เมนู

ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ว่าเป็นทุกข์ และ อัญญาตาวินทรีย์ก็ไม่เที่ยง ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทุกข์
เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ.
อปรินิปผันนกถา จบ

อรรถกถาอปรินิปผันนกถา


ว่าด้วย อปรินิปผันนะ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง อปรินิปผันนะ คือธรรมที่ไม่สำเร็จแล้ว หมายถึง
ธรรมที่ไม่เกิดขึ้นมาเพราะปัจจัยปรุงแต่ง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมี
ความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายบางพวก และเหตุวาทะ
ว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ คือเป็นธรรมที่สำเร็จแล้วหรือเกิดขึ้น
แล้ว ส่วนธรรมที่เหลือ คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ เป็นอปรินิปผันนะ
คือไม่สำเร็จแล้ว ไม่เกิดขึ้นแล้ว โดยอาศัยพระพุทธพจน์ว่า ก็ทุกข์เท่านั้น
ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมดับไปด้วย นอกจากทุกข์
ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า
รูปเป็นอปรินิปผันนะหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น
ของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า รูปมิใช่ของไม่เที่ยง
เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้ารูปเป็นอปรินิปผันนะไซร้ รูปนั้นก็พึงมิใช่เป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น. ปรวาที เมื่อไม่เห็นรูปเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ.

สกวาที ปฏิเสธลัทธิหนึ่งของปรวาทีนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า รูปเป็นของ
ไม่เที่ยง...มิใช่หรือ ?
เมื่อจะถามปัญหาที่ 2 จึงกล่าวคำว่า ทุกข์เท่านั้น
เป็นปรินิปผันนะหรือ
ดังนี้. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะปฏิเสธลัทธิของ
ปรวาทีแม้นั้นอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์...มิใช่หรือ
.
ในข้อนั้น มีอธิบายว่า สัจจะที่หนึ่งเท่านั้นเป็นทุกข์อย่างเดียวก็หาไม่
ก็ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เที่ยง ธรรมนั้นก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ทั้งรูป
ก็เป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นรูปแม้นั้น จึงเป็นปรินิปผันนะ เพราะฉะนั้น
จึงไม่ควรกล่าวว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะ ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ
ดังนี้. การประกอบแม้ในธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แล. อนึ่ง
ในธัมมายตนะ และธัมมธาตุทั้งหลาย เว้นพระนิพพานแล้ว บัณฑิตพึง
ทราบว่าธรรมที่เหลือทั้งหมดเป็นอนิจจัง. อินทรีย์ทั้งหลายก็เป็นอนิจจัง
ทั้งนั้น แล.
อรรถกถาอปรินิปผันนกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ


1. เอกาธิปปายกถา 2. อรหันตวัณณกถา 3. อิสสริยกาม-
การิกากถา 4. ราคปฏิรูปกาทิกถา 5. อปรินิปผันนกถา.
วรรคที่ 23 จบ
ขุททกปัณณาสก์ จบ