เมนู

สกวาที ปฏิเสธลัทธิหนึ่งของปรวาทีนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า รูปเป็นของ
ไม่เที่ยง...มิใช่หรือ ?
เมื่อจะถามปัญหาที่ 2 จึงกล่าวคำว่า ทุกข์เท่านั้น
เป็นปรินิปผันนะหรือ
ดังนี้. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะปฏิเสธลัทธิของ
ปรวาทีแม้นั้นอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์...มิใช่หรือ
.
ในข้อนั้น มีอธิบายว่า สัจจะที่หนึ่งเท่านั้นเป็นทุกข์อย่างเดียวก็หาไม่
ก็ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เที่ยง ธรรมนั้นก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ทั้งรูป
ก็เป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นรูปแม้นั้น จึงเป็นปรินิปผันนะ เพราะฉะนั้น
จึงไม่ควรกล่าวว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะ ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ
ดังนี้. การประกอบแม้ในธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แล. อนึ่ง
ในธัมมายตนะ และธัมมธาตุทั้งหลาย เว้นพระนิพพานแล้ว บัณฑิตพึง
ทราบว่าธรรมที่เหลือทั้งหมดเป็นอนิจจัง. อินทรีย์ทั้งหลายก็เป็นอนิจจัง
ทั้งนั้น แล.
อรรถกถาอปรินิปผันนกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ


1. เอกาธิปปายกถา 2. อรหันตวัณณกถา 3. อิสสริยกาม-
การิกากถา 4. ราคปฏิรูปกาทิกถา 5. อปรินิปผันนกถา.
วรรคที่ 23 จบ
ขุททกปัณณาสก์ จบ

อุทาน


มหา นิยาโม อนุสยา นิคฺคโห ขุทฺทกปญฺจมา
ปรปฺปวาทมทฺทนา สุตฺตมูลสมาหิตา
อุชโชตนา สตฺถุสมเย กถาวตฺถุปปกรเณ

กถาวัตถุปกรณ์ มี 5 ปัณณาสก์ คือ :-
(1) มหาปัณณาสก์
(2) นิยามปัณณาสก์
(3) อนุสยปัณณาสก์
(4) นิคคหปัณณาสก์
(5) ขุททกปัณณาสก์
อันพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระทำพระสูตรให้เป็นมูลตั้งไว้ ให้เป็นเครื่อง
ย่ำยีปรับปวาท รุ่งเรืองอยู่ในพระพุทธศาสนา.
กถาวัตถุปกรณ์ 35 ภาณวาร จบ