เมนู

ราชาริบไปเสีย หรือโจรลักไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย
หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักนำไปเสีย ก็เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญ
สำเร็จแต่การบริโภค ย่อมเจริญได้
ปริโภคมยปุญญกถา จบ

อรรถกถาปริโภคสมปุญญกถา



ว่าด้วย บุญสำเร็จแต่การบริโภค



บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบุญสำเร็จแต่การบริโภค คือการใช้สอย. ในปัญหา
นั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะ
ทั้งหลายว่า บุญชื่อว่า สำเร็จแต่การบริโภคมีอยู่แก่ชนทั้งหลาย เพราะ
ถือเอาพระสูตรทั้งหลายว่า บุญย่อมเจริญมากแก่ทายกเหล่านั้นทุกเมื่อ
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน และพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ
บริโภคจีวรของบุคคลใดเป็นต้น ดังนี้ โดยไม่พิจารณา คำถามของสกวาที
ว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง
เป็นของปรวาที. ลำดับนั้นสกวาที จึงเริ่มกล่าวคำว่า ผัสสะสำเร็จแต่การ
บริโภค
เป็นต้น เพื่อจะท้วงด้วยคำว่า กุศลธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น.
ชื่อว่าบุญ นอกจากนี้ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ท่านพึงยังผัสสะเป็นต้นให้เจริญ
ได้หรือ ดังนี้. คำนั้นทั้งหมดปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะไม่ใช่เจริญบุญให้
ทายกเหล่านั้น. คำทั้งหลายมีคำว่า เจริญได้ดุจเครือเถา เป็นต้น สกวาที
กล่าว เพื่อท้วงด้วยคำว่า เครือเถาเป็นต้น แม้เว้นจากการบำรุงหรือการ
ทำให้เจริญ ย่อมเจริญเองได้นั่นแหละ ฉันใด ตามลัทธิของท่าน บุญทั้งหลาย

ย่อมเจริญ ฉันนั้นหรือ ? แต่คำนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว
อย่างนั้น
เพราะบุญนั้นเจริญเช่นนั้นหาได้ไม่.
ในปัญหาว่า ทายกให้ทานแล้วไม่สนใจก็เป็นบุญได้หรือ ปรวาที
ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า ปุริมเจตนาของทายกนั้นย่อมเจริญ
ได้ด้วยการบริโภคของปฏิคาหกทั้งหลาย บุญนั้นย่อมเจริญอย่างนี้. ลำดับ
นั้น จึงถูกสกวาทีซักถามด้วยคำเป็นต้นว่า เป็นได้แก่ผู้ไม่นึก เป็นต้น
ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาจาคเจตนาของทายก. ในคำเหล่านั้น
คำว่า ผู้ไม่นึก ได้แก่ ภวังค์ของทายกผู้ไม่นึกไม่สละด้วยการพิจารณา
อันเป็นปุเรจาริกในทานเจตนา. คำว่า ผู้ไม่กังวล ได้แก่ หาความคำนึง
ถึงทานเจตนามิได้. คำว่า เป็นได้แก่ผู้ไม่สนใจ ได้แก่ ไม่มีความสนใจ
ทานเจตนา จริงอยู่ อาวัชชนจิตของทายกนั้นเมื่อตัดกระแสภวังค์ขาดแล้ว
ก็เกิดในวิถีของตนจึงชื่อว่าสนใจทานเจตนา สกวาทีย่อมถามว่า บุญของ
ทายกเป็นได้แก่ผู้ไม่มีความสนใจย่อมมีด้วยจิตนี้ ด้วยกิจอย่างนี้. คำว่า
ผู้ไม่กระทำไว้ในใจ ได้แก่ ผู้ไม่ทำซึ่งใจจริงอยู่ อาวัชชนจิตที่กำลังมี
ทานเป็นอารมณ์เกิดติดต่อกันนั้น ชื่อว่า ย่อมทำไว้ซึ่งใจ อธิบายว่า เขา
ไม่ทำอย่างนี้. อนึ่งคำว่า ซึ่งใจนี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ท่านใช้เป็นสัตตมีวิภัตติ
แปลว่า ในใจ. คำว่า ผู้ไม่จงใจ ได้แก่ ทายกนั้นไม่ให้เจตนาในทานเกิด
ขึ้น. คำว่า ผู้ไม่ปรารถนา ได้แก่ ทายกนั้นไม่ทำฉันทะในกุศลอันบัณฑิต
นับพร้อมแล้วว่าความต้องการ. คำว่า ผู้ไม่ตั้งใจ อธิบายว่า ไม่ให้จิต
ตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งทานเจตนา. คำว่า ผู้กังวล ในข้อว่า บุญเป็น
ได้แก่ผู้นึกถึงมิใช่หรือ
นั้นได้แก่ เพราะคำนึงถึงทานเป็นอารมณ์. อีก
อย่างหนึ่ง อธิบายว่า ความคำนึงถึงทานพึงมีแก่ทายก หรือว่า บุญของ

ทายกผู้คำนึงถึงทานนั้นย่อมเกิดติดต่อกันไป. แม้ในปัญหาทั้งหลาย มีคำว่า
แห่งผัสสะ 2 หรือ เป็นต้น ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มี
ผัสสะทั้ง 2 เป็นต้น ในขณะเดียวกันของทายก ย่อมตอบรับรอง หมาย
เอาผัสสะเป็นต้นอย่างละ 2 คือผัสสะของทายกและผู้บริโภค. อีกอย่างหนึ่ง
ลัทธิของปรวาทีนั้นว่า การประชุมพร้อมกันแห่งปัญจวิญญาณมีอยู่แก่
ทายก ดังนี้ จึงตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธินั้น. ลำดับนั้น สกวาที
จึงถามปัญหามีคำว่า กุศล เป็นต้น กะปรวาทีนั้น เพื่อปิดทวารแห่ง
การบรรยาย คือมิให้มีการพูดอ้อมค้อม แล้วก็ท้วงด้วยธรรมอันเป็นข้าศึก
แก่กันและกันโดยตรง. แม้ในปัญหาว่า กุศล เป็นต้นนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธ
หมายเอาความไม่มีการประกอบซึ่งกันและกัน แห่งกุศลและอกุศลใน
ขณะเดียวกัน แต่ตอบรับรองเพราะลัทธิว่า จิตอันสำเร็จด้วยการบริโภค
เป็นจิตที่ไม่ประกอบกัน. ทีนั้น สกวาทีจึงตำหนิปรวาทีนั้นด้วยพระสูตร.
ในการนำพระสูตรมาอ้างนั้น ปรวาทีกล่าวแล้วว่า บุญย่อมเจริญมาก
แก่ชนเหล่านั้นทุกเมื่อ หมายเอาบุญที่เกิดติดต่อกันไปด้วยสามารถแห่ง
การสร้างสถานที่ทั้งหลายมีการสร้างสวน เป็นต้น และด้วยสามารถแห่ง
การตามระลึกถึงกุศลทั้งหลาย อันมีการปฏิสังขรณ์เป็นต้น. คำว่า ห้วงน้ำ
คือบุญของบุคคลนั้นหาประมาณมิได้
แม้นี้ ปรวาทีกล่าวกำหนดเอาคำ
แห่งพระสูตรว่า ภิกษุเห็นปานนี้ ใช้สอยจีวรของเรา เพราะความที่เป็น
ปัจจัยอันเราถวายแก่ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความ
สามารถแห่งการแสดงความชื่นชม. ปรวาทีนั้นย่อมกำหนดบุญนั้นว่า
สำเร็จด้วยการบริโภค คือใช้สอย ดังนี้.
อันที่จริง ไทยธรรมที่ปฏิคาหกรับแล้วยังไม่บริโภคก็ตามที บุญ

นั้นย่อมเกิดแก่ทายกนั้นทั้งนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาทะของสกวาที
จึงนับว่ามีกำลังกว่า ในปัญหานั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า ไทยธรรม
อันปฏิคาหกรับแล้ว ของบทว่า ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว ดังนี้ คำ
ที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถาปริโภคมยปุญญกถา จบ

อิโตทินนกถา



[1153] สกวาที บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็นไปได้
ในปรโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เมื่อให้จีวรแก่โลกนี้ ก็บริโภคจีวรนั้นในปรโลกหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อให้บิณฑบาตแต่โลกนี้... เมื่อให้เสนาสนะแต่โลกนี้
... เมื่อให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขารแต่โลกนี้... เมื่อให้ของขบเคี้ยวแต่
โลกนี้... เมื่อให้ของกินแต่โลกนี้... เมื่อให้น้ำดื่มแต่โลกนี้ ก็บริโภคน้ำดื่ม
นั้นในปรโลกหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1154] ส. บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็นไปได้ในปรโลก
ด้วยทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้อื่นเป็นผู้กระทำแก่ผู้อื่น สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้
ผู้อื่นกระทำผู้อื่นให้เสวยผลหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1155] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็น
ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแก่โลกนี้หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พวกเปรต เห็นเขาให้ทานเพื่อประโยชน์แก่ตน ย่อม
อนุโมทนา ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ย่อมยังปีติให้เกิดขึ้น ย่อมได้โสมนัส มิใช่