เมนู

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตได้ อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 3 ฯลฯ แห่งจิต 3 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ
[1658] ป. ไม่พึงกล่าวว่ามนสิการรวบยอดได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อใดเห็นด้วย
ปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทาง
แห่งวิสุทธิ เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น
ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ
ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว
ป. ถ้าอย่างนั้นก็มนสิการรวบยอดได้น่ะสิ.
อธิคคัยหมนสิการกถา จบ

อรรถกถาอธิคคัยหมนสิการกถา



ว่าด้วย มนสิการรวบยอด



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องมนสิการรวบยอด คือ การรวบรวมสังขารมา
พิจารณา. ในเรื่องนั้น มนสิการ มี 2 คือ นยโตมนสิการ และ อารัมมณโต-

1. ขุ.ธ. 25/30.

มนสิการ. ในมนสิการ 2 นั้น เมื่อบุคคลเห็นแม้สังขารอันหนึ่งโดยความ
เป็นของไม่เที่ยงแล้ว เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามนสิการในสังขารทั้งหลายที่เหลือ
ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า นยโตมนสิการ ก็เมื่อผู้ใดมนสิการ
สังขารทั้งหลายอันเป็นอดีต เขาย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการสังขารทั้งหลาย
อันเป็นอนาคตได้ เพราะมนสิการสังขารอย่างใดอย่างหนึ่งในสังขารที่
เป็นอดีตเป็นต้น จึงชื่อว่า อารัมมณโตมนสิการ. บรรดามนสิการเหล่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการในปัจจุบัน ย่อมมนสิการสังขารทั้งหลายด้วยจิตใด
แต่จิตนั้นย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการในปัจจุบันขณะได้.
ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ
ทั้งหลายว่า บุคคลชื่อว่ามนสิการสังขารทั้งหลาย โดยการยึดถือเอา
รวบยอด คือรวบรวมแล้วจึงมนสิการสังขารทั้งปวงโดยเป็นอันเดียวกัน
ดังนี้ เพราะอาศัยคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นต้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงโดยความที่บุคคลย่อมมนสิการสังขาร
ทั้งปวงเหล่านั้น โดยมนสิการรวมกันด้วยจิตใจ พึงมนสิการซึ่งจิตนั้นด้วย
มนสิการนั้นหรือ ? จึงกล่าวคำว่า รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นได้หรือ
เป็นต้น. คำตอบปฏิเสธโดยหมายเอาว่า ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อรู้เพราะ
กระทำให้เป็นอารมณ์. แต่ตอบรับรองโดยหมายเอาว่า จิตแม้นั้น ย่อมรู้
นั่นแหละเพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติรู้ว่า จิตมีลักษณะอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธด้วยคำว่า จิตนั้นนั่นแหละ
ไม่เป็นอารมณ์ของจิตนั้น แต่ย่อมตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิที่เกิด
ขึ้นแล้ว เพราะอาศัยพระบาลีว่า เมื่อใดย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร

ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นต้น. แม้อีก 2 ปัญหาที่เหลือก็นัยนี้. ส่วนในคำ
ทั้งหลายว่า ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็น
พระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในปัญหาทั้งหลาย
มีอดีตกาลเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบการปฏิเสธ และคำตอบรับรองโดยนัย
ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. คำที่เหลือพึงทราบตามบาลีนั่นแหละ. พระบาลี
ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นต้น ท่านกล่าวไว้โดยหมายถึง
การเห็นโดยนัย มิใช่การเห็นโดยอารมณ์ในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น
คำนั้น จึงมิใช่ข้ออ้างที่ยกมาพิสูจน์ว่า เป็นการมนสิการโดยอารมณ์ ดังนี้.
อรรถกถาอธิคคัยหมนสิการกถา จบ

รูปังเหตูติกา
[1659] สกวาที รูปเป็นเหตุ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นเหตุ คือ อโลภะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นเหตุ คือ อโทสะ ฯลฯ เป็นเหตุ คือ อโมหะ เป็น
เหตุ คือ โลภะ เป็นเหตุ คือ โทสะ เป็นเหตุ คือ โมหะ หรือ ?
ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นเหตุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
แห่งรูปนั้นมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
แห่งรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นเหตุ.
[1660] ป. อโลภะเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. รูปเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโทสะเป็นเหตุ อโมหะเป็นเหตุ โลภะเป็นเหตุ โทสะ
เป็นเหตุ โมหะเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
แห่งโมหะนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ
ตั้งใจแห่งรูป นั้นมีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1661] ส. รูปเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโลภะเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก
ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น ไม่มีหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโทสะเป็นเหตุ อโมหะเป็นเหตุ โลภะเป็นเหตุ โทสะ
เป็นเหตุ โมหะเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ
ตั้งใจแห่งโมหะนั้น ไม่มีหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[1662] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นเหตุ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นเหตุ โดยเป็นที่อาศัยแห่ง
อุปาทายรูปทั้งหลาย มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า มหาภูตเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูป
ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นเหตุ.
รูปังเหตูติกถา จบ

อรรถกถารูปัง เหตูติกถา


ว่าด้วย รูปเป็นเหตุ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นเหตุ. ในเรื่องนั้น คำว่า เหตุ ได้แก่
เหตุที่เป็นชื่อของเหตุมีกุสลมูลเป็นต้นบ้าง ที่เป็นชื่อของปัจจัยอย่างใด
อย่างหนึ่งบ้าง. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะ
ทั้งหลายว่า รูปเป็นเหตุโดยไม่แปลกกันเลย โดยอาศัยพระบาลีว่า
มหาภูตรูป 4 เป็นเหตุของอุปาทารูป ดังนี้ เพราะไม่แยกเนื้อความอย่างนี้
คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า เป็นเหตุคือโลภะ ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า รูปเป็นอโลภเหตุ
หรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ. แม้ในปัญหาที่เหลือก็นัยนี้.
ในคำว่า มหาภูตรูปทั้งหลายเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทารูป
ทั้งหลาย
นี้ ท่านกล่าวถึงความเป็นเหตุเพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย มิได้
กล่าวความเป็นเหตุเพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะฉะนั้น พระบาลีนั้น จึง
มิใช่ข้อพิสูจน์รับรองในปัญหาข้อนี้ ดังนี้แล.
อรรถกถารูปังเหตูติกถา จบ