เมนู

ปริโภคมยปุญญกถา



[1145] สกวาที บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา สำเร็จ
แต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1146] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เจริญได้ดุจเครือเถา ดุจเครือเถาย่างทราย ดุจต้นไม้
ดุจหญ้า ดุจแพแห่งหญ้าปล้อง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1147] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทายกให้ทานแล้วไม่สนใจก็เป็นบุญได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นได้แก่ผู้ไม่นึก เป็นได้แก่ผู้ไม่กังวล เป็นได้แก่ผู้ไม่
สนใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่กระทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่จงใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่
ปรารถนา เป็นได้แก่ผู้ไม่ตั้งใจ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุญเป็นได้แก่ผู้นึกถึง เป็นได้แก่ผู้กังวล เป็นได้แก่
ผู้สนใจ เป็นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้จงใจ เป็นได้แก่ผู้ปรารถนา

เป็นได้แก่ผู้ตั้งใจ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุญเป็นได้แก่ผู้นึกถึง เป็นได้แก่ผู้กังวล เป็น
ได้แก่ผู้สนใจ เป็นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้จงใจ เป็นได้แก่ผู้ปรารถนา
เป็นได้แก่ผู้ตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้
[1148] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทายกถวายทาน ตรึกกามวิตกอยู่ ตรึกพยาบาทวิตก
อยู่ ตรึกวิหิงสาวิตกอยู่ ก็เป็นบุญได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ
ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ
ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
4 ประการนี้ไกลกัน ไกลกันนัก 4 ประการเป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้

ประการแรก ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ฝั่งข้างนี้และฝั่งข้างโน้นแห่งสมุทร
นี้ประการที่ 2 ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก แดนอาทิตย์อุทัย และด้าวอัสดงคต
นี้ประการที่ 3 ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของ
อสัตบุรุษ นี้ประการที่ 4 ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
4 ประการนี้แล ไกลกัน ไกลกันนัก
.
ท้องฟ้ากับแผ่นดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทรเขาก็ว่าไกลกัน แดนอาทิตย์
อุทัย และด้าวอัสดงคต ก็ไกลกัน ธรรมของสัตบุรุษ กับธรรมของอสัตบุรุษ
กล่าวได้ว่า ไกลกันกว่านั้นอีก
.
สมาคมของพวกสัตบุรุษ ยั่งยืน คงที่ อยู่ได้แม้ตลอดกาล ที่ดำรง
ชีพอยู่ แต่สมาคมของพวกอสัตบุรุษ ย่อมเสื่อมไปเร็วแท้เพราะฉะนั้น
ธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้
1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว
มารวมกันได้
[1149] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใด ปลูก
สร้างสวน ปลูกสร้างป่า สร้างสะพาน ขุดบ่อน้ำ สระน้ำ สร้างที่พักอาศัย
ให้เป็นทาน บุญย่อมเจริญมากแก่ชนเหล่านั้นทุกเมื่อ ทั้งกลางวันกลางคืน


1. จตุกฺก 21/57.

ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมจะไปสู่สวรรค์ ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุญก็สำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้น่ะสิ.
[1150] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล 4 ประการนี้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์
งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไปพร้อมเพื่อผล
อันน่าปรารถนา เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์
เพื่อความสุข 4 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อบริโภค
จีวรของบุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำ
คืออกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม
มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไปพร้อมเพื่อผลอันน่า
เมื่อบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของบุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณ
มิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้
นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์
ย่อมเป็นไปเพื่อพร้อมเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ
ห้วงน้ำคือกุศล 4 ประการนี้แล นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุข


1. ส.ส. 15/146.

เป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา
เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุญก็สำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้น่ะสิ.
[1151] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทายกให้ทาน ปฏิคาหกรับแล้วไม่บริโภค แต่ทิ้งเสีย
สละเสีย เป็นบุญได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ทายกให้ทาน ปฏิคาหกรับแล้วไม่บริโภค แต่
ทิ้งเสีย สละเสีย เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค
เจริญได้
[1152] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทายากให้ทาน ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว พระราชา
ริบไปเสีย หรือโจรลักไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย หรือ
ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักนำไปเสีย เป็นบุญได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ทายกให้ทาน ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว พระ

1. องฺ จตุกฺก 21/51.

ราชาริบไปเสีย หรือโจรลักไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย
หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักนำไปเสีย ก็เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญ
สำเร็จแต่การบริโภค ย่อมเจริญได้
ปริโภคมยปุญญกถา จบ

อรรถกถาปริโภคสมปุญญกถา



ว่าด้วย บุญสำเร็จแต่การบริโภค



บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบุญสำเร็จแต่การบริโภค คือการใช้สอย. ในปัญหา
นั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะ
ทั้งหลายว่า บุญชื่อว่า สำเร็จแต่การบริโภคมีอยู่แก่ชนทั้งหลาย เพราะ
ถือเอาพระสูตรทั้งหลายว่า บุญย่อมเจริญมากแก่ทายกเหล่านั้นทุกเมื่อ
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน และพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ
บริโภคจีวรของบุคคลใดเป็นต้น ดังนี้ โดยไม่พิจารณา คำถามของสกวาที
ว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง
เป็นของปรวาที. ลำดับนั้นสกวาที จึงเริ่มกล่าวคำว่า ผัสสะสำเร็จแต่การ
บริโภค
เป็นต้น เพื่อจะท้วงด้วยคำว่า กุศลธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น.
ชื่อว่าบุญ นอกจากนี้ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ท่านพึงยังผัสสะเป็นต้นให้เจริญ
ได้หรือ ดังนี้. คำนั้นทั้งหมดปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะไม่ใช่เจริญบุญให้
ทายกเหล่านั้น. คำทั้งหลายมีคำว่า เจริญได้ดุจเครือเถา เป็นต้น สกวาที
กล่าว เพื่อท้วงด้วยคำว่า เครือเถาเป็นต้น แม้เว้นจากการบำรุงหรือการ
ทำให้เจริญ ย่อมเจริญเองได้นั่นแหละ ฉันใด ตามลัทธิของท่าน บุญทั้งหลาย