เมนู

อรรถกถาวิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา



ว่าด้วย วิปากะเป็นวิปากธัมมธรรม



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิบากเป็นวิปากธัมมธรรม คือวิบากเป็นธรรม
ที่เป็นเหตุให้วิปากะเกิดขึ้น. ในปัญหานั้น วิบากเป็นปัจจัยแก่วิบากด้วย
อำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย เป็นต้นมีอยู่ ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ
ลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า แม้วิบากก็เป็นวิปากธัมมธรรม คือ
เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า วิบากของวิบากนั้น
ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก
ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า วิบากใด
มีอยู่ วิบากแม้นั้นเป็นวิปากธัมมธรรมแก่วิบากที่เป็นวิปากธัมมธรรม
นั้นหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาภาวะแห่งการให้ผลต่อไป. ถูกถาม
ครั้งที่ 2 ตอบปฏิเสธ โดยผิดไปจากลัทธิ แต่ท่านก็ย่อมตอบรับรอง
หมายเอาความเกิดขึ้นแห่งวิบากอื่นเพราะเป็นปัจจัยแก่วิบากแม้นั้น. ก็
ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ การไม่ตัดวัฏฏะย่อมปรากฏว่า วิบาก
แห่งวิบากแม้นั้นก็เป็นวิบากแห่งวิบากแม้นั้นต่อไป ราวกะกุศลและ
อกุศลหรือ ? ปรวาทีถูกถามปัญหานี้ ก็ตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากลัทธิ.
ก็ในการพิสูจน์ถ้อยคำว่า คำว่าวิบากหรือว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก
ก็ดี
เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะว่า ถ้าว่า ความที่วิบากเป็นอรรถ
อันเดียวกับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากไซร้ คำว่ากุศล อกุศลและอัพยากตะ
ก็จะพึงมีอรรถอันเดียวกันได้.

ในคำว่า วิบากกับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก นี้ มีคำอธิบายว่า
เมื่อปรวาทีกำหนดอยู่ซึ่งวิบากในนามขันธ์ทั้ง 4 ขันธ์ 1 ๆ ชื่อว่าเป็น
วิปากธัมมธรรม คือเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า
เป็นปัจจัยในปัจจัยทั้งหลายมีอัญญมัญญปัจจัยเป็นต้น และเพราะอรรถว่า
เป็นปัจจยุบบัน ดังนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า วิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุ
แห่งวิปากะหรือ
จึงตอบรับรองว่า ใช่. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงปรวาที
นั้น จึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า วิบากในนามขันธ์ 4 ในขณะเดียวกันก็ดี ธรรม
ที่เป็นเหตุแห่งวิบากในนามขันธ์ 4 ก็ดี เป็นธรรมที่ท่านรับรองแล้ว
เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความที่วิบากและธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากเหล่านั้น
ย่อมปรากฏว่าเป็นธรรมสหรคตกันหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอา
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก คือ กุศล. คำว่า อกุศลอันนั้น ความว่า
ถ้าวิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะตามลัทธิของท่านไซร้ วิบากใด
เป็นอกุศลวิบาก วิบากนั้นก็ถึงความเป็นอกุศล. ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่าเพราะความที่ท่านกล่าวว่าอกุศลวิบากเป็นสภาวะอย่างเดียวกันกับ
ด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะ. แม้ในคำว่า กุศลอันนั้น เป็นต้น ก็นัยนี้
นั่นแหละ.
คำว่า อัญญมัญญปัจจัย นี้ ปรวาทีกล่าวแล้วด้วยสามารถสัก
แต่ว่าเป็นปัจจัยแห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น คำว่า อัญญ-
มัญญปัจจัย
นี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์. แม้การกล่าวถึงความที่มหาภูตรูป
ทั้งหลายเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันนั้นก็หาใช่เป็นวิบากไม่ ทั้งไม่เป็นธรรม
ที่เป็นเหตุแห่งวิบากด้วย ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาวิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ



1. สังคหิตกถา 2. สัมปยุตตกถา 3. เจตสิกกถา 4. ทานกถา
5. ปริโภคมยปุญญกถา 6. อิโตทินนกถา 7. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา
8. ชรามรณวิปาโกติกถา 9. อริยธัมมวิปากกถา 10. วิปาโกวิปาก-
ธัมมธัมโมติกถา.
วรรคที่ 7 จบ