เมนู

สามัญญผลกถา



[1779] สกวาที สามัญญผล เป็นอสังขตะ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง
เป็นที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สามัญญผล เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะเป็น 2 อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น 2 อย่าง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น 2 อย่าง ฯลฯ ที่เร้นก็เป็น 2 อย่าง
ที่พึ่งก็เป็น 2 อย่าง ที่หมายก็เป็น 2 อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น 2
อย่าง อมตะก็เป็น 2 อย่าง นิพพานก็เป็น 2 อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1780] ส. สามัญญผล เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สามัญญะ เป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สามัญญะ เป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. สามัญญผล เป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสดาปัตติผล เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสดาปัตติมรรค เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสดาปัตติมรรค เป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสดาปัตติผล เป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตผล เป็น
อสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อรหัตมรรค เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อรหัตมรรค เป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อรหัตผล เป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสดาปัตติผล เป็นอสังขตะ สกทาคามิผล ฯลฯ
อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตผล เป็นอสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น 5 อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น 5 อย่าง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทานเป็น 5 อย่าง ที่เร้นก็เป็น 5 อย่าง ที่พึ่ง
ก็เป็น 5 อย่าง ที่หมายก็เป็น 5 อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น 5 อย่าง
อมตะก็เป็น 5 อย่าง นิพพานก็เป็น 5 อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สามัญญาผลกถา จบ

อรรถกถาสามัญญผลกถา



ว่าด้วย สามัญญผล



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสามัญญผล คือผลแห่งความเป็นสมณะ. ในเรื่อง
นั้น การสันนิษฐาน คือการลงความเห็น ในลัทธิของสกวาทีว่า วิปากจิต
ของอริยมรรคในมัคควิถีก็ดี ในผลสมาบัติก็ดี ชื่อว่าสามัญญาผล
ดังนี้.
อนึ่ง ชนเหล่าใดไม่ถือเอาอย่างนั้น มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ
ทั้งหลายว่า การละกิเลสด้วย การเกิดขึ้นแห่งผลด้วยเป็นสามัญญผล
เหตุใด เพราะเหตุนั้น สามัญญผลนั้นจึงเป็นอสังขตะ คือพระนิพพาน.
ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลี เพราะมีนัยตามที่กล่าว
แล้วในหนหลังนั่นแล.
อรรถกถาสามัญญผลกถา จบ