เมนู

ส. จตุตถฌาน ก็สหรคตด้วยสุข หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ตติยฌานอันนั้น จตุตถฌานก็อันนั้นแล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1754] ป. ไม่พึงกล่าวว่า โยคีบุคคลเลื่อนสู่ฌานอันหนึ่งจาก
ฌานอันหนึ่ง หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามเทียว ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น โยคีบุคคลก็เลื่อนสู่ฌานหนึ่งจากฌาน
หนึ่ง น่ะสิ.
ฌานสังกันติกถา จบ

อรรถกถาฌานสังกันติกถา



ว่าด้วย การเลื่อนฌาน



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการเลื่อนฌาน คือการเปลี่ยนจากฌานหนึ่งไปสู่
ฌานหนึ่ง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจจลัทธินิกายมหิสสาสกะ
และนิกายอันธกะบางพวกว่า โยคีบุคคลย่อมเลื่อนจากฌานมาสู่ฌาน

โดยเว้นจากความเป็นไปแห่งอุปจาระของฌานนั้น ๆ เพราะอาศัยการ
แสดงฌานโดยลำดับว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด
แล้วจากกามทั้งหลายเทียว ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่ เพราะวิตกวิจาร
สงบ ฯลฯ เข้าถึงทุติยฌาน ฯลฯ เข้าถึงตติยฌาน ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌาน
อยู่
ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เลื่อนสู่ตติยฌานจากปฐมฌาน
เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า บุคคลไม่บรรลุอุปจาระแห่งทุติยฌานย่อม
เลื่อนจากปฐมฌานเข้าสู่ทุติยฌานโดยผิดระเบียบไซร้ บุคคลก็พึง
เลื่อนจากปฐมฌานเข้าตติยฌาน จากทุติยฌานเข้าแม้จตุตถฌานได้
ดังนี้.
คำว่า ความนึก...ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌาน
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า บุคคลย่อมเข้าทุติยฌานถัดจาก
ปฐมฌาน หรือเข้าตติยฌานเป็นต้นซึ่งต่อจากทุติยฌานเป็นต้นได้ไซร้
บุคคลก็พึงเข้าฌานได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว คือหมายความว่า ความนึก
ครั้งเดียวเข้าฌานได้ทุกฌาน ได้. คำว่า ผู้กระทำไว้ในใจซึ่งกามทั้งหลาย
โดยความเป็นของมีโทษ
อธิบายว่า เมื่อพระโยคีมนสิการกามทั้งหลาย
โดยความเป็นโทษอยู่ ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นในภายหลัง แต่ในขณะแห่ง
ฌาน นิมิตนั้นนั่นแหละย่อมเป็นการกระทำไว้ในใจ.
คำว่า ปฐมฌานอันนั้น เป็นต้น สกวาทีย่อมถามเพื่อท้วงด้วย
คำว่า ถ้าว่าฌานนั้นนั่นแหละเว้นเบื้องต้นและเบื้องปลายพึงมีได้โดย
ลักษณะไซร้ ฌานนั้น ก็พึงเกิดได้ตามลำดับ ดุจชวนจิตดวงสุดท้ายเกิด
เพราะอาศัยชวนจิตดวงก่อน. พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้.

พระสูตรนี้ย่อมแสดงความที่ฌานทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ไว้โดยลำดับด้วยคำว่า สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเทียว เป็นต้น มิใช่
แสดงถึงความเกิดขึ้นแห่งฌานอันติดต่อกันไป โดยเว้นมนสิการ เพราะ
ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่าอุปจารฌานไม่มี ดังนี้แล.
อรรถกถาฌานสังกันติกถา จบ

ฌานันตริกกถา



[1755] สกวาที ฌานคั่นมีอยู่ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะคั่นมีอยู่ หรือ ฯลฯ ปัญญาคั่นมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ฌานคั่นมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ฌานคั่นมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างตติยฌานและจตุตถฌาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1756] ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ฌานคั่นไม่มีในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน
ก็ต้องไม่กล่าวว่าฌานคั่นมีอยู่.
ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างตติยฌานและจตุตถฌาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ฌานคั่นไม่ มีในระหว่างตติยฌาน และจตุตถฌาน
ก็ต้องไม่กล่าวว่า ฌานคั่นมีอยู่.
[1757] ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ ?