เมนู

กัมมูปจยกถา



[1634] สกวาที กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรม ก็
เป็นอย่างหนึ่ง หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งผัสสะก็เป็น
อย่างหนึ่ง เวทนาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งเวทนาก็เป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสัญญาก็เป็นอย่างหนึ่ง เจตนาเป็น
อย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งเจตนาก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตเป็นอย่างหนึ่ง ความ
สั่งสมแห่งจิตก็เป็นอย่างหนึ่ง ศรัทธาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งศรัทธา
ก็เป็นอย่างหนึ่ง วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งวิริยะก็เป็นอย่างหนึ่ง
สติเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสติก็เป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง
ความสั่งสมแห่งสมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง ปัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสม
แห่งปัญญาก็เป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งราคะก็
เป็นอย่างหนึ่ง ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งอโนตตัปปะ
ก็เป็นอย่างหนึ่ง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1635] ส. กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็น
อย่างหนึ่ง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเป็นกุศล เกิดพร้อมกับกรรม
ที่เป็นกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นกุศล เกิดพร้อมกับกรรม
ที่เป็นกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิด
พร้อมกับกรรมที่สัมปุตด้วยสุขเวทนา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขเวทนา เกิดพร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นอกุศล เกิดพร้อมกับ
กรรมที่เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นอกุศล เกิดพร้อมกับ
กรรมที่เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิด
พร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เกิดพร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1636] ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต และกรรมที่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต และความสั่งสม
แห่งกรรมมีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่ความสั่งสม
แห่งกรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่กรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1637] ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต และเมื่อจิตดับ กรรมก็ทำลาย
ไป หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับจิต และเมื่อจิตดับ
การสั่งสมแห่งกรรม ก็ทำลายไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1638] ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่เมื่อจิตดับ
ความสั่งสมแห่งกรรมไม่ทำลายไป หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่เมื่อจิตดับ กรรมไม่ทำลาย
ไป หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมอันนั้น ความสั่งสมแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อกรรมมี การสั่งสมแห่งกรรมก็มี และวิบากก็เกิด
จากความสั่งสมแห่งกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมอันนั้น ความสั่งสมแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ
วิบากแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี และวิบากก็
เกิดจากความสั่งสมแห่งกรรม ทั้งวิบากก็มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสั่งสมแห่งกรรม ไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิบาก ไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็น
อย่างหนึ่ง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนปุณณะ บุคคล
บางคนในโลกนี้ สร้างสมกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง สร้างสมวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียน
บ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง บุคคลนั้น ครั้นสร้างสมกายสังขารที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง สร้างสมวจีสังขาร ฯลฯ
มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้างแล้ว ย่อม
เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะ
ทั้งหลาย ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้อง
บุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
บุคคลนั้นเป็นผู้อันผัสสะทั้งหลาย ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง
ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ เกลือกกลั้วดังที่มีมนุษย์ เทวดา
บางจำพวก และวินิปาติกะบางจำพวกเป็นอยู่ ดูก่อนปุณณะ ความเข้าถึง
แห่งสัตว์น้อยใหญ่เป็นอย่างนี้แล เขาทำกรรมใด ย่อมเข้าถึงด้วยกรรมนั้น
ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงแล้วนี้ ดูก่อนปุณณะ เรากล่าวว่า

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับมรดกแห่งกรรม แม้ด้วยประการฉะนี้1 ดังนี้ เป็น
สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กรรมเป็นอย่างหนึ่ง
ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง.
กัมมูปจยกถา จบ
วรรคที่ 15 จบ
ตติยปัณณาสก์ จบ

อรรถกถากัมมูปจยกถา



ว่าด้วย ความสั่งสมกรรม



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความสั่งสมกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี
ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ชื่อว่า ความสั่งสมกรรม
เป็นอย่างหนึ่งนอกจากกรรม ทั้งเป็นจิตตวิปปยุต เป็นอัพยากตะ เป็น
อนารัมมณะ. คำถามของสกวาทีว่า กรรมเป็นอย่างหนึ่ง เป็นต้น โดย
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที
เพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า ความสั่งสมกรรมนอกไปจากกรรมไซร้
ความสั่งสมผัสสะเป็นต้นก็จะพึงมีนอกจากผัสสะเป็นต้น ดังนี้ จึงกล่าว
คำว่า ผัสสะเป็นอย่างหนึ่ง เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความ
ไม่มีในลัทธิ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ความสั่งสมกรรมเกิดพร้อมกับกรรม

1. ม.ม. 13/88.