เมนู

บุคคลบางคนในโลกนี้ ผุดขึ้นแล้วทรงตัวอยู่ ผุดขึ้นแล้วเห็นแจ้งเหลียวแล
ดูว่ายข้ามไป ผุดขึ้นแล้ว ไปถึงที่พำนักได้
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผุดขึ้นแล้ว ไปถึงที่พำนักได้ทุกครั้ง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัจจันตนิยามกถา จบ

อรรถกถาอัจจันตนิยามกถา



ว่าด้วย ความแน่นอนโดยส่วนเดียว



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความแน่นอนโดยส่วนเดียว คือนิยามอันเป็นที่สุด
มีอย่างเดียว. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะ
บางพวกว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว เพราะอาศัยพระสูตร
ว่า บุคคลนั้น คือผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศลเป็นธรรมดำโดยส่วน
เดียว เป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง
ดังนี้ คำถามของสกวาที
หมายชนเหล่านั้น คำตอบเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลผู้ทำมาตุฆาต
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า เมื่อมิจฉัตตนิยามแห่งนิยตมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลด้วย บุคคลผู้ทำกรรมทั้งหลายมีฆ่ามารดาเป็นต้นด้วย มีอยู่ แม้
บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นต้นเหล่านั้นก็พึงเป็นผู้แน่นอนที่สุดมิใช่หรือ ดังนี้.
ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะลัทธิว่า บุคคลผู้เป็น
นิยตมิจฉาทิฏฐินี้เป็นผู้มั่นคงในสังสารวัฏ เป็นผู้เที่ยงแท้แม้ในภพที่สอง
แต่ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้เที่ยงแท้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น ดังนี้.

คำว่า วิจิกิจฉาพึงเกิดแล้วแก่ผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ความว่า
สกวาทีย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้เป็นเที่ยงก็ตามไม่เที่ยงก็ตาม วิจิกิจฉา
ก็พึงเกิดอย่างนี้ ดังนี้. ปรวาทีเมื่อไม่เห็นเหตุอันไม่เกิดขึ้นของวิจิกิจฉา
จึงตอบรับรอง. ถูกถามว่า วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดแก่ผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว
หรือ
ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความไม่เกิดขึ้นของวิจิกิจฉาที่
บุคคลซ่องเสพทิฏฐิใดแล้วก้าวลงสู่นิยามในนิยามนั้น. แต่นั้นถูกถามว่า
ผู้นั้น ละวิจิกิจฉาได้หรือ ก็ตอบปฏิเสธเพราะความที่วิจิกิจฉานั้นละ
ไม่ได้ด้วยมรรค คือมิจฉามรรค แต่ก็ตอบรับรองว่าละได้ เพราะความ
ที่บุคคลปรารภทิฏฐินั้นแล้ว หมายเอาทิฏฐิเป็นประธาน มิได้หมายเอา
โมหะที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาก็ไม่เกิดขึ้น. ลำดับนั้น สกวาที
กล่าวคำว่า ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยอำนาจ
แห่งโสดาปัตติมรรคนั้น เพราะขึ้นชื่อว่าการละวิจิกิจฉานั้นถ้าเว้นจาก
อริยมรรคแล้วย่อมละไม่ได้ ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่
วิจิกิจฉานั้นละไม่ได้ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง และถูกถามอีกว่า ละได้ด้วย
มรรคไหน
ปรวาทีหมายเอามิจฉามรรค จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วย
มรรคฝ่ายอกุศล
ดังนี้.
คำว่า อุจเฉททิฏฐิเกิดแก่ผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิหรือ ความว่า
สกวาทีย่อมถามซึ่งความเกิดขึ้นแห่งนิยามที่ 2. ปรวาทีตอบรับรอง
เพราะพระบาลีว่า นัตถิกวาทะ อกิริยวาทะ อเหตุกวาทะเหล่านี้มีอยู่แก่
บุคคลผู้มีหูชัน คือหูชันหมายถึงการไม่รับรู้เหตุผลอะไรทั้งนั้น แม้เหล่าใด
เหล่านั้น นิยตมิจฉาทิฏฐิแม้ทั้ง 3 ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เดียวได้. ลำดับ
นั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า หากว่า เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ก็ชื่อว่า

บุคคลผู้หนึ่งผู้มีความเห็นผิดนั้นย่อมไม่ใช่ผู้เที่ยงที่สุดหรือ. จริงอยู่
นิยามที่ 2 มิใช่จุดหมายของผู้มีความเห็นว่าเที่ยงแท้. ในปัญหาว่า
อุทเฉททิฏฐิไม่พึงเกิด เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความ
ไม่เกิดขึ้นแห่งอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือเอาความเห็นว่า ความเที่ยงของ
สัสสตทิฏฐิอันใดมีอยู่ (อุจเฉท) ทิฏฐิอันนั้นแหละอันเขาขจัดเสียแล้ว.
ถูกถามว่า ละอุจเฉททิฏฐิได้หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะอุจเฉททิฏฐิ
นั้นยังไม่ได้ละด้วยมรรค และตอบรับรองว่าละได้เพราะความไม่เกิดขึ้น
โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว. แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า สัสสตทิฏฐิพึงเกิด
เป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในวาระว่าด้วย
วิจิกิจฉานั่นแหละ.
คำถามว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น เป็นของปรวาที. คำตอบรับรอง
ว่า ใช่ เพราะความที่พระสูตรเช่นนั้นมีอยู่ เป็นของสกวาที. ในอธิการ
นี้มีอธิบายว่า ก็บุคคลผู้ไม่จมลงแม้ในภพถัดไปนั่นแหละ มีอยู่ เพราะว่า
เขาเป็นอภัพพบุคคลไม่อาจเพื่อละทิฏฐินั้นในภพนี้เท่านั้น ดังนี้. เพราะ
ฉะนั้น พระสูตรนี้ไม่สำเร็จว่าความแน่นอนมีอย่างเดียว อีกอย่างหนึ่ง
นั้นหมายถึงอริยมรรค. คำว่าข้อกำหนดที่สุดมีอย่างเดียวนี้ ท่านกล่าว
เพื่อแสดงว่า ปรวาทีพึงแสวงหาอรรถกระทำซึ่งสักแต่คำว่า บุคคล
นั้นโผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงตลอดกาล ดังนี้ ให้เป็นที่อาศัยตั้งลัทธิ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
อรรถกถาอัจจันตนิยามกถา จบ

อินทริยกถา



[1801] สกวาที สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิริยินทรีย์ สัทธินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ปัญ-
ญินทรีย์ ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1802] ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัทธินทรีย์เป็นโลกิยะมี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะ
มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1803] ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.