เมนู

อรรถกถาธาตุยมก


บัดนี้ เป็นการวรรณนาธาตุยมก ที่ท่านรวบรวมแสดงไว้แล้วใน
ลำดับอายตนยมกด้วยอำนาจธาตุ ในธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ท่านแสดง
ไว้แล้วในมูลยมกเหล่านั้นนั่นแหละ. พึงทราบการกำหนดพระบาลีตาม
นัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอายตนยมกนั้นนั่นเทียว. ก็ในธาตุยมกแม้นี้
มหาวาระ 3 มีปัณณัตติวาระเป็นต้น และอันตรวาระที่เหลือ กับประ-
เภททั้งหลาย มีประเภทแห่งกาลเป็นต้น ย่อมเป็นเช่นเดียวกันกับที่มา
แล้วในอายตนยมกนั่นเทียว. อีกอย่างหนึ่ง ในธาตุยมกนี้ ท่านกล่าว
รูปธาตุภายในและภายนอกเทียว แล้วจึงกล่าววิญญาณตามลำดับ
เพื่อง่ายแก่การถามยมก. ก็ยมกที่มากกว่าอายตนยมก การถามที่ทวีคูณ
ด้วยยมก และอรรถที่ทวีคูณด้วยการถาม ย่อมมีในธาตุยมกนี้ เพราะ
ธาตุทั้งหลายมีมาก. การวินิจฉัย อรรถกถาแห่งยมกทั้งหลายที่ได้อยู่ใน
ยมกทั้งหลาย มีจักขุธาตุมูลกั้นเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าว
แล้วในอายตนยมกนั่นเทียว. ก็คติแห่งอรรถในธาตุยมกนี้ ย่อมเป็น
เช่นเดียวกันกับด้วยอายตนะนั้นนั่นเทียว. อนึ่ง แม้พระบาลีท่านก็ย่อ
ไว้แล้ว เพราะเหตุนั้นนั่นเทียว. ปริญญาวาระพึงทราบว่า เป็นวาระ
ตามปกตินั่นเทียว ดังนี้.
อรรถกถาธาตุยมก จบ

สัจจยมกที่ 5


ปัณณัตติวาระ


สัจจะ 4 คือ :-
1. ทุกขสัจจะ
2. สมุทยสัจจะ
3. นิโรธสัจจะ
4. มัคคสัจจะ

อุทเทสวาระ


ปทโสธนวาระ อนุโลม


[817] ธรรมที่ชื่อว่าทุกข์ ชื่อว่าทุกขสัจจะ ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่าทุกขสัจจะ, ชื่อว่าทุกข์ ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่าสมุทัย, ชื่อว่าสมุทยสัจจะ ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่าสมุทยสัจจะ, ชื่อว่าสมุทัย ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่านิโรธ, ชื่อว่านิโรธสัจจะ ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่านิโรธสัจจะ, ชื่อว่านิโรธ ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่ามรรค, ชื่อว่ามัคคสัจจะ ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่ามัคคสัจจะ, ชื่อว่ามรรค ใช่ไหม ?
ปทโสธนวาระ อนุโลม จบ