอบว่า ชื่ออย่างนั้น เพราะอรรถว่า ละไม่ได้.
จริงอยู่ กิเลสเหล่านี้ ชื่อว่า ย่อมนอนเนื่องในสันดาน
ของสัตว์ เพราะอรรถว่าไม่ได้ ฉะนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงเจริญ
กิเลสเหล่านั้นว่า อนุสัย
.
คำว่า " อนุเสนฺติ " แปลว่า ย่อมนอนเนื่อง อธิบายว่า ได้
เหตุอันสมควรแล้วจึงเกิดขึ้น อนึ่ง กิเลสที่มีอาการละไม่ได้ ชื่อว่า
อนุสยัฏฐะ อรรถว่านอนเนื่อง พึงมี ก็ไม่ควรจะกล่าวว่า กิเลสมี
อาการละไม่ได้นี้ ย่อมเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นควรจะกล่าวว่า " อนุสัย
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น " ดังนี้ คำว่า อนุสยา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ ในที่
นี้เป็นคำรับรองว่า อนุสัย คือ กิเลสที่มีอาการอันละไม่ได้. ก็คำว่า
อนุสโย พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกกิเลสที่มีกำลัง เพราะอรรถ
ว่าละไม่ได้.
บัณฑิตพึงทราบว่า อนุสัยนี้ เห็นจิตตสัมปยุต เป็นไปกับ
ด้วยอารมณ์ ( รู้อารมณ์ได้ ) เป็นสเหตุกะเพราะอรรถว่ามีปัจจัย
ปรุงแต่ง และเป็นอกุศลอย่างเดียว เป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคต
บ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง
เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวว่า อนุสัยย่อม
เกิดขึ้น

ในที่นี้ พึงทราบคำวินิจฉัยกถานี้ เป็นประมาณ.-
ในอภิธรรม ก่อนท่านปฏิเสธวาทะทั้งหมดไว้ในกถาวัตถุว่า
อนุสัยทั้งหลายเป็นอัพยากตะ เป็นอเหตุกะ เป็นจิตตวิปปยุต ดังนี้
(โปรดดูกถาวัตถุ )
ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านได้กล่าว กระทำคำถามไว้ว่า บุคคล
ย่อมละกิเลสทั้งหลายที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น คือว่า บุคคลย่อมละ
อนุสัยคือกิเลสที่มีกำลังได้ เพราะความที่อนุสัยเหล่านั้นเป็นปัจ-
จุบันมีอยู่
.
ในธรรมสังคหะ ท่านกล่าวไว้ในบทภาชนีแห่งโมหะว่า ความ
เกิดขึ้นแห่งอวิชชานุสัยร่วมกับอกุศลจิตว่า อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏ
ฐาน อวิชชาลังคิโมหะและอกุศลมูลนี้ มีอยู่ในสมัยใด โมหะก็
มีอยู่ในสมัยนั้น
ดังนี้.
ในอนุสยยมกนี้นั่นแหละ ท่านกล่าวไว้ใน อุปปัชชนวาระ
แห่งมหาวาระ 7 วาระใดวาระหนึ่งว่า กามราคานุสัย กำลังเกิดแก่
บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม
เป็นต้น
เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านอธิบายว่า คำว่า นอนเนื่อง คือได้เหตุอัน
สมควรแล้วจึงเกิดขึ้นนี้ คำนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ดีแล้วด้วย
สามารถแห่งแบบแผนนี้เป็นปริมาณ. แม้คำที่กล่าวว่า อนุสัย เป็น

จิตตสัมปยุต เป็นไปกับด้วยอารมณ์ ( คือรู้อารมณ์ได้ ) แม้คำนั้นท่าน
ก็กล่าวดีแล้วนั่นแหละ ดังนั้น พึงถึงความตกลงในที่นี้ว่า ชื่อว่า อนุสัย
นั้น เป็นธรรมสำเร็จแล้ว เป็นจิตตสัมปยุต และเป็นอกุศล ด้วย
ประการฉะนี้. และพึงทราบวิเคราะห์ในคำทั้งหลายซึ่งมีคำว่า กาม-
ราคานุสัย
เป็นต้น ว่ากามราคะนั้นด้วย เป็นอนุสัยเพราะอรรถว่า
ละไม่ได้ด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า กามราคานุสัย แม้ในบทที่เหลือก็นัย
นี้แหละ.
บัดนี้ เพื่อประกาศ อุปปัตติฏฐานวาระ คือ วาระว่าด้วยที่เป็น
ที่เกิดขึ้นแห่งอนุสัย แห่งอนุสัยเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ตตฺถ กามราคานุสโย อนุเสติ เป็นต้น.
คำว่า ตตฺถ กามธาตุยา ทฺวีสุ เวทนาสุ ได้แก่ กาม-
ราคานุสัยเกิด ในเวทนาทั้ง 2 คือ สุขเวทนา และอุเบกขาเวทนาใน
กามาวจรภูมิ.1
คำว่า เอตฺถ กามราคานุสโย อนุเสติ ได้แก่ กามราคานุสัย
ย่อมนอนเนื่องในเวทนาทั้ง 2 เหล่านี้. อธิบายว่า กามราคานุสัยนี้
ย่อมนอนเนื่องด้วยอาการ 2 อย่าง คือ ด้วยสามารถแห่งการเกิดร่วม

1. คำว่า กามาวจรภูมิ และกามธาตุ มีอรรถอย่างเดียวกัน

และด้วยสามารถแห่งอารมณ์ในสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาแห่งอกุศล
ทั้งหลาย. ก็อนุสัยนั้นเป็นธรรมเกิดพร้อมกับสุขเวทนาและอุเบกขา
เวทนาแห่งอกุศลบ้าง ย่อมทำเวทนาทั้ง 2 ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง
และทำเวทนาในกามาวจรกุศล วิบาก กิริยาที่เหลือให้เป็นอารมณ์อย่าง
นั้นแหละเกิดขึ้นบ้าง อนึ่งอนุสัยนั้น เมื่อนอนเนื่องในเวทนาที่ 2
ในกามธาตุ ย่อมนอนเนื่องแม้ในสัญญา สังขารและวิญญาณที่สัมปยุต
ด้วยเวทนาทั้ง 2 นั้น. แต่ว่าอนุสัยที่นอนเนื่องอยู่ในเวทนาทั้งสอง ไม่
อาจเพื่อจะเกิดร่วมกับปัญญาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยเวทนานั้น หรือว่าไม่
กระทำปัญญาเป็นที่สัมปยุตด้วยเวทนานั้นแล้วเกิดขึ้น.
ก็ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ เวทนาทั้งสองจึงเป็นประธาน
ในสัมปยุตธรรมที่เหลือ เพราะความเกิดขึ้นแห่งกามราคานุสัยเพราะ
อรรถว่าชอบใจโดยความเป็นสุขที่มีความยินดีและความสงบ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กามราคานุสัย ย่อมนอนเนื่องใน
เวทนาทั้งสองเหล่านี้
เป็นต้น. จริงอยู่ สุขเวทนาในเวไนยสัตว์ที่
จะรู้ธรรม เพื่อความรู้ธรรมด้วยสามารถแห่งสภาวะที่โอฬาร คือ
อย่างหยาบ.
อนึ่ง กามราคานุสัยนี้ เมื่อนอนเนื่องด้วยสามารถแห่งอารมณ์
ย่อมนอนเนื่องในเวทนาทั้งสอง และในธรรมที่สัมปยุตด้วยเวทนาทั้งสอง
เพียงเท่านั้นก็หาไม่ ย่อมนอนเนื่องแม้ในรูปเป็นต้นที่ปรารถนาด้วย

ทีเดียว แม้คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในวิภังคปกรณ์ว่า รูป
อันใด เป็นที่รัก (ปิยรูปํ) เป็นที่ชอบใจ (สาตรูปํ ) มีอยู่ใน
โลก กามราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องในปิยรูปและ
สาตรูปนี้
ดังนี้ มิใช่หรือ แม้ในคัมภีร์ยมกนี้ ก็ตรัสไว้ในปฏิโลมนัย
แห่งอนุสยวาระว่า กามราคานุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องในภูมิใด
ทิฏฐานุสัย ก็ย่อมไม่นอนเนื่องในภูมินั้น ใช่ไหม
ดังนี้. ก็กาม-
ราคานุสัยนั้น ย่อมไม่นอนเนื่องในทุกขเวทนา ในรูปธาตุ อรูปธาตุ
เหล่านี้ แต่ทิฏฐานุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องในที่นั้นก็หาไม่ ในที่เป็นที่
ไม่เนื่องกับกามราคานุสัยก็ไม่นอนเนื่อง ทิฏฐานุสัยก็ไม่นอนเนื่อง.
จริงอยู่ ในข้อนี้ กามราคานุสัย เว้นทุกขเวทนาพร้อมทั้งสัม-
ปยุตตธรรม เว้นรูปาวจรธรรมที่เป็นไปในภูมิ และเว้นโลกุตธรรม 9
เพราะได้ตรัสไว้ว่า กามราคานุสัย ไม่นอนเนื่องในทุกขเวทนา และ
ในรูปธาตุเป็นต้น จึงเป็นอันว่า ย่อมนอนเนื่องในรูป เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะที่เหลือ.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสถ้อยคำนั้นในปกรณ์นี้ ?
ตอบว่า เพราะความที่สภาวะเหล่านั้นเป็นของละเอียด.
จริงอยู่ พระองค์ไม่ตรัสว่า กามราคานุสัย ย่อมนอน
เนื่องในรูปเหล่านี้
เป็นต้น เพราะความที่เวทนาทั้งสองเท่านั้นเป็น
ประธาน คือเป็นอารมณ์ชัด และเพราะความที่รูปเหล่านี้เป็นอารมณ์

ละเอียด คือปรากฏไม่มาก โดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง แต่ว่า
เมื่อว่าโดยอรรถแล้ว ย่อมเป็นได้ ฉะนั้น พึงทราบว่า กามราคานุสัย
ย่อมนอนเนื่องแม้ในรูปทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละด้วย.
จริงอยู่ พระศาสดา ย่อมไม่ตรัสถึงธรรมทั้งปวงในที่ทั้งปวง
เว้นแต่ธรรมใดย่อมหยั่งเห็นได้ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ที่พระองค์ทรงแนะ
นำเพื่อให้รู้ธรรม ก็ย่อมตรัสธรรมนั้นทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ตรัส
ในที่บางแห่ง. จริงอย่างนั้นแหละคำใดที่พระองค์ตรัสปุจฉาว่า ทิฏฐา-
นุสัย ย่อมนอนเนื่องในที่ไหน
ดังนี้ ย่อมได้คำวิสัชนาอย่างนี้ว่า
ทิฏฐานุสัย ย่อมนอนเนื่องในธรรมทั้งหลายที่นับเนื่องด้วย
สักกายะทั้งปวง
ดังนี้ ธรรมทั้งหมดนั้นพระองค์ตรัสไว้แล้ว.
ในที่อื่นอีก คำใดย่อมได้คำวิสัชนาอย่างนี้ว่า วิจิกิจฉานุสัย
มานานุสัย และทิฏฐานุสัย ย่อมนอนเนื่องในรูปธาตุและอรูปธาตุนี้
และวิจิกิจฉานุสัย กามราคานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย ย่อมนอน
เนื่องในเวทนาทั้ง 2 ในกามธาตุ และวิจิกิจฉานุสัย ปฏิฆานุสัย
ทิฏฐานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมนอนเนื่องในทุกขเวทนานี้ ดังนี้ พระองค์
มิได้ตรัสคำนั้นทั้งหมด ตรัสเพียงเวทนา 3 กับรูปธาตุ อรูปธาตุเท่านั้น.
ก็อรูปธรรมที่สัมปยุตด้วยเวทนา และรูปทั้งหมด มิได้ตรัสไว้. มิได้
ตรัสไว้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นทิฏฐานุสัย ก็ย่อมนอนเนื่องในที่นั้นนั่น
แหละ ข้อนี้ฉันใดในที่นี้มิได้ตรัสอิฏฐารมณ์มีรูปเป็นต้นไว้ ถึงอย่างนั้น

กามราคานุสัย ก็ย่อมนอนเนื่องในรูปที่เป็นอิฏฐารมณ์ ฉันนั้นนั่นแหละ
บัณฑิตพึงทราบที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งกามราคานุสัย ดังพรรณนามาฉะนี้
ก่อน.
บัณฑิตพึงทราบที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งปฏิฆานุสัยโดยพระบาลีว่า
ทุกฺขาย เวทนาย เป็นต้น ว่า ได้แก่เวทนาทั้ง 3 คือ โทมนัสส-
เวทนา 2 และทุกขเวทนาที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณ 1 นี้ ชื่อว่า
อนุสยนัฏฐาน คือที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งปฏิฆานุสัย. ก็ปฏิฆานุสัยนั้น
ย่อมนอนเนื่องในโทมนัสสเวทนา ด้วยอาการ 2 อย่าง คือ ด้วยสามารถ
แห่งการเกิดขึ้นพร้อมกัน และด้วยสามารถแห่งอารมณ์ด้วย และย่อม
นอนเนื่องในทุกขเวทนาที่เหลือด้วยสามารถแห่งอารมณ์. ก็ปฏิฆานุสัย
นั้น เมื่อนอนเนื่องในเวทนาเหล่านั้น ย่อมนอนเนื่องแม้ในสัญญา
สังขาร และวิญญาณเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยเวทนาเหล่านั้น. จริงอยู่
ปฏิฆานุสัยนี้เกิดร่วมกับเวทนาใด ก็เป็นสภาพเกิดร่วมกับธรรมทั้งหลาย
แม้มีสัญญาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยเวทนานั้นนั่นแหละ หรือว่า ย่อม
กระทำเวทนาใดให้เป็นอารมณ์ ก็ย่อมทำแม้ธรรมทั้งหลายมีสัญญา
เป็นต้นที่สัมปยุตด้วยเวทนานั้นเหมือนกัน. ก็ครั้นเมื่อความเป็นอย่าง
นั้นแม้มีอยู่ ทุกขเวทนาเทียวจึงเป็นใหญ่ในสัมปยุตธรรมที่เหลือ เพราะ
ความเกิดขึ้นแห่งปฏิฆานุสัยโดยอรรถว่าไม่ชอบใจและเพราะความที่ตน
เสวยทุกข์ในธรรมที่ไม่ชอบใจ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคำนี้ว่า ปฏิฆา-
นุสัย ย่อมนอนเนื่องในทุกขเวทนานี้
ดังนี้ จริงอยู่ ความสุข

คือสุขเวทนา ในเผ่าพันธุ์แห่งสัตว์ที่พระองค์ทรงแนะนำในการรู้ธรรม
เพื่อความรู้ธรรมด้วยสามารถแห่งสภาวะที่เป็นโอฬาร มีอยู่.
อนึ่ง ปฏิฆานุสัย เมื่อนอนเนื่องด้วยสามารถ แห่งอารมณ์ ย่อม
ไม่นอนเนื่องในทุกขเวทนา และในสัมปยุตตธรรมแห่งเวทนาเท่านั้น
ย่อมนอนเนื่องแม้ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ที่ไม่น่าปรารถนาด้วย.
ดังคำที่ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังคปกรณ์ว่า รูปอันใดอันไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่ชอบใจมีอยู่ในโลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อม
นอนเนื่องในรูปที่ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจนี้
ดังนี้ มิใช่หรือ. แม้
ในปกรณ์แห่งยมกนี้ ในปฏิโลมนัยแห่งอนุสยวาระก็ตรัสไว้ว่า ปฏิฆา-
นุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องในเวทนาทั้งสองในกามธาตุนี้ แต่กาม-
ราคานุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องในที่นั้นก็หาไม่ ในรูปธาตุ อรูปธาตุ
ที่ไม่เนื่องกันนี้ ปฏิฆานุสัยก็ไม่นอนเนื่อง กามราคานุสัยก็ไม่
นอนเนื่อง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า ปฏิฆานุสัย ย่อม
นอนเนื่องในธรรมทั้งหลายที่เหลือมีรูปเป็นต้น โดยเว้นเวทนา 2 คือ
สุข อุเบกขา พร้อมทั้งสัมปยุตตธรรม เว้นรูปาวจรธรรมที่เป็นไปใน
ภูมิ และเว้นโลกุตตรธรรม 9 เพราะความที่เทศนานั้น พระองค์
ตรัสว่า ปฏิฆานุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องในกามาวจรเวทนาทั้ง 2 และ
ในรูปธาตุเป็นต้น ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสไว้ ?
ตอบว่า เพราะเป็นสภาวะละเอียด.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปฏิฆานุสัย ย่อมนอน
เนื่องแก่ธรรมเหล่านี้ เพราะความที่ทุกขเวทนาเป็นใหญ่โดยนัยที่
กล่าวแล้วนั่นแหละ และในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น
เพราะ
ความเป็นธรรมละเอียด ดังนี้ แต่เมื่อว่าโดยอรรถแล้วย่อมเป็นได้
เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ปฏิฆานุสัย ย่อมนอนเนื่องแม้ในธรรม
ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ ดังนี้.
ถามว่า เวทนาทั้งสองนอกนี้ เป็นอิฏฐารมณ์ของปฏิฆะ หรือ
ไม่ ?
ตอบว่า เวทนาทั้งสองนอกนี้ ไม่เป็นอารมณ์ของปฏิฆะ ก็
หาไม่.
จริงอยู่ โทมนัสของผู้มีฌานเสื่อมแล้ว ย่อมเกิดเพราะ
ปรารภเวทนาเหล่านั้นอันเป็นไปกับด้วยสัมปยุตตธรรม ด้วย
สามารถแท่งความเดือดร้อน คือโทมนัส ย่อมเกิดเพราะตามระลึก
ถึงความเสื่อมของผู้ได้อิฏฐารมณ์บ้าง ย่อมเกิดเพราะตามระลึกถึง
สิ่งที่ไม่ได้ของผู้ไม่ได้อิฏฐารมณ์บ้าง ก็ข้อนี้เป็นเพียงโทมนัส
เท่านั้น ไม่เป็นปฏิฆานุสัย
เพราะปฏิฆานุสัยนั้น เป็นกิเลสที่มีกำลัง
เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการกระทบในอนิฏฐารมณ์ ฉะนั้น ปฏิฆะแม้

เกิดร่วมกับโทมนัสในที่นี้ ย่อมไม่เป็นปฏิฆานุสัย เพราะไม่ทำปฏิฆกิจ
ของตน ย่อมถึงความเป็นอัพโพหาริก คือ ถึงการกล่าวอ้างไม่ได้.
พยาบาทแม้เกิดร่วมกับเจตนาในปาณาติบาต ย่อมไม่ชื่อว่า เป็น
มโนกรรม ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น ไม่เป็นปฏิฆานุสัย คือว่าย่อมถึงการ
กล่าวอ้างไม่ได้ สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลย่อมละปฏิฆะ คือ
โทมนัสเห็นปานนี้ โดยหมายเอาโทมนัสอันอาศัยเนกขัมมะอัน
เป็นอิฏฐารมณ์บางอย่างโดยสภาวะนั้น ปฏิฆานุสัย ก็ย่อมไม่
นอนเนื่องในที่นั้น
ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ปฏิฆานุสัย ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็ที่เป็นที่นอนเนื่องแห่ง มานานุสัย โดยพระบาลีว่า กาม-
ธาตุยา ทฺวีสุ เวทนาสุ
เป็นต้น มี 3 คือ กามาวจรเวทนา 2
รูปธาตุและอรูปธาตุ 1. บัณฑิตพึงทราบความนอนเนื่องแห่งมานานุสัย
อันเป็นสหชาตะเหมือนกามราคานุสัยในอกุศลเวทนาทั้งหลาย. ก็มานา-
นุสัยย่อมนอนเนื่องในกามาวจรแม้ทั้งหมด พร้อมทั้งสัมปยุตตธรรมใน
สุขทุกข์ อทุกขมสุขเวทนาทั้งหลาย และในรูปธาตุทั้งหลายด้วยสามารถ
แห่งอารมณ์. ในปฏิโลมนัยแห่งอนุสยวาระ มานานุสัยนี้ เว้นทุกข-
เวทนา และโลกุตตรธรรม 9 ย่อมนอนเนื่องในรูปและอรูปธาตุที่เหลือ
เท่านั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กามราคานุสัย ย่อมไม่
นอนเนื่อง มานานุสัยก็ย่อมไม่นอนเนื่องในธรรมที่เนื่องด้วย

ทุกขเวทนานี้ ดังนี้. พึงทราบที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งมานานุสัยดัง
พรรณนามาฉะนี้.
ก็ ทิฏฐานุสัย และ วิจิกิจฉานุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องใน
โลกุตตรธรรมอย่างเดียวเท่านั้น แท้จริงยังนอนเนื่องแม้ในธรรมทั้งปวง
ทีเดียวที่เป็นไปกับภูมิ 3 เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมนอนเนื่องในธรรมทั้งหลายที่นับเนื่อง
ด้วยสักกายะทั้งปวง ดังนี้. ก็ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพสกฺกาย-
ปริยาปนฺเนสุ ได้แก่ ในธรรมทั้งปวงที่นับเนื่องด้วยสักกายะ
เพราะอรรถว่า อาศัยสังสารวัฏ
ดังนี้. ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัยเหล่านี้ ย่อมนอนเนื่องในจิตตุปบาท 5 ดวง
คือ โลภสัมปยุตตจิต 4 วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต 1 ด้วยสามารถแห่งการ
นอนเนื่องที่เป็นสหชาตะ ก็หรือว่า ธรรมที่ 2 นั้น ย่อมนอนเนื่อง
ด้วยสามารถแห่งการนอนเนื่องในอารมณ์ในปวัตติกาล เพราะปรารภ
จิตตุปบาท 5 เหล่านี้ หรือธรรมอื่นอันเป็นไปกับภูมิ 3 ดังนี้. บัณฑิต
พึงทราบที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ดังพรรณนา
มาฉะนี้.
ก็ ภวราคานุสัย บัณฑิตพึงกล่าวว่า ย่อมนอนเนื่องใน
เวทนา 2 ในกามธาตุ เพราะความเกิดขึ้นในทิฏฐิวิปปยุตตจิต 4 ดวง
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ภวราคานุสัยนั้น เมื่อเกิดกับเวทนาทั้งปวงใน
กามธาตุ ย่อมได้เฉพาะในรูปาวจร อรูปาวจรเท่านั้น และย่อมไม่ทำ

ธรรมแม้อันหนึ่งซึ่งเนื่องด้วยกามธาตุให้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภวราคานุสัย ย่อมนอนเนื่องในรูปธาตุ
และอรูปธาตุนี้ โดยกำหนดไว้ด้วยสามารถแห่งการนอนเนื่องใน
อารมณ์
ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ราคะนี้ มี 2 ด้วยสามารถแห่ง
กามราคะและภวราคะ.
ใน 2 อย่างนั้น กามราคะ ท่านกล่าวว่า ย่อมนอนเนื่อง
ในเวทนาทั้ง 2 แห่งกามธาตุ
ดังนี้.
ก็ถ้าว่า แม้ภวราคะพึงเป็นดุจกามราคะอย่างนี้ไซร้ การแสดง
ภวราคะกับด้วยกวมราคะก็พึงเป็นเหมือนการคาบเกี่ยวกัน เพราะฉะนั้น
พระองค์ทรงแยกกิเลสมีราคะเป็นต้นไว้ เพื่อต้องการแสดงความแตก
ต่างกันของกามราคะกับภวราคะแล้ว จึงทรงแสดงเทศนาอย่างนี้. บัณฑิต
พึงทราบที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งภวราคานุสัย ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็ อวิชชานุสัย ย่อมนอนเนื่องในธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3
ทั้งหมด. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อวิชชานุสัย
ย่อมนอนเนื่องในธรรมทั้งหลายที่นับเนื่องด้วยสักกายะทั้งปวงไว้
ในที่นี้
ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบความที่อวิชชานุสัยเป็นธรรมนอนเนื่อง
อันเป็นสหชาตะในจิตตุปบาท 12 ดวง. ก็เมื่อว่าด้วยสามารถแห่งการ
กระทำอารมณ์แล้ว อวิชชานุสัยไม่ปรารภธรรมอะไร ๆ อันเป็นไปใน
ภูมิ 3 แล้วเป็นไปหามีไม่. บัณฑิตพึงทราบที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่ง

อวิชชานุสัย ดังพรรณนามาฉะนี้. นี้เป็นวินิจฉัยกถาในปริจเฉทวาระ
ปริจฉินนุทเทสวาระ อุปปัตติฏฐานวาระก่อน.

มหาวาระ 7


ก็ในอนุสยวาระที่หนึ่งแห่งมหาวาระ 7 คำใดที่กล่าวไว้ว่า
กามราคานุสัย กำลังนอนเนื่องแก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็กำลัง
นอนเนื่องแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม
ดังนี้ ตอบรับคำว่า อามนฺตา
แปลว่า ใช่ ดังนี้ คำนั้น ย่อมปรากฏราวกะว่าให้คำตอบที่ไม่ดี.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะกามราคะและปฏิฆะไม่เกิดในขณะเดียวกัน
เหมือนอย่างว่ามนายตนะ ธัมมายตนะ กายสังขาร วจีสังขาร ย่อม
เกิดขึ้นในขณะเดียวกันในคำว่า มนายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด
ธัมมายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม
ดังนี้.
ท่านตอบรับว่า ใช่ ( อามนฺตา) ในขณะแห่งการเกิดขึ้น
แห่งอัสสาสะ ปัสสาสะ กายสังขารของบุคคลเหล่านั้นกำลัง
เกิดขึ้น วจีสังขารของบุคคลเหล่านั้นก็กำลังเกิดขึ้น
เป็นต้น
ฉันใด กามราคะ และปฏิฆะ ย่อมเกิดฉันนั้นหามิได้. เพราะกามราคะ
ย่อมเกิดในโลภสหคตจิตตุปบาท 8 ดวง ส่วนปฏิฆะย่อมเกิดใน
โทมนัสสหคตจิตตุปบาท 2 ดวง
ด้วยประการฉะนี้ ความเกิดขึ้น