เมนู

เจตสิกกถา



[1136] สกวาที เจตสิกธรรมไม่มีหรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต
เกิดกับดับพร้อม มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิตมีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน
สัมปยุต เกิดกับดับพร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิต
มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตสิกธรรมไม่มี.
[1137] ส. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง
ต้องกล่าวว่า ผัสสะเป็นเจตสิก.
ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ฯลฯ สัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เกิดร่วมกับจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า อโนตตัปปะ เป็นเจตสิก.
ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิก
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับผัสสะ ก็ชื่อว่า

ผัสสสิกหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิก
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ส. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ กับ
สัญญา ฯลฯ กับเจตนา ฯลฯ กับสัทธา กับวิริยะ กับสติ กับสมาธิ กับ
ปัญญา กับราคะ กับโทสะ กับโมหะ ฯลฯ กับอโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า อโนต-
ตัปปสิก หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ส. เจตสิกธรรมไม่มีหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า จิตนี้และบรรดา
เขตสิก ธรรมย่อมปรากฏแก่ผู้ทราบชัดโดยความเป็นอนัตตา ครั้นทราบ
ชัดธรรมทั้ง 2 นั้น ทั้งที่หยาบและประณีตแล้ว ก็เป็นผู้มีความเห็นโดย
ชอบ ทราบชัดว่ามีอันแตกดับเป็นธรรมดา
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่น่ะสิ.
[1138] ส. เจตสิกธรรมไม่มีหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนเกวัฏฏะ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายได้แม้ซึ่งจิต แม้ซึ่งการที่ตรึก แม้
ซึ่งการที่ตรอง ของสัตว์อื่น ๆ ของบุคคลอื่น ๆ ว่าใจของเป็นอย่างนี้
บ้าง ใจของท่านเป็นโดยประการนี้บ้าง จิตของท่านเป็นฉะนี้บ้าง
ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่ น่ะสิ.
เจตสิกกถา จบ

อรรถกถาเจตสิกกถา



ว่าด้วย เจตสิก



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเจตสิก คือสภาวธรรมที่ประกอบจิต. ในเรื่องนั้น
ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะ
ทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ผัสสิกะ คือธรรมที่ประกอบกับผัสสเจตสิก
เป็นต้นไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้เจตสิกก็ไม่พึงมี เจตสิกธรรมก็ไม่มี
ดังนี้คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ที่สกวาทีกล่าวแล้ว หมายเอาการเกิดพร้อม
กันของสัมปยุตตธรรม. คำถามว่า ชื่อว่าผัสสิก ย่อมมีแก่สกวาทีผู้ไม่เห็น
อยู่ซึ่งโวหารเช่นนั้น. เมื่อปรวาทีกล่าวคำว่า ชื่อว่า เจตสิก เพราะอรรถว่า
อาศัยจิตโดยโวหารมีอยู่ ฉันใด เจตสิก แม้นั้นชื่อว่า ผัสสิก เพราะอรรถ
ว่า อาศัยผัสสะฉันนั้นหรือ คำตอบรับรองเป็นของสกวาทีเพราะคำนั้น
ไม่ผิด. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาเจตสิกกถา จบ
1. ที. สี. 9/340.