เมนู

วรรคที่ 15


ปัจจยตากถา


[1596] สกวาที ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย ด้วยเหตุ
นั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย และ เป็นปัจจัย
โดยอธิปติปัจจัย
[1597] ส. ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น
ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
[1598] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น
ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.
ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็น
อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ
เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย
อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอินทรีย์ปัจจัย.
[1599] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นองค์
แห่งมรรคด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น
องค์แห่งมรรคด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย
อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัย โดยมรรคปัจจัย.
[1600] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น
ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.
[1601] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น
อาหารด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ
เป็นอาหารด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติ-
ปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย.
[1602] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น
อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ
เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย
อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย.
[1603] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ
เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
[1604] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น
อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ
เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย
และ เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย.
[1605] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น
องค์แห่งมรรคด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ
เป็นองค์แห่งมรรคด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัย
โดยอธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย.
[1606] ส. ปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้นและ

ทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่าปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้น
และทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า
(อริยธรรม) เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย.
[1607] ส. กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่ง
กุศลธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร-
ปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน
จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดย
อาเสวนปัจจัย.
[1608] ส. อกุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่ง
อกุศลธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อกุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร-
ปัจจัย แห่งอกุศลธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน
จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดย
อาเสวนปัจจัย.
[1609] ส. กิริยาพยากตธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร-
ปัจจัย แห่งกิริยาพยากตธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กิริยาพยากตธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดย
อนันตรปัจจัย แห่งกิริยาพยากตธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็น
ปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย.
[1610] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมณ-
ปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย
ก็ได้ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นปัจจัยท่านก็จำกัดไว้ น่ะสิ.
ปัจจยตากถา จบ

อรรถกถาปัจจยตากถา



ว่าด้วย ความเป็นปัจจัย



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความเป็นปัจจัย. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ
เห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ธรรมใดเป็นปัจจัยด้วย
เหตุปัจจัยแล้ว ธรรมนั้นก็เป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดเหล่านั้น
เท่านั้น ย่อมไม่เป็นปัจจัยด้วยอารัมมณะ อนันตระ สมนันตรปัจจัย หรือ
ว่าธรรมใดเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดด้วยอารัมมณปัจจัยแล้ว ธรรมนั้น
ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละด้วย อนันตระและสมนันตร-
ปัจจัย เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความเป็นปัจจัยท่านจำกัดไว้แล้ว ดังนี้
คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาปัจจยตากถา จบ