เมนู

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับมรดกแห่งกรรม แม้ด้วยประการฉะนี้1 ดังนี้ เป็น
สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กรรมเป็นอย่างหนึ่ง
ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง.
กัมมูปจยกถา จบ
วรรคที่ 15 จบ
ตติยปัณณาสก์ จบ

อรรถกถากัมมูปจยกถา



ว่าด้วย ความสั่งสมกรรม



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความสั่งสมกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี
ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ชื่อว่า ความสั่งสมกรรม
เป็นอย่างหนึ่งนอกจากกรรม ทั้งเป็นจิตตวิปปยุต เป็นอัพยากตะ เป็น
อนารัมมณะ. คำถามของสกวาทีว่า กรรมเป็นอย่างหนึ่ง เป็นต้น โดย
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที
เพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า ความสั่งสมกรรมนอกไปจากกรรมไซร้
ความสั่งสมผัสสะเป็นต้นก็จะพึงมีนอกจากผัสสะเป็นต้น ดังนี้ จึงกล่าว
คำว่า ผัสสะเป็นอย่างหนึ่ง เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความ
ไม่มีในลัทธิ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ความสั่งสมกรรมเกิดพร้อมกับกรรม

1. ม.ม. 13/88.


หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาการไม่ประกอบกับจิต แต่ตอบรับรอง
หมายเอาการสัมปยุตกับจิต. ในปัญหาว่า ความสั่งสมแห่งกรรม...เป็น
กุศลหรือ
ก็ตอบปฏิเสธหมายเอาวิปปยุต และตอบรับรองหมายเอา
สัมปยุต แม้ในปัญหาทั้งหลายว่า ความสั่งสมกรรม ... เป็นอกุศล ข้างหน้า
ก็นัยนี้. ถูกถามว่า ความสั่งสมกรรม...มีอารมณ์หรือ ปรวาทีปรารถนา
ความไม่มีอารมณ์โดยส่วนเดียวเท่านั้น ฉะนั้นจึงตอบปฏิเสธ. คำว่า
เมื่อจิตดับ ความว่า เมื่อจิตกำลังดับในกาลใด กรรมก็กำลังแตกดับใน
กาลนั้น อนึ่ง คำว่า จิตนี้ท่านประกอบปฐมาวิภัติแต่ลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ครั้นเมื่อจิตกำลังแตกดับ.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบพระบาลีนี้เท่านั้น ว่า.-
ความสั่งสมกรรมที่สัมปยุตกับจิตย่อมแตกดับ ที่วิปปยุตย่อมไม่
แตกดับ
ในปัญหานั้น เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบรับรองด้วย ปฏิเสธ
ด้วย. คำว่า เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี ความว่า ครั้นเมื่อ
กรรมมีอยู่ ความสั่งสมกรรมก็มีอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ความสั่งสมกรรมตั้งอยู่
เฉพาะในกรรม วิบากย่อมเกิดเพราะความสั่งสมกรรมนั่นแหละ. ลัทธิ
ของปรวาทีว่า ก็ครั้นเมื่อกรรมนั้นดับแล้ว ความสั่งสมกรรมย่อมตั้งอยู่
จนถึงการเกิดขึ้นแห่งวิบาก ดุจพืชย่อมตั้งอยู่เพราะการเกิดขึ้นแห่งหน่อ
ของพืช เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. คำว่า กรรมอันนั้น ความสั่งสม
กรรมก็อันนั้นแหละ วิบากแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ
ความว่า ลัทธิของ
ปรวาทีนั้นว่า ความสั่งสมกรรมมีอยู่ในกรรม ความสั่งสมกรรมนั้นย่อม
ตั้งอยู่เพียงใดแต่การเกิดขึ้นแห่งวิบาก เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึง
ถามถึงธรรมแม้ทั้ง 3 เหล่านั้นว่าเป็นสภาพเดียวกันหรือ. สกวาทีย่อม

ถามเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า แม้วิปากธัมมธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุให้วิบาก
เกิดขึ้น เป็นธรรมเนื่องด้วยอารมณ์นั่นเทียว เหมือนวิบากในบทว่า ทั้ง
วิบากก็มีอารมณ์หรือ
. ส่วนปรวาทีตอบรับรองข้อหนึ่ง ปฏิเสธข้อหนึ่ง
ด้วยสามารถแห่งลัทธิ. แม้ในปฏิโลมปัญหาก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือ
ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.
อรรถกถากัมมูปจยกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ



1. ปัจจยตากถา 2. อัญญมัญญปัจจยกถา 3. อัทธากถา
4. ขณลยมุหุตตกถา 5. อาสวกถา 6. ชรามรณกถา 7. สัญญาเวทยิตกถา
8. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา 9. ตติยสัญญาเวทยิตกถา 10. อสัญญสัตตู-
ปิกกถา 11. กัมมูปจยกถา
วรรคที่ 15 จบ