เมนู

อรรถกถา


อนุสยยมก


บัดนี้ เป็นการวรรณนาเนื้อความแห่งอนุสยยมกเหมือนที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบรวมเอกเทศแห่งกุศลธรรมเป็นต้นทรงแสดงไว้
ในมูลยมกนั้นนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งการหยั่งเห็นได้แล้วทรงแสดง
ไว้ในลำดับแห่งสังขารยมก. บัณฑิตพึงทราบการกำหนดบาลี ในอนุสย-
ยมกก่อน เพราะว่า ในอนุสยยมกนี้พระองค์ทรงทำบาลีเทศนาไว้อีก
อย่างหนึ่ง ไม่เหมือนทำเทศนาในขันธยมก เป็นต้น.
ถามว่า ทำเทศนาอย่างไร ?
ตอบว่า ในเบื้องต้นทำเทศนาแสดงไว้ 3 วาระ คือ ปริจเฉท-
วาระ วาระว่าด้วยการกำหนด, ปริจฉินนุทเทสวาระ วาระว่าด้วย
อุทเทสที่กำหนดไว้แล้ว, อุปปัตติฏฐานวาระ วาระว่าด้วยที่เป็นที่เกิดขึ้น
ก่อน, เพื่อจะให้ศึกษาอนุสัยทั้งหลาย โดยอาการ 3 อย่าง คือ โดย
ปริจเฉท โดยอุทเทส และโดยอุปปัตติฏฐาน ต่อจากนั้นก็ทรงประกอบ
อนุสัยทั้งหลายทำยมกเทศนา ด้วยอำนาจแห่งมหาวาระ 7.
ในอนุสยยมกนั้น คำว่า " สตฺต อนุสยา " นี้ ชื่อว่า
ปริจเฉทวาระ เพราะความที่อนุสัยทั้งหลาย พระองค์กำหนดจำนวน
แสดงไว้ว่า " อนุสัยนี้ มี 7 เท่านั้น ไม่เกินกว่านี้ ไม่ต่ำกว่านี้ "
ดังนี้.

คำว่า " กามราคานุสโย ฯเปฯ อวิชฺชานุสยโย " นี้ ชื่อว่า
ปริจฉินนุทเทสวาระ เพราะความที่วาระนี้ทรงยกเพียงแต่ชื่อแห่งธรรม
ที่กำหนดไว้แล้วโดยปริจเฉทวาระนั้น ขึ้นแสดงว่า " ชื่อว่า ธรรม
เหล่านี้ เป็นธรรมชนิดนั้น " ดังนี้.
ในข้อนั้น คำว่า กามราคานุสโย อนุเสติ เอตฺถ ฯเปฯ
อวิชฺชานุสโย อนุเสติ
นี้ ชื่อว่า อุปปัตติฏฐานวาระ เพราะความที่
วาระนี้ ทรงแสดงที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ อย่างนี้
ว่า " อนุสัยเหล่านี้ ย่อมนอนเนื่อง ในวาระทั้งหลายชื่อนี้ " ดังนี้.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประกอบอนุสัยทั้งหลายแล้วทำยมก
เทศนา ด้วยอำนาจแห่งมหาวาระ 7 เหล่าใด มหาวาระเหล่านั้น มีชื่อ
ดังนี้ คือ.-
1. อนุสยวาระ ( วาระว่าด้วยอนุสัย )
2. สานุสยวาระ ( วาระว่าด้วยผู้มีอนุสัย )
3. ปชหนวาระ ( วาระว่าด้วยการละ )
4. ปริญญาวาระ ( วาระว่าด้วยการกำหนดรู้ )
5. ปหีนวาระ ( วาระว่าด้วยการละได้แล้ว )
6. อุปปัชชนวาระ ( วาระว่าด้วยการเกิด )
7. ธาตุวาระ ( วาระว่าด้วยธาตุ )

อธิบายอนุสยวาระ


บรรดามหาวาระเหล่านั้น วาระที่ 1 ชื่อว่า อนุสยวาระ นั้น
มี 2 นัย คือ ด้วยสามารถแห่งอนุโลมนัย และปฏิโลมนัย. ในนัย
ทั้ง 2 นั้น อนุโลมนัยมีอันตรวาระ 3 วาระ ด้วยอำนาจแห่งบุคคล
และภูมิ คือ. -
ยสฺส อนุเสติ แปลว่า . . . กำลังนอนเนื่องแก่บุคคลใด (ปุคคล-
วาระ)
ยตฺถ อนุเสติ แปลว่า . . . กำลังนอนเนื่องในภูมิใด ( โอกาส-
วาระ)
ยสฺส ยตฺถานุเสติ แปลว่า . . . กำลังนอนเนื่องแก่บุคคลใดใน
ภูมิใด ( ปุคคโลกาสวาระ )
ในอันตรวาระ 3 เหล่านั้น ในปุคคลวาระมี 21 ยมก คือ มี
กามราคานุสัยเป็นมูล 6 ยมก โดยพระบาลีว่า :-

" ยสฺส กามราคานุสโย อนุเสติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสติ
ยสฺส วาปน ปฏิฆานุสโย อนุเสติ ตสฺส กามราคานุสโย
อนุเสติ ฯ
ยสฺส กามราคานุสโย อนุเสติ ตสฺส มานานุสโย. . . .
ทิฏฐานุสโย ... วิจิกิจฉานุสโย ... ภวราคานุสโย . . . อวิชาชานุสโย
อนุเสติ