เมนู

ส. ถูกแล้ว.
ป. การได้ เป็นไป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร
เป็นวิญญาณ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น การได้เป็นอสังขตะ น่ะสิ.
ปัตติกถา จบ

อรรถกถาปัตติกถา



ว่าด้วย ปัตติ คือการได้



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการได้. ในเรื่องนั้น บุคคลย่อมได้ซึ่งสิ่งใด ๆ
การได้ซึ่งสิ่งนั้น ๆ ชื่อว่า ปัตติ. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดว่า การได้
เป็นอสังขตะ ดังนี้ ดุจจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายนั่นแหละ คำถาม
ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือ
ในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลี เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง
นั่นแหละ.
คำว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น ปรวาทีกล่าวคำบัญญัติว่า ปัตติคือ
การได้จัดเป็นอสังขตะของลัทธิใดเพื่อประกาศลัทธินั้น. ในปัญหานั้น
สกวาทีปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น คือไม่รับรองซึ่งความที่การได้
ทั้งสิ้นว่าเป็นสภาวธรรมมีรูปเป็นต้น จริงอยู่ ธรรมอะไร ๆ ชื่อว่า ปัตติ
คือการได้หามีไม่ ทั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิทรงบัญญัติซึ่งความที่การ

ได้นั้นเป็นอสังขตะ. แต่ว่าปรวาทีได้ให้ลัทธิของตนตั้งอยู่ว่า ปัตติ คือการ
ได้นั้นเป็นอสังขตะด้วยเพียงการปฏิเสธสภาพธรรมดังกล่าวนั่นแหละ.
ลัทธินั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้เลยเพราะความเป็นลัทธิอันตั้งอยู่แล้วโดยไม่
พิจารณา ดังนี้แล.
อรรถกถาปัตติกถา จบ

ตถตากถา



[1785] สกวาที ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นอสังขตะ
หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นอสังขตะ
นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น 2 อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น 2 อย่าง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น 2 อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น 2 อย่าง
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1786] ส. รูปมีความเป็นรูป ความเป็นไปก็เป็นอสังขตะ มิใช่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็น อมตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปมีความเป็นไป ความเป็นไปก็เป็นอสังขตะ นิพพาน