เมนู

อรรถกถามูลยมกะ


นิทเทสวาระ


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรงเริ่มนิทเทสวาระโดยนัยเป็นต้นว่า
เยเกจิ กุสลา ธมฺมา = ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศล (มีอยู่).
ในคำเหล่านั้น คำว่า เยเกจิ = เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นคำที่-
แสดงถึงกุศลทั้งหมดโดยไม่มีส่วนเหลือ.
สองบทว่า กุสลา ธมฺมา ได้แก่สภาวะธรรมที่เป็นกุศล ไม่มี
โทษ มีผลเป็นความสุข อันเป็นลักษณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
แล้วในบทภาชนะแห่งกุศลติกะ.
หลายบทว่า สพฺเพ เต กุสลมูลา = ธรรมเหล่านั้นทั้งปวง
เป็นกุศลมูลหรือ
ได้แก่ย่อมถามว่า ธรรมทั้งปวงนั่นแหละเป็นกุศลมูล
ใช่ไหม ?
สองบทว่า ตีเณว กุสลมูลานิ = สามเท่านั้นชื่อว่ากุศลมูล
ได้แก่ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดไม่ชื่อว่า กุศลมูล อธิบายว่า มูล 3 มีอโลภะ
เป็นต้นเท่านั้น ชื่อว่ากุศลมูล.
หลายบทว่า อวเสสา กุสลา ธมฺมา น กุสลมูลา = ธรรม ท.
ที่เหลือชื่อว่ากุศล แต่ไม่ชื่อว่ากุศลมูล
ได้แก่ กุศลธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือมีผัสสะเป็นต้น ไม่ชื่อว่ากุศลมูล อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า กุศล
ทั้งหลายที่เหลือมีผัสสะเป็นต้น ชื่อว่ากุศลธรรมเท่านั้นไม่ชื่อว่ากุศลมูล.

หลายบทว่า เยวาปน กุสลมูลา = ก็หรือว่ากุศลมูลเหล่าใด
ได้แก่มูล 3 มีอโลภะเป็นต้น ท่านถือเอาแล้วว่า ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด
เป็นกุศลมูล ด้วยบทที่สองแห่งปุจฉาแรก.
หลายบทว่า สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา = ธรรมเหล่านั้นทั้งปวง
เป็นกุศลหรือ
ได้แก่ย่อมถามว่า ธรรมทั้งหลายแม้ 3 ทั้งหมดเหล่านั้น
เป็นกุศลหรือ คำว่า อามนฺตา=ใช่ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
เพื่อจะทรงรับรองความที่แห่งกุศลมูลทั้งหลายแม้ทั้งหมดเป็นกุศล นี้เป็น
เนื้อความของมูลยมกในมูลนัย พึงทราบนัยแห่งการวิสัชนา ในปุจฉา
ทั้งปวงโดยอุบายนี้.
ความแปลกกันอันใด มีอยู่ในที่ใด ข้าพเจ้า ( พระพุทธโฆษา-
จารย์) จักพรรณนาความแปลกกันนั้น ในที่นั้นต่อไป กล่าวคือใน
เอกมูลยมก กุศลทั้งหลายบัณฑิตไม่ควรถือเอากุศลที่มีมูลอันหนึ่งด้วย
อรรถแห่ การนับ แต่ควรถือเอาด้วยอรรถแห่งการนับ แต่ควรถือเอา
ด้วยอรรถที่เสมอกันว่าธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับ
กุศลมูล อธิบายว่า ในเอกมูลยมกนี้ กุศลเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลที่เสมอ
กันกับกุศลมูล มูลใดเป็นมูลของผัสสะ มูลนั้นก็เป็นมูลของธรรม
ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นนั่นแหละ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมียู่
พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงรับรองความที่กุศลเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น จึง
ตรัสคำว่า อามนฺตา = ใช่.

คำว่า กุสลสมุฏฺฐานํ ท่านแสดงรูปซึ่งมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน.
คำว่า เอกมูลํ ได้แก่มีมูลเสมอกันกับกุศลมูลมีอโลภะเป็นต้น
มูลทั้งหลายมีอโลภะเป็นต้น ชื่อว่า มูล เพราะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่
ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นฉันใด มูลนั้นก็เป็นมูลแม้แก่สมุฏฐานรูป
ฉันนั้น แต่สมุฏฐานรูปนั้นไม่ใช่กุศล เพราะความไม่มีลักษณะแห่ง
กุศล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสถามในยมกอื่น ๆ ว่า เยเกจิ กุสลา =
ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นกุศล ( มีอยู่ )
แต่ตรัสถามว่า เยเกจิ
กุสลมูเลน เอกมูลา = ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีมูลเป็นอันเดียวกัน
กับกุศล ( มีอยู่ ).

ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะเนื้อความนั้นนั่นแหละ
มีอยู่พร้อมโดยพยัญชนะแม้นั้น คำว่า กุสลมูลานิ นี้เป็นวิเสสนะ
ของคำก่อน จริงอยู่พระองค์ตรัสว่า มูลเหล่าใด ย่อมเกิดขึ้นโดย
ความเป็นอันเดียวกัน
ก็มูลเหล่านั้นเป็นกุศลมูลบ้างเป็นอกุศลมูลบ้าง
เป็นอัพยากตมูลบ้าง คำนี้ท่านกล่าวไว้ เพื่อแสดงความวิเศษของคำว่า
กุสลมูลานิ.
คำว่า อญฺญมญฺญมูลานิ จ = เป็นมูลซึ่งกันและกันด้วย
อธิบายว่า มูลทั้งหลายย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัย กะกันและกันโดยเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ในปฏิโลมปุจฉา ไม่ตรัสว่า สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลมูเลน

เอกมูลา = ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล
แต่ตรัสว่า สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา = ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็น
กุศล
ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะไม่มีเนื้อความแปลกกันก็เมื่อ
จะทำการปุจฉาว่า กุสลมูเลน เอกมูลา = มีมูลเป็นอันเดียวกันกับ
กุศลมูลหรือ
ดังนี้ พึงทำการสัชชนาตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังว่า
มูลานิ ยานิ เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ = มูลทั้งหลายเหล่าใดเกิดขึ้น
คราวเดียวกัน
ก็เมื่อความแปลกกันแห่งเนื้อความไม่มีอยู่ เหตุนั้น
พระองค์จึงไม่ทรงกระทำการถามอย่างนั้น แต่ทรงกระทำการถามอย่างนี้
แม้ในมูลนัย เป็นต้น ในอัญญมัญญมูลยมก ก็พึงทราบคำถามที่แปลกกัน
โดยอุบายนี้.
ใน มูลมูลนัย คำว่า สพฺเพ เต กุสลมูลมูลา = ธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้นมีมูลที่เป็นกุศลมูล
ได้แก่ ย่อมถามว่า ธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่ามูล กล่าวคือกุศลมูลหรือ
คำว่า เอก-
มูลมูลา มีมูลที่เรียกว่ามูลอันเดียวกัน
ดังนี้ อธิบายว่า มูลที่เป็น
มูลอันเดียวกันกับกุศลมีอยู่ เหตุนั้น มูลนั้นจึงชื่อว่า เป็นมูลที่เรียก
ว่ามูลอันเดียวกัน
เพราะอรรถว่าเสมอกัน.
บทว่า อญฺญมญฺญมูลมูลา = มีมูลที่เป็นมูลซึ่งกันและกัน
ดังนี้ ได้แก่มูลแก่กันและกัน ชื่อว่า- อัญญมัญญมูล คือว่า อัญญ-

มัญญมูล ชื่อว่า มูลของธรรมเหล่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเป็น
ปัจจัย เหตุนั้น มูลนั้นจึงชื่อว่า อัญญมัญญมูลมูล.
ใน มูลกนัย บทว่า กุสลมูลกา ดังนี้ อธิบายว่า มูลที่
เป็นกุศลของธรรมเหล่านั้นมีอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เหตุนั้นธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มีมูลที่เป็นกุศล.
ใน มูลมูลกนัย บทว่า กุสลมูลมูลกา ดังนี้ อธิบายว่า
มูลของกุศลเหล่านั้นเป็นกุศลมูล คือ มูลที่เป็นกุศลมูลของกุศลเหล่านั้น
มีอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเป็นปัจจัย เหตุนั้นกุศลเหล่านั้น จึงชื่อว่า
มีมูลที่เรียกว่ากุศลมูล นี้เป็นเนื้อความพิเศษในนัยยมกปุจฉาเป็นต้น
เพราะอาศัยกุศลบท เพียงเท่านี้ แม้ในบททั้งหลายมีอกุศลบทเป็นต้น
ก็นัยนี้ ส่วนความพิเศษมีดังนี้.
สองบทว่า อเหตุกํ อกุสลํ ตรัสหมายเอาโมหะที่สัมปยุตด้วย
วิจิกิจฉาและอุทธัจจะ สองบทว่า อเหตุกํ อพฺยากตํ ได้แก่ธรรมที่เหลือ
เว้นสเหตุกะและอัพยากตสมุฏฐานรูป ย่อมได้ในที่นี้ว่า จิตตุปปาท 18,
รูป และนิพพาน ชื่อว่าไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล สเหตุกะ
และอัพยากตสมุฏฐานรูป มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอัพยากตมูล ท่านทำ
อัพยากตะนั้นให้เป็นอัพโพหาริก คือสิ่งที่กล่าวอ้างไม่ได้ หรือไม่มี
โวหารแล้ว จึงกระทำการวิสัชนาด้วยอำนาจของอัพยากตมูลที่ได้อยู่โดย
ความเป็นอันเดียวกัน.

ธรรมทั้งหลายกล่าวคือ นาม ชื่อว่า นามา ธมฺมา นาม
เหล่านั้น ว่าโดยอรรถได้แก่ อรูปขันธ์ 4 และนิพพาน สองบทว่า
นเวว นามมูลานิ = 9 เท่านั้น ชื่อว่า นามมูล ได้แก่มูล 9 อย่าง
ด้วยอำนาจของกุศล อกุศล และอัพยากตมูลนามที่เป็นอเหตุกะ ไม่มี
มูลอันเดียวกันกับนามมูล เพราะฉะนั้นนามนั้นจึงชื่อว่าไม่มีเหตุนาม
แม้ทั้งหมด คือ จิตตุปปาท 18 โมหะที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ
และนิพพาน ไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล ก็อเหตุกนามนั้น ย่อม
ไม่เกิดพร้อมกับนามมูล อธิบายว่า สเหตุกนาม ย่อมเกิดขึ้น พร้อมกัน
กับนามมูล แม้ในบททั้งหลายว่า สเหตุกํ นามํ นามมูเลน คำที่
เหลือในที่ทั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.
แม้ในวาระทั้งหลาย มี เหตุวาระ เป็นต้น พึงทราบเนื้อความ
โดยอุบายนี้ คาถาว่า มูลํ เหตุ นิทานํ จ ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสแล้วด้วยอำนาจแห่งอุทานของวาระทั้ง 10 ตามที่ข้าพเจ้าชี้แจงมา
แล้ว ดังนี้แล.
อรรถกถามูลยมกะ จบ

ขันธยมกที่ 2


ปัณณัตติวารุทเทส


[23] ขันธ์ 5 คือ :-
1. รูปขันธ์
2. เวทนาขันธ์
3. สัญญาขันธ์
4. สังขารขันธ์
5. วิญญาณขันธ์.

อุทเทสวาระ


ปทโสธนวาระ อนุโลม


[ 24 ] ธรรมที่ชื่อว่ารูป ชื่อว่ารูปขันธ์ ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่ารูปขันธ์, ชื่อว่ารูป ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา. ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่าเวทนาขันธ์, ชื่อว่าเวทนา ใช่ไหม ?