เมนู

อรรถกถาขันธยมก


อรรถกถาปวัตติวาระ


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มปวัตติวาระโดยนัยเป็นต้นว่า
ยสฺส รูปกฺขนฺโธ ถามว่า เพราะเหตุไรพระองค์จึงไม่ตรัสอุทเธสวาระ
ไว้ในปวัตติวาระนี้ ตอบว่า เพราะเป็นนัยที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง
ก็นัยในอุทเทสวาระพระองค์ทรงแสดงไว้แล้วในปัณณัตติวาระ ก็โดย
นัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสอุทเทสวาระนั้น ทรงเริ่มนิทเทส
วาระเลยทีเดียว เพราะแม้ไม่ตรัสอุทเทสวาระไว้ในปัณณัตติวาระนี้
ใคร ๆ ก็อาจทราบได้.
ก็อันตรวาระ 3 คือ อุปาทวาระ นิโรธวาระ อุปาทนิโรธ
วาระ ย่อมมีในมหาวาระ กล่าวาคือ ปวัตติวาระนี้.

ในวาระทั้ง 3 นั้น วาระที่ 1 เรียกว่า อุปาทวาระ เพราะ
แสดงลักษณะแห่งการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลาย.
วาระที่ 2 เรียกว่า นิโรธวาระ เพราะแสดงลักษณะแห่งการ
ดับของธรรมทั้งหลายเหล่านี้นั้นนั้นแหละ.
วาระที่ 3 เรียกว่า อุปาทนิโรธวาระ เพราะแสดงลักษณะ
แม้ทั้งสอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการแห่งการเกิดขึ้นของธรรม
ทั้งหลายในปวัตติวาระนี้ด้วยอุปาทวาระ, ทรงแสดงความไม่เที่ยงของ
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั้นเองด้วยนิโรธวาระว่า " ชื่อว่า การเกิดขึ้น

แล้ว ชื่อว่า เที่ยงย่อมไม่มี " ทรงแสดงความเกิดขึ้นและความไม่เที่ยง
ทั้งสองนั้นด้วยอุปาทนิโรธวาระ.
ในอุปาทวาระนั้น มีประเภทแห่งกาล 6 อย่าง ด้วยอำนาจ
อัทธา 3 คือปัจจุบัน อดีต อนาคต ปัจจุบันกับอดีต ปัจจุบันอนาคต
อดีตกับอนาคต.
ในกาลเหล่านั้น คำว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ รูปขันธ์
กำลังเกิด ( ย่อมเกิด ) แก่บุคคลใด
พึงทราบว่าเป็น ปัจจุบัน
ด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นปัจจุบัน ก็ปัจจุบันนั้นพระองค์ตรัสไว้ก่อนว่า
"ปัจจุบันนั้นเป็นธรรมชาติที่บุคคลพึงรู้ด้วยดีเกินเปรียบ" เพราะความ
ที่ธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน บุคคลพึงถือเอาได้โดยประจักษ์.
อดีตกาล พึงทราบด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นอดีตว่า ยสฺส
รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ = รูปขันธ์เคยเกิด ( เกิดแล้ว ) แก่บุคคล
ใด
ก็อดีตกาลนั้นท่านกล่าวไว้เป็นที่สองเพราะอดีตธรรมที่เคยเกิดขึ้น
แล้วในภายหลัง เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้งโดยประจักษ์ดีกว่าอนาคต
ที่บุคคลพึงรู้แจ้งโดยอนุมาน.
พึงทราบ อนาคตกาล ด้วยอำนาจแห่งชื่อที่เป็นอนาคตว่า
ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิสฺสติ = รูปขันธ์จักเกิดแก่บุคคลใด
อนาคตกาลนั้นกล่าวไว้เป็นที่ 3 เพราะถือเอาว่าธรรมทั้งหลายมีอย่างนี้
เป็นรูปจักเกิดขึ้น แม้ในอนาคตด้วยอำนาจธรรมที่เคยเกิดขึ้นแล้วโดย
ประจักษ์ และด้วยธรรมที่ถือเอาแล้วโดยอนุมาน.

คำถามว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ
อุปฺปชฺชิตฺถ
พึงทราบว่าเป็นปัจจุบันกับอดีต ด้วยอำนาจชื่อที่เป็น
ปัจจุบันกับชื่อที่เป็นอดีต ปัจจุบันกับอดีต ( ปัจจุปันนาตีตวาระ ) นั้น
กล่าวไว้เป็นที่ 4 เพราะปัจจุบันและอดีตบุคคลพึงรู้แจ้งได้ง่ายกว่ากาล
ทั้ง 3 ที่เจือปนกัน.
พึงทราบปัจจุบันกับอนาคต ด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นปัจจุบันกับ
ชื่อที่เป็นอนาคตว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ
อุปฺปชฺชสฺสติ
ปัจจุบันกับอนาคตนั้น กล่าวไว้เป็นที่ 5 เพราะว่า
ปัจจุบันกับอนาคตนั้น เป็นกาลที่บุคคลพึงรู้ได้ง่ายกว่าโดยเนื้อความ
เพราะธรรมทั้งหลายที่พึงถือเอาโดยประจักษ์มีอยู่.
พึงทราบอดีตกับอนาคต ด้วยชื่อที่เป็นอนาคตกับด้วยอดีตว่า
ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิสฺสติ
อดีตกับอนาคตนั้น พึงรู้ได้ยากกว่ากาลทั้งหลายก่อน ๆ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับที่ 6.
ในกาลทั้ง 6 นั้น ปัจจุบันกาลอันเป็นกาลที่หนึ่ง มี 3 วาระ
คือ โดยบุคคล โดยโอกาส โดยบุคคลและโอกาส (ปุคคลวาระ,
โอกาสวาระ และปุคคโลกาสวาระ).
ในวาระทั้ง 3 นั้น การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วย
อำนาจบุคคลด้วยคำว่า ยสฺส ชื่อว่า ปุคคลวาระ.

การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจโอกาส ด้วย
คำว่า ยตฺถ ชื่อว่า โอกาสวาระ.
การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจบุคคลและ
โอกาส ด้วยคำว่า ยสฺส ยตฺถ ชื่อว่า ปุคคโลกาสวาระ.
วาระทั้ง 3 เหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงอนุโลมนัยก่อน แล้วจึง
แสดงปฏิโลมนัยภายหลัง ในอนุโลมนัยและปฏิโลมนัย การแสดงการ
เกิดขึ้นด้วยคำว่า อุปฺปชฺชติ=ย่อมเกิด (กำลังเกิด) อุปฺปชฺชิตฺถ=
เกิดแล้ว (เคยเกิด) อุปฺปชฺชิสฺสติ=จักเกิด
ชื่อว่า อนุโลมนัย
การแสดงการไม่เกิดขึ้นด้วยคำว่า นุปฺปชฺชติ=ไม่ใช่ย่อมเกิด ( หรือ
ไม่ใช่กำลังเกิด ) นุปฺปชฺชิตฺถ ไม่ใช่เกิดแล้ว ( ไม่เคยเกิด )
นุปฺปชฺชิสฺสติ=ไม่ใช่จักเกิด
ชื่อว่า ปฏิโลมนัย.
ในอนุโลมนัยแห่งบุคคลวาระ ในปัจจุบันกาลนั้น มียมก 10 อย่าง
เพราะนับแล้วไม่นับอีก ( คือนับเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน ) คือ ยมก 4
อย่างที่มีรูปขันธ์เป็นมูลอย่างนี้ว่า.
ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ,
ยสฺส วา ปน เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส รูปกฺขนฺโธ อุป-
ปชฺชติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันข์ที่ย่อมเกิดแก่
บุคคลนั้นหรือ, ก็หรือว่า เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด รูป-
ขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.

ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺ-
ปชฺชติ, ยสฺส วา ปน สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส
รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด สัญญาขันธ์
ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ, ก็หรือว่า สัญญาขันธ์ย่อมเกิดแก่
บุคคลใด รูปขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.

ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สงฺขารกฺขนฺโธ
อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน สงฺขารกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส
รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ =รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด สังขารขันธ์
ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ, ก็หรือว่า สังขารขันธ์ย่อมเกิดแก่
บุคคลใด รูปขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.

ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส วิญฺญาณกฺขนฺโธ
อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน วิญฺญาณกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส
รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ= รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด วิญญาณ
ขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ, ก็หรือว่า วิญญาณขันธ์ย่อม
เกิดแก่บุคคลใด รูปขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.

ยมก 3 อย่าง ที่มีเวทนาขันธ์เป็นมูล ด้วยนัยเป็นต้นว่า ยสฺส
เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ

ยมก 2 อย่างที่มีสัญญาขันธ์เป็นมูลยมก 1 อย่างที่มีสังขารขันธ์เป็นมูล.
ในยมกทั้ง 10 อย่างนั้น ในยมก 4 อย่างที่มีรูปขันธ์เป็นมูล
พระองค์ทรงวิสัชนายมกต้นอย่างเดียวเท่านั้น ยมกที่เหลือ ( อีก 3 )

มีการวิสัชนาเช่นกับยมกต้นนั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ทรงย่อไว้ เพื่อความง่ายแห่งภาษาที่เป็นแบบแผน แม้ในมูลทั้งหลาย
มีเวทนาขันธ์เป็นมูลเป็นต้น การวิสัชนาเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยคำว่า
อามนฺตา =ใช่ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
วิสัชนายมก 10 อย่างแล้ว ด้วยการวิสัชนายมกหนึ่ง ๆ ในอนุโลมนัย
ในบุคลวาระ ในปัจจุบันกาล เหล่านี้อย่างนี้ว่า ยมกเหล่านั้นทรง
ย่อไว้เพื่อความง่ายแห่งภาษาที่เป็นแบบแผน.
ในอนุโลมนัย ในวาระทั้ง 3 ในปัจจุบันกาล มียมก 30 อย่าง
คือ ในบุคคลวาระมี 10 อย่าง ในโอกาสวาระ 10 อย่าง ในปุคค-
โลกาสวาระ 10 อย่าง ฉันใด แม้ในปฏิโลมนัยก็มี 30 ฉันนั้น จึง
รวมเป็นยมกะ 60 อย่าง ในปัจจุบันกาลทั้งหมด.
ในยมกะ 60 อย่างนั้น พึงทราบว่า มีปุจฉา 120 มีอรรถ 240.
วาระทั้ง 6 พึงทราบว่า มียมกะ 60 เพราะกระทำให้เป็น 10
ในวาระหนึ่ง ๆ รวมกับยมกะ 300 ในก่อน จึงเป็นยมกะ 360 ปุจฉา
720 อรรถ 1,440 นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในอุปปาทวาระก่อน
ก็ในอุปปาทะวาระฉันใด พึงทราบว่าแม้ในนิโรธวาระ แม้ในอุปปาท-
นิโรธวาระก็อย่างนั้น ในปวัตติมหาวาระ แม้ทั้งหมดจึงมียมกะ 1,080
ปุจฉา 2,160 อรรถ 4,320.
แต่พระบาลีในอุปปาทวาระและนิโรธวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงวิสัชนาย่อไว้แล้วซึ่งยมกหนึ่ง ๆ เท่านั้น ในวาระนั้น ๆ ในประเภท

แห่งกาลที่ไม่ปะปนกัน 3 อย่าง ในประเภทแห่งกาลที่ปะปนกัน 3 อย่าง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนายมกอย่างหนึ่ง แม้ในมูลที่มีเวทนาขันธ์
เป็นมูลเป็นต้น โดยเป็นต้นว่า ยสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ
ตสฺส สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ=เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคล
ใด สัญญาขันธ์เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ?
ก็ในอุปปาทะนิโรธ
วาระพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงวิสัชนายมกแม้นั้นไว้ในประเภทแห่งกาล
แม้ทั้ง 6 พึงทราบว่ายมกที่เหลือทรงย่อไว้ เพราะยมกเหล่านั้นพระองค์
ทรงวิสัชนาให้เสมอกันกับยมกนั้น นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในปวัตติ
มหาวาระแม้ทั้งสิ้น.
ก็เพื่อวินิจฉัยเนื้อความแห่งขันธยมกนี้ พึงทราบลักษณะดังต่อ
ไปนี้ บัณฑิตพึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งปัญหา 4 อย่าง ใน
ปวัตติมหาวาระนี้ที่ท่านใส่ไว้ในคำวิสัชนา 5 อย่าง ในฐานะ 27 ใน
อรรถวินิจฉัยนั้น ชื่อปัญหา 4 อย่าง คือ ปุเรปัญหา ปัจฉาปัญหา
ปริปุณณปัญหา โมฆะปัญหา
ก็ยมกหนึ่ง ๆ มีปุจฉา 2 อย่าง (คือ
อนุโลมและปฏิโลม ) แม้ปุจฉาหนึ่ง ๆ ก็มีบท 2 อย่าง ( คือสันนิฏฐาน
และสังสยะ ).
ในปัญหา 4 อย่างนั้น ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใด ย่อมได้การ
เกิดขึ้นหรือการดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาด้วยบทเพียงบทเดียว ปัญหานี้
ชื่อว่า ปุเรปัญหา.

ก็ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใด ย่อมได้การเกิดขึ้นหรือความดับไป
แห่งขันธ์ที่ถือเอาด้วยบทแม้ทั้งสอง ปัญหานี้ชื่อว่า ปัจฉาปัญหา.
ก็ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใดย่อมได้การเกิดขึ้นหรือความดับไป
แห่งขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทเพียงบทเดียวบ้าง ด้วยบทแม้ทั้งสองบ้าง
ปัญหานี้ชื่อว่า ปริปุณณปัญหา แต่การห้ามหรือการปฏิเสธย่อมได้ใน
การวิสัชนาซึ่งปัญหาใด ปัญหานี้ชื่อว่า โมฆะปัญหา ก็เพราะโมฆะ
ปัญหานี้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงไว้ ใคร ๆ ก็ไม่อาจรู้ได้ ฉะนั้นจึง
จักแสดงปัญหานั้นไว้.
การเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์อันท่านถือเอาด้วยบทเพียงบทเดียว
ในการวิสัชนานี้ว่า อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด (กำลังเกิด) ในคำถามว่า
ยตฺถ รูปกฺขนฺโธ นุปฺชฺชติ ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ =
รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด เวทนาขันธ์ไม่ใช่กำลังในภูมิ
นั้นหรือ
เพราะเหตุนั้นปัญหานี้ด้วย ปัญหาอื่นที่มีรูปอย่างนี้ด้วย พึง
ทราบว่าเป็น ปุเรปัญหา.
การเกิดขึ้นแห่งรูปและเวทนาขันธ์ในอดีตของสัตว์ใดสัตว์หนึ่ง
ที่ถือด้วยบททั้งสองย่อมได้ในการวิสัชนานี้ว่า อามนฺตา =ใช่ ใน
ปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ
อุปฺปชฺชิตถ= รูปขันธ์เคยเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์เคยเกิด
แล้วแก่บุคคลนั้นหรือ ?
เพราะเหตุนั้นปัญหานี้และปัญหาอื่นที่มีรูป
อย่างนี้ ชื่อว่า ปัจฉาปัญหา.

ก็การเกิดขึ้นแม้ของรูปขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทเพียงบทเดียว
ย่อมได้ในปุริมโกฏฐาสะนี้ว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ
เตสํ รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ เวทนกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ=
เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ รูปขันธ์กำลังเกิด
แต่เวทนาขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น
ในการวิสัชนานี้
มีอาทิว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนตานํ, ในปัญหาแรกนี้ว่า ยสฺส
รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ =รูปขันธ์
กำลังเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ

ดังนี้ การเกิดขึ้นแม้ของรูปและเวทนาขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทแม้ทั้งสอง
ย่อมได้ในปัจฉิมโกฏสะนี้ว่า ปญฺจโวการํ อุปปชฺชติ เตสํ รูปกฺ-
ขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติ เวทนากฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติ=เมื่อบุคคลเหล่า-
นั้นกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ รูปขันธ์ก็กำลังเกิด เวทนาขันธ์ก็
กำลังเกิด
เพราะเหตุนั้น ปัญหานี้และปัญหาอื่นที่มีรูปอย่างนี้ พึง
ทราบว่าเป็น ปริปุณณปัญหา แม้คำว่า ปุเรปัจฉาปัญหา ก็เป็น
ชื่อของปริปุณณปัญหานั้นนั่นแหละ.
ก็ในการวิสัชนาปริปุณณปัญหานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์นั้นแหละที่สงเคราะห์ไว้ด้วยบทเดียวในปุริม-
โกฏฐาส ในทุติยโกฏฐาสการเกิดขึ้นและการดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาแล้ว
ด้วยบทบทเดียว ย่อมได้ในปัญหาใดด้วยนัยและลักษณะนี้แห่งรูปและ
เวทนาขันธ์ที่ถือเอาด้วยบททั้งสอง ปัญหานั้นเรียกว่า ปุเรปัญหา.

การเกิดขึ้นหรือการดับไปของขันธ์ทั้งหลายที่ถือเอาด้วยบททั้งสอง
ย่อมได้ในปัญหาใด ปัญหานั้นเรียกว่า ปัจฉาปัญหา.
ปฏิกเขปวิสัชนา ย่อมได้ในการวิสัชนานี้ ด้วยคำว่า นตฺถิ =
ไม่มี
ในปัญหานี้ว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชิตฺถ ตสฺส
เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชิตฺถ = รูปขันธ์ไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด
เวทนาขันธ์ก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ.

ปฏิเสธวิสัชนา ย่อมได้ในการวิสัชนานี้ด้วยคำว่า โน = ไม่ใช่
ในคำถามว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ
นิรุชฺฌติ = รูปขันธ์กำลังเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็กำลังดับ
แก่บุคคลนั้นหรือ
เหตุนั้น ปัญหานี้และปัญหาอื่นที่มีรูปอย่างนี้
รวม 2 อย่าง พึงทราบว่าเป็น โมฆะปัญหา แม้โมฆะปัญหานี้เรียกว่า
เฉทตุจฉปัญหา ก็ได้ พึงทราบปัญหาทั้ง 4 อย่าง อย่างนี้ก่อน.
ก็วิสัชนาเหล่านี้คือ ปาลิคติวิสัชนา ปฏิวจนวิสัชนา สรูป-
ทัสสนวิสัชนา ปฏิภเขปวิสัชนา ปฏิเสธวิสัชนา
ชื่อว่าวิสัชนา
5 อย่าง ในวิสัชนา 5 อย่างนั้น วิสัชนาใด เป็นบาลีบทเท่านั้น
อันท่านวิสัชนานั้นเนื้อความไว้ วิสัชนานี้ชื่อว่า ปาลิคติวิสัชนา
ปาลิคติวิสัชนานั้นย่อมได้ในปุเรปัญหา วิสัชนานี้ว่า อุปฺปชฺชติ=
กำลังเกิด
ในปัญหาว่า ยตฺถ รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ ตตฺถ เวทนา-
กฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ=รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด เวทนา-
ขันธ์ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นหรือ
เป็นเพียงบทแห่งพระบาลีที่

พระองค์วิสัชนาเนื้อความไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบการ
วิสัชนาด้วย ปาลิคติวิสัชนา ในฐานะเห็นปานนี้ อย่างนี้.
ก็วิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาเนื้อความโดยความเป็นคำตอบ วิสัชนา
นี้ชื่อว่า ปฏิวจนวิสัชนา ปฏิวจนวิสัชนานั้นย่อมได้ในปัจฉาปัญหา
ก็วิสัชนานี้ด้วยคำว่า อามนฺตา=ใช่ ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ
อุปฺปชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ=รูปขันธ์เคยเกิด
แก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ
ที่พระองค์
ทรงวิสัชนาเนื้อความไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยอำนาจความเป็นคำตอบนั่น
แหละ เพราะฉะนั้น พึงทราบ ปฏิวจนวิสัชนา ในฐานะเห็นปานนี้.
คำวิสัชนาใดที่ท่านแสดงเนื้อความไว้โดยสรูป วิสัชนานี้ชื่อว่า
สรูปทัสสนวิสัชนา สรูปทัสสนวิสัชนานี้ย่อมได้ในปริปุณณปัญหา.
ก็วิสัชนานี้ว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนนํ ในปัญหาว่า ยสฺส
รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ
อันพระองค์
ทรงวิสัชนาเนื้อความไว้เรียบร้อยแล้วด้วยการแสดงโดยรูปว่า รูปขันธ์
ย่อมเกิดแก่บุคคลเหล่านี้ แต่เวทนาขันธ์ไม่เกิด รูปขันธ์และเวทนา-
ขันธ์ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบ สรูปทัสสน-
วิสัชนา
ในที่ทั้งหลายเห็นปานนี้.
ก็คำวิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาปัญหาด้วยการห้ามเนื้อความ เพราะ
ความไม่มีเนื้อความเห็นปานนั้น คำวิสัชนานั้น ชื่อว่า ปฏิกเขปวิสัชนา.

วิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาปัญหาโดยปฏิเสธเนื้อความ เพราะความ
ไม่ได้ซึ่งเนื้อความเห็นปานนั้นในขณะหนึ่ง ๆ วิสัชนานี้ชื่อว่า ปฏิเสธ-
วิสัชนา
ปฏิเสธวิสัชนานั้น ย่อมได้ในโมฆะปัญหา.
จริงอยู่ คำวิสัชนานี้ว่า นตฺถิ = ไม่มี ในปัญหาว่า ยสฺส
รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชิตถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชิตฺถ =
รูปขันธ์ไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคล
นั้นหรือ
เป็นคำวิสัชนาที่ท่านวิสัชนาไว้เรียบร้อยแล้วโดยการห้ามเนื้อ
ความว่า ชื่อสัตว์เห็นปานนี้ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นพึงทราบการวิสัชนา
ในที่ทั้งปวงเห็นปานนี้ด้วย ปฏิกเขปวิสัชนา.
ก็คำวิสัชนานี้ว่า โน = ไม่ใช่ ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ
อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ นิรุชฺฌติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่
บุคคลใด เวทนาขันธ์ย่อมดับแก่บุคคลนั้นหรือ
อันท่านวิสัชนาไว้
เรียบร้อยแล้วโดยการปฏิเสธเนื้อความว่า ชื่อว่า การดับไปพร้อมกับ
การเกิดขึ้นย่อมไม่ได้ในปฏิสนธิขณะหนึ่ง ๆ.
บัดนี้พึงทราบปัญหา 4 อย่างและการวิสัชนา 5 อย่าง ที่ควร
ใส่ไว้ในฐานะ 27 เหล่าใด พึงทราบฐานะเหล่านั้นอย่างนี้ คือ อสญฺญ-
สตฺตํ อุปฺปชฺชนฺตานํ
เป็น 1 ฐานะ อสญฺญสตฺเต ตตฺถ 1 ฐานะ
อสญฺญตฺตานํ 1 ฐานะ อสญฺญสตฺตา จวนฺตานํ 1 ฐานะ อรูปํ
อุปปชฺชนฺตานํ
1 ฐาน อรูเป ตตฺถ 1 ฐานะ อรูปนํ 1 ฐานะ

อรูปา จวนฺตานํ 1 ฐานะ อรูเป ปจฺฉิมภวิกานํ 1 ฐานะ อรูเป
ปรินิพฺพายนฺตานํ (บาลีใช้ว่า ปรินิพฺพนฺตานํ )
1 ฐานะ เย จ
อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ
1 ฐานะ ปญฺจโวการํ อุปปชฺ-
ชนฺตานํ
1 ฐานะ ปญฺจโวกาเร ตตฺถ 1 ฐานะ ปญฺจโวการนํ 1
ฐานะ ปญฺจโวการา จวนฺตานํ 1 ฐานะ ปญฺจโวกาเร ปจฺฉิมภวิกานํ
1 ฐานะ สุทธาวาสํ อุปปชฺชนตานํ 1 ฐานะ สุทฺธาวาเส ตตฺถ
1 ฐานะ สุทธาวาสนํ 1 ฐานะ สุทธาวาเส ปรินิพฺพนฺตานํ 1 ฐานะ
สพฺเพสํ อุปปชฺชนฺตานํ 1 ฐานะ สพฺเพสํ จวนฺตานํ 1 ฐานะ
ปุจฺฉิมภวิกานํ ด้วยอำนาจที่สาธารณะแก่สัตว์ทั้งปวงอีก 1 ฐานะ ปริ-
นิพฺพายนฺตานํ (บาลีใช้ปรินิพิพนฺตานํ)
1 ฐานะ จตุโวการํ ปญฺจ-
โวการํ อุปปชฺชนฺตานํ
1 ฐานะ จตุโวการา ปญฺจโวการา จวนฺ-
ตานํ
1 ฐานะ บัณฑิตพึงใส่คำวิสัชนา 5 อย่างไว้ในฐานะ 27 อย่าง
เหล่านี้แล้ว พึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งปัญหา 4 อย่างในปวัต-
มหาวาระด้วยประการฉะนี้ ก็อรรถวินิจฉัยนั้น อันบัณฑิตทราบแล้ว
อย่างนี้ เมื่อวิสัชนาปัญหาย่อมเป็นอันวิสัชนาแล้วโดยง่าย และเมื่อ
วินิจฉัยซึ่งเนื้อความย่อมเป็นอันวินิจฉัยแล้วโดยง่าย.
นัยนี้ว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์ย่อมเกิด
แก่บุคคลใด
ได้แก่ย่อมถามว่า รูปขันธ์กำลังเกิดในอุปาทะขณะสมังคี
แก่บุคคลใด เวทนาก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ เพราะเหตุนี้แม้เวทนา

ขันธ์ก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นในขณะนั้นนั่นแหละ สองบทว่า อสญฺญ-
สตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ
= ได้แก่ เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในอสัญญ-
สัตตภพด้วยอำนาจปฏิสนธิที่ไม่ใช่จิต บทว่า เตสํ รูปกฺขนฺโธ อุปฺ-
ปชฺชติ
= ได้แก่รูปขันธ์กำลังเกิดเพียงอย่างเดียวแก่อสัญญสัตว์นั้น ก็
รูปขันธ์ของอสัญญสัตว์ผู้เกิดแล้วในปวัตติกาล ย่อมเกิดบ้าง ย่อมดับ
บ้าง เพราะเหตุนั้น จึงไม่ตรัสว่า อสญฺญสตฺตานํ =1 เกิดอยู่ใน
อสัญญสัตตภูมิ แต่ตรัสว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ = เกิดอยู่
คือกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ โน จ เตสํ เวทนากฺขนฺโธ อุปฺ-
ปชฺชติ = แต่เวทนาขันธ์ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลเหล่านั้น
ได้แก่
เวทนาขันธ์ของอสัญญสัตว์เหล่านั้นไม่ใช่กำลังเกิด เพราะความที่แห่ง
อสัญญสัตว์นั้นไม่มีจิต นี้เป็นการวิสัชนาโดยการแสดง โดยสรูปใน
ปุริมโกฏฐาสแห่งปริปุณณปัญหา ในฐานะที่ 1 ในบรรดาฐานะ 27
อย่าง.
สองบทว่า ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ = กำลังเกิดในปัญจ-
โวการภูมิ
ได้แก่ เข้าถึงอยู่ซึ่งปัญจโวการภพด้วยอำนาจแห่งการปฏิ-
สนธิที่เจือด้วยรูปและอรูป หลายบทว่า เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติ
เวทนากฺขนฺโธ จ อุปปชฺชติ = เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลเหล่า


1. คำว่า เกิดอยู่ หมายความทั้งกำลังเกิดและกำลังตาย คำว่า อสญฺญสตฺตานํ
ในยมกะนี้ จึงมีความหมายว่า กำลังเกิด-กำลังตาย

นั้น ได้แก่ ขันธ์แม้สอง กล่าวคือ รูปและเวทนา ย่อมเกิดขึ้นนั่น
เที่ยวแก่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงซึ่งปัญจโวการภพเหล่านั้นโดยแน่นอน แต่
ว่าในปวัตติกาล ขันธ์ 2 เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นบ้าง ย่อมดับบ้างแก่
สัตว์ผู้เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ปุญฺจ-
โวการานํ =เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ
แต่ตรัสว่า ปญฺจโวการํ อุปฺ-
ปชฺชนฺตานํ = กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ
นี้เป็นการวิสัชนาด้วย
การแสดงโดยสรุป ในปัจฉิมโกฏฐาส แห่งปริปุณณปัญหา ในฐานะว่า
ปญฺจโวการํ อุปฺปชฺชนฺตานํ พึงทราบการวิสัชนาทั้งหมดโดยอุบายนี้
ก็นี้เป็นนิยมลักษณะในการเกิด และการดับนี้ ก็ในขันธยมกนี้แม้ทั้งสิ้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุปปาทวาระไว้ ด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้น
ในปฏิสนธิกาลนั้นเที่ยวว่า การไม่ลูบคลำ ( คือไม่ทรงแสดง ) ซึ่งการ
เกิดและการดับในปวัตติกาลว่า ก็ในขันธยมกนี้ แม้ทั้งสิ้น เมื่อสัตว์
ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในปัญจโวการภพนั้น ๆ เมื่อการเกิดขึ้นและการดับ
อันไม่มีที่สุดแห่งขันธ์ 5 แม้มีอยู่ในปวัตติกาลจนกระทั่งตาย การทำ
การแยกธรรมทั้งหลายที่เป็นไปโดยเร็ว เพื่อแสดงการเกิดและการดับ
ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย ดังนี้แล้วจึงทรงแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย
ในปฏิสนธิของสัตว์ผู้เกิดแล้วด้วยกรรมต่าง ๆ อันยังวิปากวัฏฏ์ใหม่ ๆ
ให้สำเร็จ เป็นการทำได้ง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิโรธวาระด้วย
อำนาจการดับในมรณะกาลว่า " ก็การแสดงการดับ ในกาลเป็นที่สิ้น
สุดลงแห่งวิปากวัฏฏ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการทำได้ง่าย" ก็ความไม่ลูบคลำ

การเกิดและการดับในปวัตติกาลนี้เป็นประมาณอย่างไรนั่นเหละคือ
พระบาลี
อนึ่ง พระบาลีว่า ปจฺฉิมภวิกานํ เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ
นุปฺปชฺชติ เวทนากฺขนฺโธ จ นุปฺปชฺชิสฺสติ = รูปขันธ์ก็ย่อมไม่
เกิด เวทนาขันธ์ก็จักไม่ดับแก่ปัจฉิมภวิกบุคคลเหล่านั้น นี้ เป็น
ประมาณยิ่ง ในวาระแห่งอนาคตกาลแห่งอุปปาทะวาระโดยพิเศษใน
พระบาลี เมื่อภาวะที่สมควรเพื่อการเกิดขึ้นแห่งรูปธรรมมและอรูปธรรม
ทั้งหลายในปวัตติกาลของปัจฉิมภวิกบุคคลแม้มีอยู่ การเกิดขึ้นนในปวัตติ-
กาลพึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอาโดยภาวะที่กล่าวแล้ว จึง
ทรงกระทำการสันนิษฐานว่า รูปกฺขนฺโธ จ นุปฺปชฺชชชิสฺสติ เวทนากฺ
ขนฺโธ จ นุปฺปชฺชิสฺสติ = รูปขันธ์ก็จักไม่เกิด เวทนาขันธ์ก็
จักไม่ดับ พระบาลีนี้ว่า สุทฺธาวาสปรินิพฺพนฺตานํ = กำลังปรินิพ-
พานนสุทธวาส ดังนี้ เป็นประมาณยิ่ง ในการไม่แตะต้องซึ่งความ
ดับในปวัตติกาล ก็คลองแห่งการนับซึ่งสัญญาขันธ์ทั้งหลายที่ดับไปแล้ว
เพราะเกิดขึ้นแล้วในปวัตติกาล จำเดิมแต่ปฏิสนธิกาล ที่ตั้งอยู่ในภังค-
ขณะ จุติจิตของปรินิพพันตบุคคลในสุทธาวาส ย่อมไม่มี ครั้นเมื่อ
เป็นอย่างนั้น พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอาความดับใน
ปวัตติกาลโดยภาวะที่กล่าวแล้ว จึงทรงกระทำการสันนิษฐานว่า เตสํ

ตตฺถ สญฺญากฺขนฺโธ น นิรุชฺฌิตฺถ = สัญญาขันธ์ไม่ดับแล้ว (คือ
ไม่เคยดับ ) แก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.

บัณฑิตครั้นทราบลักษณะที่แน่นอนในการเกิดขึ้นและดับไปนี้
แล้ว ควรถือเอาการเกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิกาล และการดับด้วยจุติกาล
เท่านั้น แล้วพึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งการวิสัชนาทั้งหลายที่มา
แล้วในฐานะทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้ แต่ว่าการวินิจฉัย
เนื้อความนั้นท่านไม่ทำให้พิสดารแล้วโดยลำดับแห่งการวิสัชนาว่า การ
วินิจฉัยเนื้อความนั้นใคร ๆ ก็อาจทราบได้โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในการ
วิสัชนาแรก หากว่าบุคคลใดไม่สามารถจะทราบการวินิจฉัยเนื้อความ
เหล่านั้น บุคคลนั้นพึงเข้าไปนั่งใกล้อาจารย์ ฟังด้วยดีแล้วพึงทราบ
ตามนัยที่อาจารย์ให้แล้วนี้ อย่างนี้.
ยมกทั้งหลายเหล่าใดในขันธ์ 5 ย่อมมี
ด้วยอำนาจแห่งอุปาทวาระ, นิโรธวาระ และ
อุปาทะและนิโรธะทั้งสองรวมกัน ด้วยอำนาจของ
อนุโลมนัยและปฏิโลมนัย พระชินเจ้าตรัสแล้วซึ่ง
ยมกะทั้งหลายเหล่านั้นในวาระทั้งหลายในปวัตติ-
กาล เพราะทรงแสดงแล้วซึ่งบุคคลวาระ, โอกาส-
วาระ, และปุคคโลกาสวาระ การกำหนดพระบาลี

เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดย
ลำดับ แม้การประกอบเนื้อความเพื่อการวินิจฉัย
ปัญหาและวิสัชนา พร้อมทั้งฐานะทั้งหลายแห่ง
การวิสัชนาอย่างใดอย่างหนึ่งโดยประการทั้งปวง
พระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว ทรงประกาศแล้วใน
ปัญหาหนึ่ง ๆ ลำดับการวิสัชนาปัญหาในปวัตติ-
มหาวาระนี้เป็นไปแล้วโดยพิสดาร เพราะฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า
เบื้องหน้าแต่นี้ไปใครหนอจะสามารถพรรณนาเนื้อ
ความนี้ได้.

อรรถกถาปวัตติวาระ จบ

ปริญญาวาระ


ปัจจุปปันนวาระ อนุโลม


รูปขันธมูล


รูปขันธมูละ เวทนาขันธมูลี :-


[273] บุคคลใดกำลังรู้แจ้งรูปขันธ์, บุคคลนั้นก็กำลังรู้แจ้ง
เวทนาขันธ์ ใช่ไหม ?
ใช่.
ก็หรือว่า บุคคลใดกำลังรู้แจ้งเวทนาขันธ์, บุคคลนั้นก็กำลัง
รู้แจ้งรูปขันธ์ ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ รูปขันธมูละ เวทนาขันธมูลี
รูปขันธมูล จบ
ปัจจุปปันนวาระ อนุโลม จบ