เมนู

ส. ถูกแล้ว.
ป. ธรรมทั้งปวง เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน มีอันไม่แปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ธรรมทั้งปวงก็เป็นไปในขณะจิตหนึ่ง
น่ะสิ.
ขณิกกถา จบ

อรรถกถาขณิกกถา


ว่าด้วย ธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะ


บัดนี้ ชื่อว่าธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะ คือหมายถึงขณะจิต. ใน
ปัญหานั้น สังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น สังขตธรรม
เหล่านั้น จึงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งเท่านั้น. ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ
ลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ และอปรเสลิยะทั้งหลายว่า ก็เมื่อความไม่เที่ยง
มีอยู่ ธรรมอย่างหนึ่งแตกดับไปเร็ว ธรรมอย่างหนึ่งแตกดับไปช้า ดังนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อะไรเล่าเป็นสภาพแตกต่างกันในที่นี้ ดังนี้ คำถามของ
สกวาทีว่า ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะแห่งจิตอันหนึ่งหรือ ดังนี้ หมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
ในคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า มหาปฐพี.....ล้วนดำรงอยู่ในจิตหรือ
ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการดำรงอยู่แห่งมหาปฐพีเป็นต้นเหล่านั้น ฉะนั้น จึง
ตอบปฏิเสธ. คำว่า จักขวายตนะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า
ธรรมทั้งปวงพึงมีชั่วขณะจิตเดียวไซร้ อายตนะทั้งหลายมีจักขวายตนะ

เป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว ก็พึงดับไปพร้อมกับวิญญาณทั้งหลาย มีจักขุวิญญาณ
เป็นต้นได้นะสิ. แต่ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ของสัตว์เกิดในท้องมารดา. ย่อมตอบรับรองหมายเอาความเป็นไป คือ
ปวัตติกาล ด้วยสามารถแห่งลัทธินั่นแหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น
ทั้งนั้นแล. คำว่า ถ้าอย่างนั้น ธรรมทั้งปวงก็เป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง
ดังนี้ อธิบายว่า ปรวาทีย่อมกล่าวการกระทำตามความชอบใจของตนว่า
ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นของเที่ยงไม่มี ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงเป็น
ไปในขณะแห่งจิตอันหนึ่ง
ดังนี้. คำนั้นไม่เป็นเช่นกับคำที่ปรวาทีนั้น
กล่าวแล้วแล.
อรรถกถาขณิกกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ


1. ปรินิพพานกถา 2. กุสลจิตตกถา 3. อาเนญชกถา 4. ธัมมาภิ-
สมยกถา 5. ติสโสปิกถา 6. อัพยากตกถา 7. อาเสวนปัจจัยตากถา
8. ขณิกกถา.
วรรคที่ 22 จบ