เมนู

อรรถกถาสัจยมก


การพรรณนาสัจจยมกที่ท่านรวบรวมแสดงไว้แล้วในลำดับธาตุ
ยมก ด้วยอำนาจสัจจะในธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ท่านแสดงไว้แล้วใน
มูลยมกเหล่านั้นนั้นเที่ยว ย่อมมีในบัดนี้. พึงทราบมหาวาระ 3 มี
ปัณณัตติวาระเป็นต้น และประเภทแห่งวาระที่เหลือมีอันตรวาระเป็นต้น
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว ในธาตุยมกแม้นั้น. แต่ในปัณณัตติวาระ
ในสัจจยมกนี้ ด้วยอำนาจสัจจะ 4 พึงทราบการนับยมกในวาระทั้งหลาย
4 เหล่านี้ คือปทโสธนวาระ ปทโสธนมูลจักกวาระ สุทธสัจจวาระ
สุทธสัจจมูลจักกวาระ. แต่ในปัณณัตติวารนิทเทส พึงทราบ
เตภูมิกธรรมที่หลุดพ้นดีแล้วจากทุกขเวทนาและตัณหา ด้วยคำว่า
อวเสสํ ทุกฺขสจฺจํ. ประเภทแห่งกามาวจรกุศลเป็นต้นที่ท่านแสดงไว้
แล้วในสัจจวิภังค์ว่า อวเสโส สมุทโย ดังนี้ ย่อมเป็นปัจจัยแห่ง
ทุกขสัจจะ. สองบทว่า อวเสโส นิโรโธ ได้แก่ ตทังคนิโรธ วิก-
ขัมภนนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธ และขณภังคนิโรธ.
สองบทว่า อวเสโส มคฺโค ความว่าก็มรรคมีองค์ 5 ย่อมมีในสมัย
นั้นแล. มรรคมีอาทิอย่างนี้ คือ อัฏฐังคิกมรรค มิจฉามรรค ชังฆมรรค
สกฏมรรค.
ก็ในปวัตติวาระ ในอนุโลมนัยแห่งปุคคลวาระ ในปัจจุบันกาลนี้
ทุกขสัจจมูล 3 สมุทยสัจจมูล 2 นิโรธสัจจมูล 1 รวมเป็นยมก 6