เมนู

ทานกถา



[1139] สกวาที ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่น ๆ ก็ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่น ๆ ก็ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จะให้ผัสสะแก่คนอื่น ๆ ก็ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่น ๆ ก็ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1140] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือเจตสิกธรรม หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ทาน มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่
เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ
มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผล

เป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา
และ ทานก็คือจีวร หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จีวร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ
มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา
และ ทานก็คือ บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีผลน่าปรารถนา มีผล
น่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1141] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ
ศรัทธา หิริ และทานที่เป็นกุศล ไปตามสัตบุรุษ ธรรม 3 ประการนี้แล
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า เป็นทางไปสู่เทวโลก เพราะบุคคลไปสู่เทวโลก
ได้ด้วยธรรม 3 ประการนี้ ดังนี้
1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

1. องฺ. อฏฺฐก 23/122.

ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ.
[1142] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ทาน 5 ประการนี้ เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ
ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายมิได้ลบล้าง
ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ทาน 5 เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละปาณาติบาต เป็นผู้เว้น
ขาดแล้วจากปาณาติบาต อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ชื่อว่า
ให้อภัย ให้ความเป็นผู้ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณ
มิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความเป็นผู้ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์
หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร
ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้นี้เป็นทานข้อแรก ซึ่งเป็นทานใหญ่
ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อัน
สมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายมิได้ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จัก
ไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อริยสาวก
ละอทินนาทาน ฯลฯ ละกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ ละมุสาวาท ฯลฯ ละฐานะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือดื่มสุราเมรัย เป็นผู้เว้นขาดแล้วจาก
อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ
ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราเมรัย ชื่อว่า ให้อภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่

เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความไม่มีเวณ ให้
ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง
ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ นี้เป็น
ทานข้อคำรบ 5 ซึ่งเป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ
ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์และผู้รู้ทั้งหลาย มิได้
ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ทาน 5 ประการนี้แล เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ
ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์ทั้งหลาย มิได้ลบล้าง ไม่
เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว
ดังนี้1 เป็นสูตร
มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ.
[1143] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ ไทยธรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ย่อมให้ข้าว ให้น้ำ ให้ผ้า ให้ยาน ให้ดอกไม้ ให้ของหอม ให้เครื่อง
ลูบไล้ ให้ที่นอน ให้ที่พัก ให้เครื่องประทีป
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ทาน คือ ไทยธรรม น่ะสิ.

1. องฺ. อฏฺฐก 23/129.

[1144] ป. ทาน คือ ไทยธรรม หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ไทยธรรม มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็น
ที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ทานมีผลน่าปรารถนา
และ ทาน ก็คือ จีวร หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. จีวร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ
มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ทานมีผลน่าปรารถนา
และ ทานก็คือ บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีผลน่าปรารถนา มีผล
น่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ ไทยธรรม
ทานกถา จบ

อรรถกถาทานกถา



ว่าด้วย ทาน



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทาน. ในเรื่องนั้น ชื่อว่าทานมี 3 อย่าง คือ
จาคเจตนา วิรติ ไทยธรรม. ทานชื่อว่า จาคเจตนา มีที่มาในคำว่า ศรัทธา
หิริ และทานที่เป็นกุศล. ทานชื่อว่า วิรติ มีที่มาในคำว่า พระอริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณ
มิได้ วิรติทาน คือ วิรตีเจตสิก 3 อันเป็นเหตุงดเว้นจากอกุศลทุจริตนั้น
ในอัฏฐกนิบาตอังคุตตรนิกายเรียกทานนี้ว่า มหาทานที่ 1. ทานชื่อว่า
ไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ มีที่มาในคำว่า บุคคลย่อมให้ทาน คือ
ข้าวน้ำ เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในทานเหล่านี้ต่อไป บุคคลย่อมให้วัตถุ
อันควรให้เพราะจาคเจตนา ฉะนั้นจาคเจตนาจึงชื่อว่า ทาน อีกอย่างหนึ่ง
ชนทั้งหลายย่อมให้วัตถุที่พึงให้ด้วยจาคเจตนานี้ เพราะเหตุนั้น จาคเจตนานี้
จึงชื่อว่าทาน. วิรติ ชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่าการตัดหรือเพราะอรรถ
ว่าการทำลาย ซึ่งอกุศลจิต จริงอยู่วิรติทานนั้น เมื่อเกิดขึ้นย่อมตัดหรือ
ทำลายเจตนาอันเป็นเหตุทุศีลที่บัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าเป็นผู้มีความกลัวภัย
เป็นต้น. ไทยธรรมอันใด อันเขาย่อมให้เพราะเหตุนั้น ไทยธรรมนั้น จึง
ชื่อว่า ทาน ได้แก่ไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ ทานแม้ทั้ง 3 อย่างมี
ประการยังกล่าวมานี้ เมื่อว่าโดยอรรถก็มีอยู่เพียง 2 อย่าง คือ เจตสิกธรรม
และไทยธรรม.
ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ
และสิทธัตถิกะทั้งหลายว่า เจตสิกธรรมเท่านั้นเป็นทานไทยธรรม คือ