เมนู

ป. ถ้าอย่างนั้น นิยามก็เป็นอสังขตะน่ะสิ.
ส. เมื่อมิจฉัตตนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลเป็นไม่แน่นอน
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น มิจฉัตตนิยาม ก็จะเป็นอสังขตะไปน่ะสิ.
นิยามกถา จบ

อรรถกถานิยามกถา



ว่าด้วย นิยาม



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยาม นิยามเป็นอสังขตะ. ในปัญหานั้น ท่านเรียก
อริยมรรคว่า นิยาม เพราะพระบาลีว่า บุคคลผู้สามารถเพื่อก้าวลงสู่นิยาม
อันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลายดังนี้. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ
นิกายอันธกะทั้งหลายว่า เมื่อนิยามนั้นเกิดขึ้นและดับไปแล้วก็ดี บุคคลนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นไม่เที่ยงก็หาไม่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น นิยามที่เกิดขึ้นแก่บุคคล
นั้น จึงชื่อว่าเป็นอสังขตะ คือ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะอรรถว่าเป็นของเที่ยง
ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
ต่อจากนั้นเมื่อสกวาที่จะแสดงว่า ผิว่า นิยามนั้นเป็นอสังขตะไซร้ นิยามนั้น
ก็พึงมีอย่างนี้ จึงกล่าวคำว่า เป็นนิพพาน เป็นต้น. คำถามเปรียบเทียบมี
อรรถง่ายทั้งนั้น. คำว่า บุคคลบางพวกก้าวล่วงสู่นิยาม เป็นต้น สกวาทีกล่าว
เพื่อแสดงความเป็นสังขตะของนิยาม ฯ ในปัญหาว่า มรรคป็นอสังขตะหรือ
เป็นต้น ปรวาทีย่อมปฏิเสธ เพราะมรรคนั้นยังมีการเกิดและการดับ. ในปัญหา
ว่า นิยามเป็นสังขตะหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอานิยามในมรรคแม้