เมนู

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก แต่เป็นอปจยคามี
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก
แต่เป็นอปจยคามี หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยธัมมวิปากกถา จบ

อรรถกถาอริยัมมวิปากกถา


ว่าด้วย วิบากแห่งอริยธรรม


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิบากแห่งอริยธรรม. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด
มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า สามัญญผล คือ
ผลแห่งความเป็นสมณะ สักว่าการละกิเลสเท่านั้นหาใช่จิตและเจตสิกธรรม
ไม่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีหรือ โดย
หมายถึงชนเหล่านั้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิบากแห่งอริยธรรม ได้แก่
ผลของอริยมรรค คำตอบรับรองของปรวาทีโดยลัทธิว่า อริยผล สักว่า
เป็นการสิ้นไปแห่งกิเลส. คำว่า สามัญญะ ได้แก่ คุณเครื่องความ
เป็นสมณะ คำนี้เป็นชื่อของอริยมรรค สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเป็นสมณะ และผลแห่ง
ความเป็นสมณะแก่เธอทั้งหลาย
ดังนี้. แม้ในคุณเครื่องความเป็นพรหม
คือพรหมัญญะ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในปัญหาทั้งหลาย มีคำว่า โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากหรือ เป็นต้น
ปรวาทีตอบรับรองซึ่งความที่อริยผลทั้งหลายไม่เป็นวิบาก เพราะหมาย
เอาความที่โสดาปัตติมรรคเป็นต้นไม่มีการสั่งสมวัฏฏะ ย่อมตอบปฏิเสธ
ผลแห่งทานเป็นต้น คือหมายเอาเป็นวิปากวัฏ. จริงอยู่ ท่านห้ามอรรถแห่ง
อาจยคามีติกะ1 ด้วยคำอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใดย่อมไปสู่ที่มีการสั่งสม
อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าวิบาก เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า
อาจยคามี อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดเมื่อสั่งสมย่อมไปสู่ที่มีการสั่งสม
เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อาจยคามี ธรรมเหล่าใดเมื่อไม่มี
การสั่งสมวิบากย่อมไป เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อปจยคามี
เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบรับรองด้วย ปฏิเสธด้วย อย่างนี้.
คำถามว่า กามาวจรกุศลมีวิบากเป็นอาจยคามี คือเป็นธรรม
สั่งสมวิปากวัฏ ดังนี้ เป็นของปรวาที คำตอบรับรองและปฏิเสธเป็น
ของสกวาที. จริงอยู่ โลกิยกุศลวิบาก ชื่อว่า อาจยคามี เพราะอรรถว่า
มีปกติ ไม่สั่งสมจุติ ปฏิสนธิ และวัฏฏะเป็นไป โลกุตตรกุศลนี้ย่อมเป็น
ธรรมมีวิบากทั้งนั้น มิใช่ไม่มีวิบากด้วยเหตุสักแต่คำว่า เป็นอปจยคามี
คือเป็นธรรมไม่สั่งสมจุติ ปฏิสนธิ และวัฏฏะ. พึงทราบคำตอบรับรอง
และปฏิเสธของสกวาทีในที่นี้ เพราะหมายเอาเนื้อความนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
อรรถกถาอริยธัมมวิปากกถา จบ

1. คำว่า อาจยคามีติกะได้แก่หมวด 3 แห่งอาจายคามีในติกมติกา.

วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา



[1187] สกวาที วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. วิบากของวิบากนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิบากของวิบากนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อเป็นอย่างนั้น วิบากนั้น ๆ ก็ไม่มีการทำที่สุดทุกข์
ไม่มีความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1188] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คำว่า วิบาก หรือว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากก็ดี
คำว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือว่าวิบากก็ดี คำทั้ง 2 นี้ก็อย่างเดียว
กัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1189] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิบาก กับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก ธรรมที่เป็นเหตุ
แห่งวิบาก กับวิบาก สหรคตกัน เกิดร่วมกัน ระคนกัน สัมปยุตกัน เกิด-