เมนู

อสัญญสัตตูปิกากถา



[1630] สกวาที สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพ
แห่งอสัญญสัตว์ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ กุศลมูลคือ
อโมหะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิต-
นิโรธมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ ฯลฯ ปัญญาของ
บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่มีหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ กุศลมูล
คือ โมหะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวท-
ยิตนิโรธไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้
เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.
[1631] ส. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพ
แห่งอสัญญสัตว์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะก็มีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคล
ผู้ไม่มีจิตก็มีการเจริญมรรคได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคลผู้มี
จิตมีการเจริญมรรคได้ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ
บุคคลผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.
[1632] ส. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1633] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุ
ให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้ในภพ
แห่งอสัญญสัตว์นั้น ผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้
ในแห่งอสัญญสัตว์นั้นผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.

อสัญญสัตตูปิกากถา จบ

อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา



ว่าด้วย สมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์. ในเรื่องนั้น
ภาวนาที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ เป็นอสัญญาสมาบัติบ้าง
เป็นนิโรธสมาบัติบ้าง ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงมี 2 คือ เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ. บรรดา
สมาบัติเหล่านั้น สมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ของปุถุชนเป็น
โลกิยะ ที่เป็นของพระอริยะทั้งหลายเป็นโลกุตตระ แต่สมาบัติที่เป็นของ
พระอริยะนั้นย่อมไม่เป็นสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์
ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาททั้งหลาย
ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นสมาบัติที่ให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์
โดยไม่แปลกกัน เพราะไม่ทำวิภาคอย่างนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วง
ด้วยอำนาจแห่งกุสลมูล คืออโลภะ เป็นต้น ว่ามีอยู่แก่ผู้เข้าอสัญญสมาบัติ
แต่ไม่มีแก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติ จึงกล่าวคำว่า อตฺถิ กุสลมูล...มีอยู่หรือ
เป็นต้น.