เมนู

อรรถกถาสัจยมก


การพรรณนาสัจจยมกที่ท่านรวบรวมแสดงไว้แล้วในลำดับธาตุ
ยมก ด้วยอำนาจสัจจะในธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ท่านแสดงไว้แล้วใน
มูลยมกเหล่านั้นนั้นเที่ยว ย่อมมีในบัดนี้. พึงทราบมหาวาระ 3 มี
ปัณณัตติวาระเป็นต้น และประเภทแห่งวาระที่เหลือมีอันตรวาระเป็นต้น
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว ในธาตุยมกแม้นั้น. แต่ในปัณณัตติวาระ
ในสัจจยมกนี้ ด้วยอำนาจสัจจะ 4 พึงทราบการนับยมกในวาระทั้งหลาย
4 เหล่านี้ คือปทโสธนวาระ ปทโสธนมูลจักกวาระ สุทธสัจจวาระ
สุทธสัจจมูลจักกวาระ. แต่ในปัณณัตติวารนิทเทส พึงทราบ
เตภูมิกธรรมที่หลุดพ้นดีแล้วจากทุกขเวทนาและตัณหา ด้วยคำว่า
อวเสสํ ทุกฺขสจฺจํ. ประเภทแห่งกามาวจรกุศลเป็นต้นที่ท่านแสดงไว้
แล้วในสัจจวิภังค์ว่า อวเสโส สมุทโย ดังนี้ ย่อมเป็นปัจจัยแห่ง
ทุกขสัจจะ. สองบทว่า อวเสโส นิโรโธ ได้แก่ ตทังคนิโรธ วิก-
ขัมภนนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธ และขณภังคนิโรธ.
สองบทว่า อวเสโส มคฺโค ความว่าก็มรรคมีองค์ 5 ย่อมมีในสมัย
นั้นแล. มรรคมีอาทิอย่างนี้ คือ อัฏฐังคิกมรรค มิจฉามรรค ชังฆมรรค
สกฏมรรค.
ก็ในปวัตติวาระ ในอนุโลมนัยแห่งปุคคลวาระ ในปัจจุบันกาลนี้
ทุกขสัจจมูล 3 สมุทยสัจจมูล 2 นิโรธสัจจมูล 1 รวมเป็นยมก 6

อย่าง ด้วยอำนาจพระบาลี เพราะถือเอาสัจจะที่ได้อยู่และไม่ได้อยู่ว่า
ทุกขสัจจะย่อมเกิดแก่สัตว์ใด สมุทยสัจจะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น ก็
หรือว่า สมุทยสัจจะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ใด ทุกขสัจจะย่อมเกิดขึ้นเก่
สัตว์นั้นดังนี้. ในสัจจะทั้งหลายเหล่านั้น เพราะความเกิดและความดับ
ย่อมไม่สมควรแก่นิโรธ ฉะนั้น ยมกทั้งหลาย 3 คือ ยมกอันเป็นมูล
แห่งทุกขสัจจะ 2 กับด้วยสมุทยสัจจะ และมัคคสัจจะ ยมกอันเป็นมูล
แห่งสมุทยสัจจะ 1 กับด้วยมัคคสัจจะ จึงมาแล้ว. ในปฏิโลมนัยแห่ง
ปุคคลวาระนั้นบ้าง ในโอกาสวาระเป็นต้นบ้าง ก็นัยนี้นั่นเทียว. พึง
ทราบการนับยมก ด้วยอำนาจยมก 3 อย่าง ๆ ในวาระทั้งหมดเหล่านี้
ด้วยประการอย่างนี้.
ก็ในอรรถวินิจฉัย พึงทราบลักษณะในสัจจยมกนี้ดังต่อไปนี้. ก็
ในปวัตติวาระแห่งสัจจยมกนี้ ใคร ๆ ย่อมไม่ได้นิโรธสัจจะก่อนนั่นเทียว.
แต่ในวาระทั้งหลาย 3 ที่เหลือ สมุทยสัจจะและมัคคสัจจะ บุคคลย่อม
ได้ในปวัตติกาลโดยส่วนเดียวนั่นเทียว. ทุกขสัจจะ บุคคลย่อมได้ใน
จตุและปฏิสนธิบ้าง ในปวัตติกาลบ้าง. แต่กาล 3 มีปัจจุบันกาลเป็นต้น
บุคคลย่อมได้ แม้ในจุติและปฏิสนธิบ้าง ในปวัตติกาลบ้าง. บุคคลย่อม
ได้สัจจะใด ๆ ในสัจจยมกนี้ พึงทราบอรรถวินิจฉัยด้วยอำนาจแห่งสัจจะ
นั้น ๆ ด้วยประการอย่างนี้.

พึงทราบนัยมุขในสัจจยมกนั้นดังต่อไปนี้. สองบทว่า สพฺเพสํ
อุปปชฺชนฺตานํ
ความว่า โดยที่สุด แม้แก่ชั้นสุทธาวาส. ก็เทวดา
ชั้นสุทธาวาส แม้เหล่านั้น ย่อมเกิดด้วยทุกขสัจจะนั่นเทียว. คำนี้ว่า
ตณฺหาวิปฺปยุตฺตจิตฺตสฺส ท่านกล่าวไว้แล้วเพื่อแสดงการอุบัติแห่งส่วน
หนึ่งในทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ. เพราะฉะนั้น คำนั้นพึงถือเอาด้วย
อำนาจปัญจโวการภพนั่นเทียว. แต่ในจตุโวการภพ คำนี้ว่า สัจจะแม้
อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นในอุปปาทักขณะของผลสมาบัติ จิตที่สัมปยุต
ด้วยตัณหา ดังนี้ บัณฑิตไม่ควรถือเอาในสัจจยมกนี้. สองบทว่า เตสํ
ทุกฺขสจฺจญฺจ
ความว่า ชื่อว่า ทุกขสัจจะที่เหลือ เว้นตัณหาเสีย
ย่อมมีในขณะนั้น คำนั้นท่านกล่าวหมายเอาทุกขสัจจะนั้น. แม้ในอุป-
ปาทขณะแห่งมรรค ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่ในสัจจยมกนั้นรูปนั่น
เทียว ชื่อว่า ทุกขสัจจะ ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยมรรคที่เหลือ
เป็นธรรมที่พ้นดีแล้วจากสัจจะ. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าว
แล้วว่า มรรคสัจจะย่อมเกิดขึ้นแก่ชนเหล่านั้น ในอุปปาทักขณะแห่ง
มรรคในอรูป แต่ทุกขสัจจะย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ชนเหล่านั้น. พึงทราบ
โอกาสด้วยอำนาจขณะในสัจจยมกนี้อย่างนี้ว่า ในขณะแห่งการอุบัตินั้น
และในขณะแห่งการอุบัติขึ้นของจิตที่วิปปยุตด้วยตัณหาของชนเหล่านั้น
ว่า ในอุปปาทขณะแห่งจิตที่วิปปยุตด้วยตัณหาที่เป็นไปของผู้เกิดอยู่
ทั้งหมด ในอุปปาทขณะของผู้เกิดอยู่ทั้งหมดเหล่านั้น. ในสัจจะที่มีรูป

อย่างนั้น แม้เหล่าอื่น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนภิสเมตาวีนํ
ได้แก่ สัตว์ผู้ไม่บรรลุอภิสมัย กล่าวคือจตุสัจจปฏิเวธ คือการแทงตลอด
สัจจะ 4. บทว่า อภิสเมตาวีนํ ได้แก่ อภิสมิตสัจจะ คือสัจจะที่
สงบยิ่ง. พึงทราบอรรถวินิจฉัยในบททั้งปวง โดยนัยมุขนี้.
ก็ในปริญญวาระ บุคคลย่อมได้ปริญญา 3 คือ ญาตปริญญา
ตีรณปริญญา ปหานปริญญา. ก็เพราะชื่อว่า ปริญญา ย่อมไม่มีใน
โลกุตรธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น สัจจะ 2 ท่านจึงถือเอาแล้วในสัจจ-
ยมกนี้. คำว่า ทุกขสจฺจํ ปริชานาติ ในสัจจยมกนั้น ท่านกล่าวไว้
แล้วด้วยอำนาจญาตปริญญา และตีรณปริญญา. คำว่า สมุทยสจฺจํ
ปชหติ
ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจญาตปริญญา และปหานปริญญา,
พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงด้วยอำนาจแห่งปริญญาทั้งหลายเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาสัจจยมก จบ

สังขารยมกที่ 6


ปัณณัตติวาระ


[1023] สังขาร 3 คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.

ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ชื่อว่า กายสังขาร
วิตกและวิจาร ชื่อว่า วจีสังขาร
สัญญาและเวทนา ชื่อว่า จิตตสังขาร ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต
แม้ทั้งหมด ( เว้นวิตกและวิจาร ) ชื่อว่า จิตตสังขาร.

อุทเทสวาระ


ปทโสธนวาระ อนุโลม


[1024] ธรรมที่ชื่อว่ากาย ชื่อว่ากายสังขาร ใช่ไหม ?
ธรรมที่ชื่อว่ากายสังขาร ชื่อว่ากาย ใช่ไหม ?