เมนู

เป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว ก็พึงดับไปพร้อมกับวิญญาณทั้งหลาย มีจักขุวิญญาณ
เป็นต้นได้นะสิ. แต่ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ของสัตว์เกิดในท้องมารดา. ย่อมตอบรับรองหมายเอาความเป็นไป คือ
ปวัตติกาล ด้วยสามารถแห่งลัทธินั่นแหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น
ทั้งนั้นแล. คำว่า ถ้าอย่างนั้น ธรรมทั้งปวงก็เป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง
ดังนี้ อธิบายว่า ปรวาทีย่อมกล่าวการกระทำตามความชอบใจของตนว่า
ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นของเที่ยงไม่มี ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงเป็น
ไปในขณะแห่งจิตอันหนึ่ง
ดังนี้. คำนั้นไม่เป็นเช่นกับคำที่ปรวาทีนั้น
กล่าวแล้วแล.
อรรถกถาขณิกกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ


1. ปรินิพพานกถา 2. กุสลจิตตกถา 3. อาเนญชกถา 4. ธัมมาภิ-
สมยกถา 5. ติสโสปิกถา 6. อัพยากตกถา 7. อาเสวนปัจจัยตากถา
8. ขณิกกถา.
วรรคที่ 22 จบ

วรรคที่ 23


เอกาธิปปายกถา


[1882] สกวาที บุคคลพึงเสพเมถุนธรรมด้วยความประสงค์
อย่างเดียวกันหรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พึงเป็นผู้มิใช่สมณะ พึงเป็นผู้มิใช่ภิกษุ พึงเป็นผู้มี
รากอันขาดแล้ว พึงเป็นปาราชิก ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1883] ส. บุคคลพึงเสพเมถุนธรรมด้วยความประสงค์อย่าง
เดียวกัน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ พึงพูดเท็จ พึงพูดส่อเสียด
พึงพูดคำหยาบ พึงพูดเพ้อเจ้อ พึงตัดที่ต่อ พึงปล้นใหญ่ พึงปล้นเฉพาะ
เรือนหลังหนึ่ง พึงดักที่ทางเปลี่ยว พึงผิดเมียท่าน พึงทำการฆ่าชาวบ้าน
พึงทำการฆ่าชาวนิคม ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เอกาธิปปายกถา จบ

อรรถกถาเอกาธิปปายกถา


ว่าด้วย ความประสงค์อย่างเดียวกัน


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความประสงค์อย่างเดียวกัน. ในปัญหานั้น ชน
เหล่าใดมีความเห็นดุจลัทธิของนิกายอันธกะและเวตุลละทั้งหลายว่า