เมนู

ญาณกถา



[1814] สกวาที ญาณไม่มีแก่ปุถุชนหรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความ
วิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด
เฉพาะ ไม่มีแก่ปุถุชน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไป
กำหนดรู้เฉพาะ ของปุถุชน มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความ
เข้าไปกำหนดเฉพาะ ของปุถุชน มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ญาณไม่มีแก่
ปุถุชน.
[1815] ส. ญาณไม่มีแก่ปุถุชน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า
ญาณไม่มีแก่ปุถุชน.
[1816] ส. ปุถุชนพึงเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
ฯลฯ พึงเข้าอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญาสัญายตนะ ปุถุชนพึงให้ทาน ฯลฯ พึงให้จีวร ฯลฯ พึงให้

บิณฑบาต พึงให้เสนาสนะ ฯลฯ พึงให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ปุถุชนพึงให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ก็ต้อง
ไม่กล่าวว่า ญาณไม่มีแก่ปุถุชน.
[1817] ป. ญาณของปุถุชนมีอยู่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปุถุชน กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย กระทำให้แจ้งซึ่ง
นิโรธ ยังมรรคให้เกิดด้วยญาณนั้น หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา



ว่าด้วย ญาณ



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ1. ในเรื่องนั้น ญาณ 2 คือ โลกิยญาณ
และโลกุตตรญาณ ญาณในสมาบัติก็ดี กัมมัสสกตาญาณที่เป็นไปด้วย
สามารถแห่งการให้ทานเป็นต้นก็ดี เรียกว่า โลกิยญาณ มัคคญาณอัน
กำหนดสัจจะก็ดี ผลญาณก็ดี เรียกว่า โลกุตตรญาณ. ก็ชนเหล่าใดไม่
ทำวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะว่า ญาณที่กำหนด
1. ไวพจน์ของญาณ คือ ปัญญา ความเข้าใจ ความวิจัย ความสอบสวน ความใคร่ครวญ ธัมมวิจยะ
คือความพิจารณาธรรม ความกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ.