เมนู

อรรถกถาขันธยมก


วรรณนาอุทเทสวาระ


บัดนี้ เป็นการวรรณนา ขันธยมก ที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้ในลำดับต่อจาก มูลยมก เพราะทรงรวบรวมซึ่งธรรมทั้งหลาย
มีกุศลเป็นต้น อันพระองค์ทรงแสดงแล้วในมูลยมก ด้วยอำนาจแห่ง
ขันธ์ พึงทราบการกำหนดพระบาลีในขันธ์ยมกอย่างนี้ก่อน.
ใน ขันธยมก นี้ มี มหาวาระ 3 คือ ปัณณัตติวาระ
ปวัตติวาระ และปริญญาวาระ
.
ในมหาวาระทั้ง 3 นั้น ปัณณัตติวาระ ตรัสเรียกว่า ปัณ-
ปวัตติวาระ เพราะทรงกระทำด้วยอำนาจการชำระชื่อของขันธ์ทั้งหลาย.
ปวัตติวาระ ตรัสเรียกว่า ปวัตติวาระ เพราะทรงชำระความ
เป็นไปด้วยอำนาจการเกิดขึ้นและการดับไปของขันธ์ทั้งหลายที่พระองค์
ทรงชำระชื่อแล้ว.
ปริญญาวาระ ตรัสเรียกว่า ปริญญาวาระ เพราะทรงแสดง
ปริญญา 3 แห่ง ขันธ์ทั้งหลายอันเป็นไปแล้วตามลำดับ โดยสังเขป.
ในมหาวาระเหล่านั้น ปัณณัตติวาระ พระองค์ทรงกำหนดด้วย
อาการ 2 อย่าง ด้วยอำนาจอุทเทสและนิทเทส ในอุเทสและนิทเทส
แม้เหล่านี้ อุทเทสวาระไม่มีโดยแผนกหนึ่ง จำเดิมแต่ต้น พระองค์

ทรงกำหนดนิทเทสโดยส่วนเดียวด้วยอำนาจปุจฉาและวิสัชนา บัณฑิต
พึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัตติวาระตั้งแต่บทว่า ปญฺจกฺขนฺธา
เป็นต้น จนถึง นขนฺธา นสงฺขารา แม้คำว่า ปุจฉาวาระ นี้ ก็
เป็นชื่อของอุทเทส ในปัณณัตติวาระนั้น บทว่า ปญฺจกฺขนฺธา ดังนี้
ความว่า นี้เป็นอุทเทสของขันธ์ทั้งหลายที่พึงถามด้วยอำนาจของยมก.
พึงทราบการกำหนดชื่อของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น โดยประเภท
ว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณ-
ขันธ์
.
บัดนี้ นัยวาระ 4 คือ ปทโสธนวาระ, ปทโสธนมูลจักก-
วาระ, สุทธักขันธวาระ, สุทธักขันมูลจักกวาระ
ย่อมมีด้วยอำนาจ
ของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น.
ในนัยวาระเหล่านั้น วาระที่ทำการชำระบทโดยนัยเป็นต้นว่า
รูปํ รูปกฺขนฺโธ รูปกฺขนฺโธ รูปํ ดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่า ปทโส-
ธนวาระ
ในปทโสธนวาระนั้น มี 2 อย่าง ด้วยอำนาจอนุโลมและ
ปฏิโลม ในปทโสธนวาระนั้น ในอนุโลมวาระมี 5 ยมก คือ รูปํ
รูปกฺขนฺโธ รูปกฺขนฺโธ รูปํ
ดังนี้เป็นต้น ถึงในปฏิโลมก็มี 5 อย่าง
คือ นรูปํ นรูปกฺขนฺโธ นรูปกฺขนฺโธ นรูปํ ดังนี้เป็นต้น.
เบื้องหน้าแต่นี้ เป็นวาระที่ทรงผูกมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ แห่งขันธ์
ทั้งหลาย อันพระองค์ทรงชำระแล้วในปทโสธนวาระเหล่านั้นนั่นแหละ

ให้เป็นจักร โดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ รูปกฺขนฺโธ, ขนฺธา เวทนากฺ
ขนฺโธ
ดังนี้ ชื่อว่า ปทโสธนมูลจักกวาระ เพราะความที่แห่งจักร
ทั้งหลายอันเป็นมูลแห่งการชำระบทมีอยู่ แม้ในปทโสธนมูลจักกวาระ
นั้นก็มี 2 อย่าง ด้วยอำนาจอนุโลมปฏิโลม ในอนุโลมและปฏิโลม
เหล่านั้น ในอนุโลมวาระ มียมก 20 เพราะกระทำมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ
ให้เป็น 4 มี รูปํ รูปกฺขนฺโธ, ขนฺธา เวทนากฺขนฺโธ ดังนี้เป็นต้น
แม้ในปฏิโลมก็มี 20 เท่านั้น เพราะทำมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ ให้เป็น 4
มี นรูปํ นรูปกฺขนฺโธ, นขนฺธา นเวทนากฺขนฺโธ ดังนี้เป็นต้น.
เบื้องหน้าแต่นี้วาระที่ดำเนินไปแล้วด้วยอำนาจขันธ์ล้วน ๆ โดย
นัยเป็นต้นว่า รูปํ ขนฺโธ, ขนฺธา รูปํ ดังนี้ ชื่อ สุทธักขันธ-
วาระ
ในสุทธักขันธวาระนั้น ในปุจฉาว่า ขนฺธา รูปํ เป็นต้น พึง
ถือเอาเนื้อความว่า ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่ารูปขันธ์ ใช่ไหม ? ขันธ์
ทั้งหลาย ชื่อว่าเวทนาขันธ์ หรือ ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า
เพราะท่านจำแนกไว้ในนิทเทสวาระอย่างนี้.
ก็ใน นิทเทสวาระ นั้น ถามว่า รูป ชื่อว่า ขันธ์หรือ
ตอบว่า ใช่.
ถามว่า ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า รูปขันธ์หรือ ?
ตอบว่า รูปขันธ์ ชื่อว่า รูปด้วย ชื่อว่า รูปขันธ์ด้วย
ขันธ์ทั้งหลายที่เหลือไม่ชื่อว่ารูปขันธ์
ดังนี้ ท่านยกบทขึ้นจำแนก

เนื้อความโดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปขันธ์หรือ แห่งบท
ทั้งหลาย ว่าขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปหรือ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้
ก็ด้วยเหตุนั้น วาระนั้นท่านจึงเรียกว่า สุทธักขันธวาระ ในสุทธัก-
ขันธวาระนี้ คำว่า น ขนฺธา เป็นคำที่มีประมาณ เหมือนในการ
ชำระคำ ก็สุทธักขันธวาระย่อมได้โดยประการใด ๆ เนื้อความเทียว
เป็นประมาณ ย่อมได้โดยประการนั้น ๆ แม้ในอายตนยมกเป็นต้น
ข้างหน้าก็มีนัยนี้เหมือนกัน ก็ในสุทธักขันธวาระมี 2 อย่าง ด้วย
อำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในอนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น ในอนุโลม
วาระมียมก 5 อย่าง คือ รูปํ ขนฺโธ, ขนฺธา รปํ เป็นต้น แม้
ในปฏิโลมวาระก็มียมก 5 อย่าง คือ นรูปํ นขนฺโธ, นขนฺธา
นรปํ
ดังนี้เป็นต้น
เบื้องหน้าแต่นั้นท่านกระทำการผูกมูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ แห่งสุท-
ธักขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ ขนฺโธ ขนธา เวทานา
ให้เป็น 4 ชื่อ สุทธักขันธมูลจักกวาระ เพราะความที่จักรมี
สุทธักขันธ์เป็นมูลมีอยู่ ในสุทธักขันธมูลจักกวาระนั้น พึงทราบ
เนื้อความ โดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า เวทนาขันธ์หรือ
แห่งคำถามว่า ขนฺธา เวทนา
เป็นต้น
โดยประการนอกนี้ จึงมีความผิดกันกับนิทเทสวาระ แม้สุทธัก-
ขันธมูลจักกวาระนั้นก็มี 2 อย่าง ด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม ใน

อนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น ในอนุโลมวาระมียมก 20 เพราะกระทำ
มูลแห่งขันธ์หนึ่ง ๆ ให้เป็นจักร 4 มีบทเป็นต้นว่า รูปํ ขนฺโธ, ขนฺธา
เวทนา
ดังนี้ แม้ในปฏิโลมวาระก็มี 20 เหมือนกัน เพราะกระทำมูล
แห่งขันธ์หนึ่ง ๆ ให้เป็น 4 มีบทเป็นต้นว่า นรูปํ นขนฺโธ, นขนฺธา
นเวทนา
ดังนี้ พึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัตติวาระ อันประดับ
แล้วด้วยยมก 100 ด้วยคำถาม 200 และด้วยอรรถ 400 เพราะกระทำ
อรรถทั้งหลายให้เป็นสอง ด้วยอำนาจสันนิฏฐานและสังสยะ เพื่อการ
ถามในนัยหนึ่ง ๆ อย่างนี้ก่อน ด้วยประการฉะนี้.
วรรณนาอุทเทสวาระ จบ.

นิทเทสวาระ


ปทโสธนวาระ อนุโลม


[ 32] ธรรมที่ชื่อว่ารูป ชื่อว่ารูปขันธ์ ใช่ไหม ?
ปิยรูป สาตรูป ชื่อว่า รูป แต่ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์, รูปขันธ์
ชื่อว่ารูปด้วย ชื่อว่ารูปขันธ์ด้วย.
ธรรมที่ชื่อว่ารูปขันธ์ ชื่อว่ารูป ใช่ไหม ?
ใช่.
[33] ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ใช่ไหม ?
ใช่.
ธรรมที่ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ชื่อว่าเวทนา ใช่ไหม ?
ใช่.
[34] ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ใช่ไหม ?
ทิฏฐิสัญญาชื่อว่าสัญญา แต่ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์ สัญญาขันธ์
ชื่อว่าสัญญาด้วย ชื่อว่าสัญญาขันธ์ด้วย.
ธรรมที่ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ชื่อว่าสัญญา ใช่ไหม ?
ใช่.
[35] ธรรมที่ชื่อว่าสังขาร ชื่อว่าสังขารขันธ์ ใช่ไหม ?
ยกเว้นสังขารเสียแล้ว สังขารที่เหลือนอกนั้น ชื่อว่าสังขาร แต่