เมนู

ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้
ในแห่งอสัญญสัตว์นั้นผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.

อสัญญสัตตูปิกากถา จบ

อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา



ว่าด้วย สมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์. ในเรื่องนั้น
ภาวนาที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ เป็นอสัญญาสมาบัติบ้าง
เป็นนิโรธสมาบัติบ้าง ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงมี 2 คือ เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ. บรรดา
สมาบัติเหล่านั้น สมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ของปุถุชนเป็น
โลกิยะ ที่เป็นของพระอริยะทั้งหลายเป็นโลกุตตระ แต่สมาบัติที่เป็นของ
พระอริยะนั้นย่อมไม่เป็นสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์
ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาททั้งหลาย
ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นสมาบัติที่ให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์
โดยไม่แปลกกัน เพราะไม่ทำวิภาคอย่างนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วง
ด้วยอำนาจแห่งกุสลมูล คืออโลภะ เป็นต้น ว่ามีอยู่แก่ผู้เข้าอสัญญสมาบัติ
แต่ไม่มีแก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติ จึงกล่าวคำว่า อตฺถิ กุสลมูล...มีอยู่หรือ
เป็นต้น.

ในปัญหาว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา ได้แก่
ความเป็นผู้ไม่มีสัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เพราะการ
เข้าสมาบัติในธรรมวินัยนี้ด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ. คำว่า แม้ใน
ภพแห่งอสัญญสัตว์นั้น
ก็ตรัสด้วยความเป็นอสัญญสัตว์นั่นแหละ เพราะ
ฉะนั้น ปรวาทีผู้ถือเอาปฏิญญานี้แล้วจึงให้ลัทธิตั้งไว้ แต่ก็ตั้งไว้โดย
อุบายลวง. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ความเป็นผู้ไม่มีสัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตหมายเอานิโรธสมาบัติในพระธรรมวินัยนี้ คำว่า แม้ในภพ
อสัญญสัตว์นั้น
ได้แก่นิโรธสมาบัติของพระอนาคามีผู้เคลื่อนจากโลกนี้
ทีเดียว แม้เพราะเหตุนั้น ลัทธิที่ปรวาทีปฏิญญาตั้งไว้นี้ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้
เลย ดังนี้แล.
อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา จบ

กัมมูปจยกถา



[1634] สกวาที กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรม ก็
เป็นอย่างหนึ่ง หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งผัสสะก็เป็น
อย่างหนึ่ง เวทนาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งเวทนาก็เป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสัญญาก็เป็นอย่างหนึ่ง เจตนาเป็น
อย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งเจตนาก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตเป็นอย่างหนึ่ง ความ
สั่งสมแห่งจิตก็เป็นอย่างหนึ่ง ศรัทธาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งศรัทธา
ก็เป็นอย่างหนึ่ง วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งวิริยะก็เป็นอย่างหนึ่ง
สติเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสติก็เป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง
ความสั่งสมแห่งสมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง ปัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสม
แห่งปัญญาก็เป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งราคะก็
เป็นอย่างหนึ่ง ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งอโนตตัปปะ
ก็เป็นอย่างหนึ่ง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1635] ส. กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็น
อย่างหนึ่ง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?