เมนู

และปราสาทนั้นก็ได้เป็นทองไปจริงมิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะ ได้อธิษฐานปราสาท
ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสาร ว่าจงเป็นทอง
ดังนี้ และปราสาทนั้นก็ได้เป็นทองไปจริง ๆ ด้วยเหตุนั้นและท่านจึงต้อง
กล่าวว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือของ
พระสาวก มีอยู่.
อิทธิกถา จบ

อรรถกถาอิทธิกถา


ว่าด้วย ฤทธิ์


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องฤทธิ์. ในเรื่องนั้น ชื่อว่าฤทธิ์นี้ย่อมให้สำเร็จใน
บางอย่าง ย่อมไม่ให้สำเร็จในบางอย่าง. การสันนิษฐานในลัทธิของ
สกวาทีว่า ฤทธิ์ย่อมไม่สำเร็จในการทำซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่เที่ยงเป็นต้น
ให้เป็นของเที่ยงเป็นต้นอย่างเดียวเท่านั้น ก็แต่ว่าฤทธิ์นั้นบุคคลย่อมทำ
เพื่อประโยชน์แก่ชนเหล่าใด โดยเปลี่ยนแปลงความสืบต่อคืออายุที่เสมอกัน
ทำให้ไม่เสมอกัน หรือทำให้ความเป็นไปได้นานกว่ากัน ด้วยสามารถ
แห่งความสืบต่ออายุที่มีส่วนเสมอกันได้ และย่อมให้สำเร็จได้บางอย่าง
เพราะอาศัยเหตุทั้งหลายมีบุญเป็นต้นของบุคคลเหล่านั้น ดุจการทำน้ำ
ที่ควรดื่มให้เป็นเนยใสเป็นน้ำนมเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย
และดุจในการสืบต่อตั้งอยู่สิ้นกาลนานของประทีปเป็นต้น ณ ที่เป็นที่
ฝังไว้ซึ่งมหาธาตุด้วย ดังนี้.

ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ฤทธิ์
ให้ความสำเร็จตามความประสงค์ หมายความว่าสำเร็จทุกอย่าง เพราะ
อาศัยพระสูตรที่กล่าวไว้ว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาท
ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ...จงเป็นปราสาททอง
ดังนี้ คำถามของสกวาที
ว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์...มีอยู่หรือ หมายถึงชนเหล่านั้น.
ในคำเหล่านั้น คำว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ ได้แก่ ฤทธิ์ที่
ทำให้สมความปรารถนา หมายความว่าให้สำเร็จตามที่ต้องการ. คำว่า
อามันตา เป็นคำปฏิญญาของปรวาทีเพื่อตั้งลัทธิไว้. ลำดับนั้น สกวาที
จึงกล่าวคำว่า ต้นไม้จงมีใบเป็นนิตย์ เพื่อประกอบความที่ธรรม
ทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นว่าเป็นของเที่ยงเป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้
มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
แม้ในการให้ลัทธิตั้งไว้ด้วยพระสูตรว่า ปราสาทนั้นก็ได้เป็นทอง
แล้ว
ดังนี้ อธิบายว่า ปราสาทนั้นได้เป็นทองด้วยอุปนิสัยแห่งบุญของ
พระราชา มิใช่ด้วยความปรารถนาของพระเถระอย่างเดียวเท่านั้น
เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อนำมาพิสูจน์ว่า ฤทธิ์ให้ความสำเร็จได้
ทั้งหมด ดังนี้แล.
อรรถกถาอิทธิกถา จบ

พุทธกถา


[1845] สกวาที พระพุทธกับพระพุทธด้วยกัน ยังมียิ่งหย่อน
กว่ากัน หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. โดยสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โดยสัมมัปปธาน ฯลฯ โดยอิทธิบาท โดยอินทรีย์ โดย
พละ โดยโพชฌงค์ โดยความชำนาญ ฯลฯ โดยสัพพัญญุตตญาณทัสสนะ
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
พุทธกถา จบ

อรรถกถาพุทธกถา


ว่าด้วย พระพุทธเจ้า


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระพุทธเจ้า. ในเรื่องนั้น ยกเว้นความต่างกัน
แห่งสรีระ ความต่างกันแห่งอายุ และความต่างกันแห่งรัศมี ที่มีในกาล
นั้น ๆ แล้ว ชื่อว่าความหย่อนและความยิ่งของพระพุทธเจ้าทั้งหลายกับ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยการตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.
แต่ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่แปลกกันเลย ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า พระพุทธะกับ
พระพุทธะด้วยกันยังมียิ่งหย่อนกว่ากันหรือ
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ
รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า โดยสติปัฏฐาน