เมนู

ทักขิณาวิสุทธิกถา



[1729] สกวาที ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์
ได้โดยปฏิคคาหกหรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ปฏิคคาหกบางพวก ที่เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควร
ของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญ
ชั้นเยี่ยมของโลกมีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ปฏิคคาหกบางพวก ที่เป็นผู้ควรของบูชา
เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็น
เนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ท่านบริสุทธิ์ได้โดย
ทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.
[1730] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้
โดยปฏิคคาหก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ 4 บุคคล 8
ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ 4
บุคคล 8 ว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์
ได้โยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.
[1731] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้

โดยปฏิคคาหก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนบางพวกให้ทานในพระโสดาบัน แล้วชื่นชมบุญ
มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ชนบางพวกให้ทานในพระโสดาบันแล้วชื่นชม
บุญมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์
ได้โดยปฏิคคาหก.
ส. ชนบางพวกให้ทานแก่พระสกทาคามี ฯลฯ แก่พระ-
อนาคามี ฯลฯ แก่พระอรหันต์ แล้วชื่นชมบุญ มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ชนบางพวกให้ทานแก่พระอรหันต์ แล้วชื่นชม
บุญมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์
ได้โดยปฏิคคาหก
[1732] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์
ได้โดยทายกหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้อื่นเป็นผู้ทำแก่ผู้อื่น สุขทุกข์อันคนอื่นทำให้ ผู้หนึ่ง
ทำ แต่อีกผู้หนึ่งรับผลหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดย
ปฏิคคาหกหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์
ทักษิณาวิสุทธิมี 4 อย่าง. 4 อย่าง เป็นไฉน ? ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางทายก
แต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกมีอยู่ ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่
ไม่บริสุทธิ์ทางทายก มีอยู่ ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทาง
ปฏิคคาหก มีอยู่ ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกมีอยู่
ก็ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางทายกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายก
ในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคคาหก เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม
ทักษิณาบริสุทธิ์ทางทายกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหก อย่างนี้แล ก็
ทักษิณาบริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางทายกอย่างไร ทายกใน
โลกนี้ เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม แต่ปฏิคคาหกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม
ทักษิณาบริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางทายก อย่างนี้แล ก็
ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายกในโลกนี้
เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ปฏิคคาหก ก็เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ทักษิณา
ไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างนี้แล ก็ทักษิณาบริสุทธิ์
ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีลมี
กัลยาณธรรม ปฏิคคาหกก็เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ทักษิณาบริสุทธิ์
ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างนี้แล ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาวิสุทธิ
มี 4 อย่าง ฉะนี้แล
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดย

1. ม.อุ.14/714-8.

ทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.
ทักขิณาวิสุทธิกถา จบ

อรรกถาทักขิณาวิสุทธิกถา



ว่าด้วย ทักขิณาวิสุทธิ



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทักขิณา (ทาน) วิสุทธิ คือความบริสุทธิ์แห่ง
ทักขิณาคือทาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกาย
อุตตราปถกะทั้งหลายว่า ถ้าว่า ทักขิณาพึงบริสุทธิ์คือพึงมีผลมากเพราะ
ปฏิคคาหกไซร้ ทานที่ทายกให้แล้ว ย่อมเป็นวิบากอันสำเร็จแล้วด้วย
ปฏิคคาหก ด้วยประการฉะนี้ บุคคลอื่นก็พึงทำบุคคลอื่นได้ คือว่าบุคคล
พึงถึงสุขและทุกข์ อันบุคคลอื่นกระทำให้ ผู้ทำคนหนึ่ง ผู้รับผลคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น ทานย่อมบริสุทธิ์เพราะทายกเท่านั้นย่อมไม่บริสุทธิ์เพราะ
ปฏิคคาหก จิตตวิสุทธิ์ของทายกเหล่านั้นย่อมให้ซึ่งวิบาก ดังนี้ คำถาม
ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า ปฏิคคาหกบางพวกที่เป็นผู้ควรบูชา อาหุเนยฺโย เป็นต้น
สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าทานไม่พึงบริสุทธิ์เพราะปฏิคคาทกไซร้
ความที่พระอริยบุคคลผู้ควรแก่การบูชาเป็นต้นจะพึงทำประโยชน์อะไร.
คำว่า ผู้อื่นเป็นผู้ทำแก่ผู้อื่น อธิบายว่า ถ้าว่า ทานเจตนาของทายกที่
ปฏิคคาหกทำเหมาะสมแล้วไซร้ ก็ทานเจตนาอันบริสุทธิ์ของทายกนั้น
ก็ต้องอาศัยวัตถุ กล่าวคือปฏิคคาหกแล้วจึงบริสุทธิ์เพราะอรรถว่ามีผล
มาก เพราะฉะนั้น ปัญหานั้นจึงไม่มีการท้วงในคำว่า ทานย่อมบริสุทธิ์
คือมีผลมาก เพราะปฏิคคาหก
ด้วยประกการฉะนี้.
อรรถกถาทักขิณาวิสุทธิกถา จบ