เมนู

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา



[1158] สกวาที แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา
ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วยทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขม
สุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา
ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ
ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของ
แผ่นดินนั้นมีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ไม่มีอทุกขม
สุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยสุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยทุกขเวทนา ไม่
ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยผัสสะ ไม่ประกอบด้วย
เวทนา ไม่ประกอบด้วยสัญญา ไม่ประกอบด้วยเจตนา ไม่ประกอบด้วย
จิต ไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความ
จงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของแผ่นดินนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ
ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของแผ่นดินนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าว
ว่าแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก.
[1159] ส. ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก และผัสสะมีสุขเวทนา มี
ทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วย

ทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบ
ด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต
มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก และแผ่นดินมีสุขเวทนา มี
ทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วย
ทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบ
ด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต
มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ
ความปรารถนา ความตั้งใจของแผ่นดิน มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1160] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก แต่แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา
ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของแผ่นดิน
นั้น ไม่มีหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก แต่ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มี
ทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น
ไม่มีหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1161] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. แผ่นดินเชิดชูได้ เหยียบย่ำได้ ตัดได้ ทำลายได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมวิบาก เชิดชูได้ เหยียบย่ำได้ ตัดได้ ทำลายได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1162] ส. แผ่นดิน บุคคล จะพูน จะเพิ่ม จะถม จะก่อ จะเสริม
ก็ทำได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมวิบาก บุคคลจะพูน จะเพิ่ม จะถม จะก่อ
จะเสริม ก็ทำได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1163] ส. แผ่นดินทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมวิบากทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1164] ส. กรรมวิบาก ทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า นิธิ คือ บุญ ไม่
ทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ โจรลักไม่ได้ ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาวะควรทำบุญ
ผู้นั้นพึงประพฤติสุจริต
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กรรมวิบากทั่วไปแก่
ชนอื่น ๆ

[1165] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. แผ่นดินตั้งอยู่ด้วยดีก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดขึ้น
ในภายหลัง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิบากบังเกิดขึ้นก่อน ต่อภายหลังสัตว์ทั้งหลายจึงทำ
กรรมเพื่อได้วิบาก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1166] ส. แผ่นดินเป็นวิบากแห่งกรรมของสัตว์ทั้งปวงหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัตว์ทั้งปวง บริโภคแผ่นดิน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัตว์ทั้งปวง บริโภคแผ่นดินหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บางพวกบริโภคแผ่นดิน แล้วปรินิพพานมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บางพวก ไม่ยังกรรมวิบากให้สิ้นไปแล้วปรินิพพาน
มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1167] ส. แผ่นดินเป็นวิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็นจักรพรรดิ
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์อื่น ๆ บริโภคแผ่นดิน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัตว์อื่น ๆ บริโภควิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็น
จักรพรรดิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัตว์อื่น ๆ บริโภควิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็น
จักรพรรดิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัตว์อื่น ๆ บริโภคผัสสะ เวทนา เจตนา จิต สัทธา
วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของสัตว์ผู้จะเป็นจักรพรรดิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1168] ป. ไม่พึงกล่าวว่า แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กรรมที่ยังสัตว์ให้ไปพร้อมเพื่อความเป็นใหญ่ กรรม
ที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็น
ใหญ่ กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่มีอยู่ ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก.
ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา จบ

อรรถกถาปฐวีกัมมวิปาโกติกถา



ว่าด้วย แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก คือเป็นผลของกรรม.
ในเรื่องนั้น คำว่า ความเป็นแห่งชนทั้งหลายผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อิสสริยะ.
คือความเป็นใหญ่ ความเป็นแห่งอธิปติชนทั้งหลายชื่อว่า อาธิปัจจะ คือ
ความเป็นอธิบดี หรือความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ และกรรมมีความเกี่ยวข้อง
ด้วยความเป็นอิสระและความเป็นอธิบดีในแผ่นดินมีอยู่ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้
ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นใหญ่ กรรมที่ยัง
สัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ มีอยู่
ดังนี้ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า
แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า แผ่นดิน เป็นต้น
โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า แผ่นดิน
มีสุขเวทนา
เป็นต้น สกวาทีกล่าวด้วยความสามารถการแสดงสภาพ
แห่งกรรมวิบาก. ผัสสะอันต่างด้วยสุขเวทนาเป็นต้นมีอยู่ในวิบากทั้งหลาย
ที่ท่านแสดงไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก ก็ผัสสะนั้นด้วย
ธรรมทั้งหลายมีสัญญาเป็นต้นด้วย สัมปยุตกันกับธรรมทั้งหลายมีสุขเวทนา
เป็นต้น ธรรมทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ก็สัมปยุตกับธรรมทั้งหลาย
มีสัญญาเป็นต้น ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นไปกับด้วยอารมณ์ คือรับ
อารมณ์ได้ ก็อาวัชชนจิต กล่าวคือ การรับอารมณ์อันเป็นปุเรจาริก
เป็นต้นแห่งธรรมเหล่านั้น และเจตนา อันเป็นกัมมปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น
ก็มีอยู่ในธรรมเหล่านั้น ธรรมใดมีวิบากที่น่าปรารถนา การปรารถนา