เมนู

อรรถกถาธัมมยมก


บัดนี้ เป็นวรรณนา ธัมมยมก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้ง
มาติกาแห่งธรรมทั้งหลาย มีกุศลเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละที่แสดงไว้
ในมูลยมกแล้วแสดงต่อจากจิตตยมก.
ในธัมมยมกนั้น พึงทราบการกำหนดพระบาลีตามนัยที่กล่าวไว้
ในขันธยมก ก็ในขันธยมกนั้น มี 3 มหาวาระ มีปัณณัตติวาระ
เป็นต้น และมีอันตรวาระที่เหลือ มีอยู่โดยประการใด, ในธรรมยมก
ก็มีโดยประการนั้น
แต่ในธรรมยมกนี้พึงทราบว่าท่านเรียกปริญญาวาระว่า ภาวนา-
วาระ
เพราะพระบาลีอาคตสถานว่า โย กุสลธมฺมํ ภาเวติ โส
อกุสลฺธมฺมํ ปชหติ
- บุคคลใดเจริญกุศลธรรม บุคคลนั้นชื่อว่าละ
อกุศลธรรมหรือ ?
ในภาวนาวาระนั้น อัพยากตธรรมเป็นธรรมที่บุคคลไม่ควร
เจริญด้วย ไม่ควรละด้วย เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่ยกบทนั้นขึ้นแสดง
ก็ในปัณณัตติวาระในธรรมยมกนี้ พึงทราบการนับยมกในวาระ 4 เหล่า
นี้ คือ ปทโสธนวาระ ปทโสธนมูลจักกวาระ สุทธธัมมวาระ
สุทธธัมมมูลจักกวาระ
ด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้งหลาย มีกุศลธรรม
เป็นต้น

ส่วนในปัณณัตติวาระนิทเทส พระองค์ตรัสว่า อามนฺตา เพราะ
ความที่แห่งกุศลทั้งหลายเป็นกุศลธรรมโดยแน่นอน ในปัญหาที่ว่า กุศล
ชื่อว่ากุศลธรรม หรือ ?
ดังนี้ แม้ในคำวิสัชชนาที่เหลือก็นัยนี้ คำ
วิสัชนาที่ว่า ธรรมทั้งหลายที่เหลือ ไม่ชื่อว่าอกุศล แต่ชื่อว่าธรรม
อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายที่เหลือไม่เป็นอกุศล แต่เป็นธรรม พึงทราบ
คำวิสัชชนาทั้งหมดโดยนัยนี้.
ก็ในอนุโลมนัยแห่งบุคคลวาระ ปัจจุบันกาลในปวัตติวาระนี้
ยมก 3 อย่าง คือ ยมกที่มีกุศลธรรมเป็นมูล 2 อย่าง มีอกุศลธรรม
เป็นมูล 1 อย่างย่อมมีในปัญหาว่า กุศลธรรมย่อมเกิดแก่บุคคลใด
อกุศลธรรมก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ? ก็หรือว่า อกุศลธรรม
ย่อมเกิดแก่บุคคลใด กุศลธรรมย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ?

ดังนี้.
ในปฏิโลมนัยก็ดี ในวาระทั้งหลายมีโอกาสวาระเป็นต้นก็ดี ก็
นัยนี้ บัณฑิตพึงทราบการนับยมก ด้วยอำนาจแห่งยมกทั้งหลาย 3 อย่าง
ในวาระทั้งปวง ในปวัตติวาระนี้อย่างนี้.
ก็ในการวินิจฉัยเนื้อความในปวัตติวาระพึงทราบลักษณะนี้ ดัง
ต่อไปนี้.
ในปวัตติวาระแห่งธรรมยมกนี้ คำว่า อุปฺปชฺชนติ - ย่อมเกิด
นิรุชฺฌนฺติ - ย่อมดับ
ในอุปปาทและนิโรธวาระเหล่านี้ ย่อมได้กุศล
ธรรมและอกุศลธรรมในปวัตติกาลเท่านั้นโดยแน่นอน ย่อมไม่ได้จุติ

และปฏิสนธิกาล แต่ว่าอัพยากตธรรมย่อมได้ในกาลทั้ง 3 คือ ปวัตติ
จุติ และปฏิสนธิ.
ลักษณะใดย่อมได้ในที่ใด ๆ พึงทราบคำวินิจฉัยของลักษณะนั้น
ในที่นั้น ๆ อย่างนี้.
พึงทราบนัยมุขในการวินิจฉัยนั้นดังนี้:- คำปฏิเสธว่า โน-
ไม่ใช่
พระองค์ทรงกระทำแล้วเพราะความไม่บังเกิดขึ้น ในขณะเดียว
กันของกุศลและอกุศล.
คำว่า อพฺยากโต จ ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งรูปที่มีจิตเป็น
สมุฏฐาน.
ปัญหาว่า กุศลธรรมย่อมไม่เกิดขึ้นในภูมิใด นี้ ท่านกล่าว
หมายเอาอสัญญีภพ เหตุนั้นในปัญหานี้ท่านจึงทำคำวิสัชนาว่า อามนฺตา
-ใช่
แม้ในคำว่า ย่อมเกิดขึ้น นี้ ท่านก็กล่าวหมายเอาอสัญญีภพ
นั่นแหละ แต่กระทำการห้ามว่า ไม่มี เพราะความไม่มีแห่งที่อันไม่
บังเกิดขึ้นแห่งอัพยากตธรรมทั้งหลาย หมายความว่า อัพยากตธรรม
เกิดได้ในทุกภูมิ.
คำว่า ทุติเย อกุสเล - ครั้นเมื่ออกุศลดวงที่สอง ได้แก่
ชวนะจิตดวงที่สองในนิกันติชวนะที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพราะยินดีซึ่งภพ.
คำว่า ทุติเจ จิตฺเต วตฺตมาเน - ครั้นเมื่อจิตดวงที่สอง
เป็นไปอยู่
ได้แก่ครั้นเมื่อภวังคจิตอันเป็นจิตดวงที่สอง แต่ปฏิสนธิจิต

เป็นไปอยู่ อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ทุติเย จิตฺเต วตฺตมาเน ได้แก่
ครั้นเมื่ออาวัชชนจิตในภวนิกันติชวนะ ได้แก่ เป็นไปอยู่ เพราะกระทำ
ซึ่งภวังค์กับปฏิสนธิให้เป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจของวิบากจิต จริงอยู่
อาวัชชนะจิตนั้นชื่อว่า ทุติยจิต - จิตดวงที่สอง นับแต่วิบากจิต
เพราะความที่แห่งอาวัชชนะจิตนั้น เป็นกิริยาจิตในอัพยากตชาติ หมาย
ความว่า อาวัชชนะจิตเป็นจิตคนละชาติกับวิบาก.
คำว่า ยสฺส จิตฺตสฺส อนนฺตรา อคฺคมคฺคํ ท่านกล่าว
หมายเอาโวทานจิต.
คำว่า กุสลา ธนฺมา อุปฺปชฺชิสฺสนฺติ ท่านกล่าวหมายเอา
ธรรมทั้งหลาย คือ มรรคอันเลิศเหล่านั้น.
ปัญหาว่า ยสฺส จิตฺตสฺส อนนฺตรา อคฺคมคฺคํ ปฏิลภิสฺ-
สนฺติ ตสฺส จิตฺตสฺส อุปฺปาทกฺขเณ
ท่านกล่าวด้วยอำนาจของ
การเกิดขึ้นแห่งโวทานจิตนี้ ก็ลักษณะนี้ย่อมได้แม้ในอุปปาทขณะแห่ง
โอริมจิต ได้แก่ จิตดวงก่อน แต่โวทานจิตนั้น อันเกิดขึ้นแล้วด้วย
อาวัชชนะจิตเดียวกันแห่งการเกิดของโวทานจิตนั้น.
แม้ในนิโรธวาระ ท่านกล่าวแล้วว่า โน - ไม่ใช่ เพราะความ
ที่กุศลและอกุศลไม่ดับพร้อมกัน พึงทราบคำวินิจฉัยในที่ทั้งปวงโดย
นัยมุขนี้ ด้วยประการฉะนี้.
อรรถกถาธรรมยมก จบบริบูรณ์