เมนู

อิโตทินนกถา



[1153] สกวาที บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็นไปได้
ในปรโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เมื่อให้จีวรแก่โลกนี้ ก็บริโภคจีวรนั้นในปรโลกหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อให้บิณฑบาตแต่โลกนี้... เมื่อให้เสนาสนะแต่โลกนี้
... เมื่อให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขารแต่โลกนี้... เมื่อให้ของขบเคี้ยวแต่
โลกนี้... เมื่อให้ของกินแต่โลกนี้... เมื่อให้น้ำดื่มแต่โลกนี้ ก็บริโภคน้ำดื่ม
นั้นในปรโลกหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1154] ส. บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็นไปได้ในปรโลก
ด้วยทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้อื่นเป็นผู้กระทำแก่ผู้อื่น สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้
ผู้อื่นกระทำผู้อื่นให้เสวยผลหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1155] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็น
ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแก่โลกนี้หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พวกเปรต เห็นเขาให้ทานเพื่อประโยชน์แก่ตน ย่อม
อนุโมทนา ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ย่อมยังปีติให้เกิดขึ้น ย่อมได้โสมนัส มิใช่

หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า เปรตเห็นเขาให้ทานเพื่อประโยชน์แก่ตน
ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ย่อมยังปีติให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว
ว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลกยังอัตภาพให้เป็นไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอัน
บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้.
[1156] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็น
ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า น้ำฝนตกในที่ดอน
ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมเข้าไปสำเร็จ
แก่บุคคลผู้ละไปแล้ว ฉันนั้นแล
.
ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมไหลหลากยังสมุทรสาครให้เต็มรอบได้ฉันใด
ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมเข้าไปสำเร็จแก่บุคคลผู้ละไปแล้ว
ฉันนั้นแล
.
กสิกรรมไม่มีในเปตโลกนั้นเลย โครักขกรรมก็ไม่มี ณ ที่นั้น
พาณิชกรรมก็เช่นกัน การซื้อขายด้วยเงินก็ไม่มี บุคคลผู้ละไปแล้ว คือ
ผู้ที่ตายไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเปตโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคล
ให้แล้วแต่โลกนี้ ดังนี้
1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

1. ขุ.ขุ. 25/8.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไปสู่ปรโลกก็ยังอัตภาพให้เป็น
ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ น่ะสิ.
[1157] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้
เป็นไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มารดาบิดาเล็งเห็นฐานะ 5 ประการ จึงปรารถนาบุตรซึ่งจะเกิดในสกุล
ฐานะ 5 เป็นไฉน ? เราเลี้ยงเขามาแล้ว เขาจักเลี้ยงเราตอบ เขาจักช่วยทำ
กิจของเรา สกุลวงศ์จักดำรงอยู่นาน เขาจักดูแลทรัพย์มฤดกสืบไป ก็หรือ
เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เขาจักทำบุญส่งไปให้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา
บิดาเล็งเห็นฐานะ 5 ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตรซึ่งจะเกิดในสกุล
.
บัณฑิตเล็งเห็นฐานะ 5 ประการ จึงปรารถนาบุตร คือ เราเลี้ยง
เขามาแล้ว เขาจักเลี้ยงเราตอบ เขาจักช่วยทำกิจของเรา สกุลวงศ์จักดำรง
อยู่ได้นาน เขาจักดูแลทรัพย์มฤดกสืบไป ก็หรือเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
เขาจักทำบุญส่งไปให้ บัณฑิตทั้งหลายเล็งเห็นฐานะ 5 ประการนี้ จึง
ปรารถนาบุตร
.
เพราะฉะนั้น สัปปุริสชน คนเรียบร้อย จึงเป็นคนกตัญญูกตเวที
เมื่อระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านได้ทำก่อน ย่อมเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจของ
ท่านตามฐานะที่ท่านเป็นบุพพการี บุตรผู้อยู่ในโอวาท บิดามารดาเลี้ยง
มาแล้ว เลี้ยงตอบ ไม่ทำวงศ์สกุลให้เสื่อม มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล เป็น
บุตรที่ควรสรรเสริญ ดังนี้
1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

1. องฺ.ปญฺจก 22/39.

ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ก็ยังอัตภาพให้เป็น
ไปได้ในปรโลก ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ น่ะสิ.
อิโตทินนกถา จบ

อรรถกถาอิโตทินนกถา



ว่าด้วย ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้. ในเรื่องนั้น ชน
เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะทั้งหลาย
ว่า วัตถุอันใดมีจีวรทานเป็นต้นที่บุคคลให้แล้วจากโลกนี้มีอยู่ เปรต
ทั้งหลายย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปได้ด้วยวัตถุอันนั้นนั่นแหละ ดังนี้ เพราะ
อาศัยพระบาลีว่า ชนทั้งหลายผู้ละไปแล้ว คือผู้ที่ตายไปแล้ว ย่อมยัง
อัตภาพให้เป็นไปในเปตโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้
ดังนี้
คำถามของสกวาทีว่า ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ เป็นต้น โดยหมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูกสกวาทีซักถามปัญหา
ด้วยการให้จีวรเป็นต้นอีก ก็ตอบปฏิเสธ.
ข้อว่า ผู้อื่นเป็นผู้กระทำแก่ผู้อื่น ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า ผู้อื่น
เป็นผู้ทำกรรมทั้งหลายเพื่อให้วิบากเกิดแก่ผู้อื่น มิใช่ตนเองทำให้แก่ตน.
ก็ปรวาทีนั้นถูกถามปัญหาอย่างนี้ ก็ตอบปฏิเสธ เพราะกลัวผิดจากพระสูตร.
คำว่า พวกเปรตเห็นเขาให้ทาน อธิบายว่า เห็นบุคคลผู้ให้ทาน.
ในคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า ก็โภคะทั้งหลาย ย่อม
เกิดขึ้นแก่เปรตทั้งหลายเหล่านั้นในที่นั้น เพราะการอนุโมทนาของตน