เมนู

อธิคคัยหมนสิการกถา



[1657] สกวาที มนสิการรวบยอดได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า จิต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า จิต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น ฯลฯ ด้วยเวทนานั้น
ฯลฯ ด้วยสัญญานั้น ฯลฯ ด้วยเจตนานั้น ฯลฯ ด้วยจิตนั้น ฯลฯ ด้วยวิตกนั้น
ฯลฯ ด้วยวิจารนั้น ฯลฯ ด้วยปีตินั้น ฯลฯ ด้วยสติ ฯลฯ รู้ชัดปัญญานั้น
ด้วยปัญญานั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต
ว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต
ว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบัน
ว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีต ว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบัน
ว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีต ว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต
ว่า อนาคตดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต
ว่าอนาคต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 3 ฯลฯ แห่งจิต 3 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
ปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
ปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบันดังนี้ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 3 ฯลฯ แห่งจิต 3 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบันดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ
อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตได้ อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 3 ฯลฯ แห่งจิต 3 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ
[1658] ป. ไม่พึงกล่าวว่ามนสิการรวบยอดได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อใดเห็นด้วย
ปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทาง
แห่งวิสุทธิ เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น
ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ
ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว
ป. ถ้าอย่างนั้นก็มนสิการรวบยอดได้น่ะสิ.
อธิคคัยหมนสิการกถา จบ

อรรถกถาอธิคคัยหมนสิการกถา



ว่าด้วย มนสิการรวบยอด



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องมนสิการรวบยอด คือ การรวบรวมสังขารมา
พิจารณา. ในเรื่องนั้น มนสิการ มี 2 คือ นยโตมนสิการ และ อารัมมณโต-

1. ขุ.ธ. 25/30.