เมนู

ศรัทธาที่เป็นโลกียะชื่อว่าเป็นศรัทธาเท่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์
วิริยะที่เป็นโลกียะสติที่เป็นโลกียะสมาธิที่เป็นโลกียะปัญญาที่เป็นโลกียะ ฯลฯ
ชื่อว่าเป็นปัญญาเท่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นปัญญินทรีย์ ดังนี้ คำถามของ
สกวาทหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า ศรัทธาที่เป็นโลกีย์ไม่มีหรือ เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดง
ซึ่งความที่ธรรมทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น แม้เป็นโลกีย์ก็ชื่อว่าเป็นอินทรีย์
ด้วยเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ยิ่ง มิใช่ธรรมอื่นนอกจากศรัทธาเป็นต้น
ชื่อว่าสัทธินทรีย์เป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลายมีศรัทธา
เป็นต้นนั่นแหละ แม้เป็นโลกิยะก็ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์ เป็นต้น. คำว่า
มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่ออธิบายเนื้อความนั้น
ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมาว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นมีมโนเป็นต้นเป็นโลกียะ
ก็ชื่อว่ามนินทรีย์เป็นต้น ฉันใด ธรรมทั้งหลายแม้มีศรัทธาเป็นต้น ที่เป็น
โลกียะก็ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์เป็นต้น ฉันนั้นดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ
ตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาอินทริยกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ



1.กิเลสชหนกถา1 2. สุญญตากถา 3. สามัญญผลกถา 4. ปัตติกถา
5. ตถตากถา 6. กุสลกถา 7. อัจจันตนิยามกถา 8. อินทริยกถา.
วรรคที่ 19 จบ

1. อรรถกถาว่า "กิเลสัปปชหนกถา."

วรรคที่ 20



อสัญจิจจกถา



[1809] สกวาที บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง โดยไม่ได้
เจตนา เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำปาณาติบาต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำ
อนันตริยกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ฯลฯ กล่าว
คำเท็จโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า กล่าวมุสาวาท หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1810] ส. บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า ทำ
ปาณาติบาต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า
ทำอนันตริยกรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ฯลฯ กล่าว
คำเท็จโดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า กล่าวมุสาวาท หรือ ?