เมนู

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ทุกข์เนื่องด้วยอินทรีย์ อันพระอริยะกำหนดรู้แล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นอีก ฉันใด ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ อันพระอริยะกำหนด
รู้แล้ว ก็ไม่เกิดขึ้นอีกฉันนั้น หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ก็สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น เป็นทุกข์
น่ะสิ.
อินทริยพัทธกถา จบ

อรรถกถาอินทริยพัทธกถา



ว่าด้วย สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์. ในปัญหานั้น
ทุกข์มี 2 คือ อินทริยพัทธทุกข์ คือสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์ และ
อนินทริยพัทธทุกข์ คือสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์ ก็อินทริยพัทธะ
ชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์ อนินทริยพัทธะชื่อว่าเป็น
ทุกข์ เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไว้ในคำว่า สิ่งใด
ไม่เที่ยงสิ่งนั้นชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและความดับ
บีบคั้น
ดังนี้. ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกาย
เหตุวาทะทั้งหลายว่า การประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักแห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเพื่อกำหนดรู้ทุกข์อันใด ทุกข์อันนั้นเป็นอินทริยพัทธทุกข์นี้
เท่านั้น มิใช่ทุกข์อื่นนอกจากนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า สิ่งที่เนื่อง
ด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์หรือ
เพื่อแสดงซึ่งความที่อนินทริยพัทธะ

คือสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ แม้นอกนี้ก็เป็นทุกข์ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า
สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นไม่เที่ยง ดังนี้ เพื่อท้วงด้วยคำว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ เหตุใด เพราะเหตุนั้น
อินทริยพัทธทุกข์เท่านั้นพึงเป็นสภาพไม่เที่ยงหรือ ดังนี้. คำว่า สิ่งที่ไม่
เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง....มิใช่หรือ
อธิบายว่า แม้อนินทริยพัทธะ
เช่น แผ่นดิน ภูเขา แผ่นหิน เป็นต้น ก็ไม่เที่ยงมิใช่หรือ.
ในปัญหาว่า ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็น
ทุกข์หรือ
คำตอบรับรองว่า ใช่ เป็นของสกวาที. จริงอยู่ อินทริยพัทธทุกข์
ย่อมเป็นอารมณ์ของทุกขโทมนัสทั้งหลาย. อันที่จริง ไฟในฤดูร้อนก็ดี
ลมในฤดูหนาวก็ดีก็เป็นอารมณ์ของทุกข์ ความฉิบหายแห่งโภคะเป็นต้น
ก็เป็นอารมณ์ของโทมนัสเสมอไป เพราะฉะนั้น แม้เว้นจากอินทริยพัทธทุกข์
เสียแล้ว ก็พึงกล่าวได้ว่า อนินทริยพัทธะเป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็น
สภาพไม่เที่ยง แต่ไม่ควรกล่าวว่า เป็นทุกขอริยสัจ เพราะความเป็นทุกข์
ไม่เกิดจากกรรมและกิเลสทั้งหลาย และเพราะความที่บุคคลไม่พึงกำหนด
รู้ได้ด้วยมรรค. อนึ่ง ความดับสลายไปแห่งหญ้าและต้นไม้เป็นต้น หรือ
ความดับสลายไปแห่งพืชที่เกิดตามฤดูกาลเป็นต้นย่อมไม่ชื่อว่าเป็น
ทุกขนิโรธอริยสัจ เหตุใด เพราะเหตุนั้น อินทริยพัทธะเท่านั้นเป็นทุกข์
ด้วย เป็นอริยสัจจะด้วย แต่อนินทริยพัทธะนี้เป็นแต่เพียงทุกข์เท่านั้นไม่
เป็นอริยสัจ ดังนั้น สกวาทีเพื่อจะแสดงทุกข์ทั้ง 2 ที่ต่างกันนี้ จึงตอบ
รับรองว่า ใช่ พระบาลีว่า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์อันเนื่องด้วยอินทรีย์
เป็นต้น ย่อมแสดงถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการกำหนดรู้

อินทริยพัทธทุกข์โดยการทำไม่ให้เกิดขึ้นอีกของผู้ที่กำหนดรู้แล้ว. ด้วย
เหตุนั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงปฏิเสธในปัญหานั้น. อันที่จริง ใคร ๆ ไม่อาจ
เพื่อปฏิเสธความที่อนินทริยพัทธทุกข์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์
ไว้ด้วยคำว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นชื่อว่าเป็นทุกข์ ดังนี้ เพราะฉะนั้น
คำนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ว่าไม่เป็นทุกข์ ดังนี้แล.
อรรถกถาอินทริยพัทธกถา จบ

ฐเปตวา อริยมัคคันติกถา



[1705] สกวาที เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อริยสัจมี 3 เท่านั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อริยสัจมี 3 เท่านั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอริยสัจไว้ 4 คือ ทุกข์
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็ต้องไม่กล่าวว่า อริยสัจ
มี 3 เท่านั้น
[1706] ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โดยอรรถว่าอย่างไร.
ป. โดยอรรถว่า ไม่เที่ยง.
ส. อริยมรรคไม่เที่ยง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อริยมรรคเป็นทุกข์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ